วัดน้ำจั้น

   วัดน้ำจั้นตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๗ บ้านน้ำจั้น หมู่ที่ ๒-๓ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่ ๓ งาน ๔๐ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว ๓ เส้น ติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศใต้ยาว ๓ เส้น ติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศตะวันออกยาว ๒ เส้น ๗ วา ติดต่อกับที่ทำไร่ของชาวบ้าน ทิศตะวันตกยาว ๒ เส้น ๗ วา ติดต่อกับหมู่บ้าน
ไฟล์:ซุ้มวัดน้ำจั้น.jpg

ประวัติวัดน้ำจั้น แก้

   วัดน้ำจั้น สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๐๐ ได้มีนามตามชื่อบ้านคำว่า "น้ำจั้น" หมายถึงน้ำใส เดิมนั้นชาวบ้านน้ำจั้นรวมอยู่ในหมู่บ้านกลับ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ได้แยกมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่นี่  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๗  เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ได้ผูกพัทธสีมาวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๘ มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ๕ รูป มีโรงเรียนประถมศึกษาของทางราชการตั้งอยู่โดยอาศัยศาลาการเปรียญเป็นที่ทำการสอน
    พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง สภาพแวดล้อมเป็นภูเขา อาคารเสนาสนะต่างๆ มีอุโบสถกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้าง พ.ศ.๒๕๑๗  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้าง พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นอาคารไม้ หลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีต กุฎีสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ 

ทำเนียบเจ้าอาวาส แก้

    เจ้าอาวาสวัดน้ำจั้น ตั้งแต่ตั้งวัดมี ดังนี้
   ๑.  หลวงพ่อคำมี                   ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๖๗         ถึง พ.ศ.๒๓๘๔
   ๒.  หลวงพ่อเหลี่ยว                ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๘๔         ถึง พ.ศ.๒๓๘๗
   ๓.  หลวงพ่ออ่ำ                     ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๘๗         ถึง พ.ศ.๒๔๐๙
   ๔.  อาจารย์ทา                      ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๐๙         ถึง พ.ศ.๒๔๓๑
   ๕.  หลวงพ่อปาระมี                ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๑         ถึง พ.ศ.๒๔๕๒
   ๖.  อาจารย์พุ่ม                      ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๒         ถึง พ.ศ.๒๔๖๔
   ๗.  อาจารย์ผ่าน                    ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๔         ถึง พ.ศ.๒๔๘๐
   ๘.  อาจารย์บุญ                     ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๐         ถึง พ.ศ.๒๔๘๖
   ๙.  อาจารย์ตาก                    ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๖         ถึง พ.ศ.๒๔๙๑  
   ๑๐. หลวงพ่อลอย                  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑         ถึง พ.ศ.๒๔๙๗
   ๑๑. หลวงพ่อลี                      ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗        ถึง พ.ศ.๒๕๐๑
   ๑๒. อาจารย์เหมือน                ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑         ถึง พ.ศ.๒๕๐๔
   ๑๓. อาจารย์ดำ                      ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๔        ถึง พ.ศ.๒๕๐๙
   ๑๔. หลวงพ่อจันทร์                 ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๙       ถึง พ.ศ.๒๕๕๐
   ๑๕. พระครูสุวัฒน์กิตติสาร เจ้าอาวาสวัดสระมะเกลือ  (รักษาการแทนเจ้าอาวาส)
   ๑๖. พระครูนวกรรมาธิวัฒน์        ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๔       ถึง ปัจจุบัน

ปูชนียวัตถุ แก้

    - พระประธานประจำอุโบสถหลังเก่าและหลังใหม่
    - พระประธานประจำศาลาการเปรียญ
    - พระประจำวันเกิด

ศาสนสถาน แก้

    - โบสถ์เก่า
    - โบสถ์วัดน้ำจั้น กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร
    - ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๔ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต
    - กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ กุฏิหลังคาแฝด ๓ หลัง เป็นห้องสำหรับพระภิกษุอยู่ ๑๒ ห้อง
    - หอปฏิบัติธรรมและสวดมนต์
    - หอระฆัง จำนวน ๑ หลัง
    - ศาลาเอนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง
    - ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง
    - นอกจากนี้ยังมี ศาลเจ้าปู่บ้าน
ไฟล์:ศาลเจ้าปู่บ้าน.jpg

วัฒนธรรมประเพณี แก้

    - ประเพณีกำฟ้า
    - ทำบุญตบผ้าทราย
    - ทำบุญกลางบ้าน
    - เลี้ยงเจ้า
    - แห่นางแมว
    - วันสารทพวน
    - ทำบุญสลากภัต
    - ทอดผ้าป่า

อ้างอิง แก้

    กำธร   กิตติภูมิชัย.  (2518). '"ประวัติวัดต่างๆ ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี.'"  ลพบุรี: โรงพิมพ์อุทัยพิทยา.
    หลักฐานอ้างอิงของวัด มีการจารึกไว้ที่แท่นพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่า
    หนังสือ วิถีชุมชนบ้านน้ำจั้น : สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี