ผู้ใช้:สินธนา ดวงจิตต์/กระบะทราย

ไฟล์:Pro1234.jpg
ชื่อ: นายสินธนา ดวงจิตต์ ที่อยู่ : 296/1 ต.หมื่นไวย อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 การศึกษา : สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากโรงเรียนสุรนารีวิทยา2 นครรราชสีมา ปัจจุบันเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 เทอม 2 สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลีราชมงคลอีสาน อาชีพด้านคอมพิวเตอร์ที่สนใจ : วิเคราะห์และออกแบบระบบเครือข่าย หรือการจัดการฐานข้อมูล


สภาปัตยกรรมเครือข่าย (การสร้างตาราง)

แก้
ไฟล์:1.png

ส่วนประกอบของเครือข่าย

แก้
  • Computer
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
         การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
         สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม

การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ

ไฟล์:เครือข่ายคอมพิวเตอรร์.gif
  • Network Interface

การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

ไฟล์:เน็ตเวิร์คอินเตอร์เฟสสส.jpg
  • Operating System

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล การทำงานของฮาร์ดแวร์ ให้บริการกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปในการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ (Resources) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา พีดีเอ แท็บเล็ตต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows, Linux, Mac OS, Solaris, Ubuntu ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile, iOS, Android เป็นต้น

ไฟล์:ระบบปฎิบัติการ.jpg
  • Network Device (HUB-Switch-Router-Gateway-Firewall)

1.โมเด็ม (Modem)

โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิ ตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem

ไฟล์:โมเด็ม.jpg
  • เราเตอร์ (Router)

เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือ ข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

ไฟล์:เร้าเตอร์.jpg
  • Hub Switch หน้าที่หลักจะเหมือนกันคือ เชื่อมต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่คนละที่

สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ พูดง่ายๆ ก็คือเป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบเครือข่าย เข้าด้วยกัน

Hub จะทำงานที่ Layer 1 ทำหน้าที่ทวนซ้ำสัญญาณ เช่น ในระบบเครือข่ายมี PC 10 เครื่อง เมื่อ PC1 ต้องการส่งข้อมูไปยัง PC5 ในขณะนั้น PC อื่นๆ จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้

Switch จะทำงานที่ Layer 2 จะทำงานเหมือนกับ Hub แต่ ขณะที่ PC1 ส่งข้อมูลไปยัง PC5 PC อื่นๆ จะยังสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมๆ กัน


Layer 3 switchคืออะไร

คืออุปกรณ์ในการทำ Routing (รับส่งข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์ก) เหมาะสมในการนำไปใช้ในระบบเน็ตเวิร์กที่มีการใช้งาน VLAN (VLAN เป็นการแบ่งพอร์ทต่างๆ ที่มีอยู่ในสวิทช์ ให้เป็นเสมือนแยกกันอยู่คนละเน็ตเวิร์ค) และต้องการให้อุปกรณ์ Computer ที่อยู่ในแต่ละ VLAN สามารถติดต่อกันได้

ไฟล์:ฮีบสวิต.jpg
  • Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway

ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch


firewall   เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่สัมพันธ์กันซึ่งติดตั้งที่ gateway server ของเครือข่ายเพื่อป้องกันทรัพยากรของเครือข่ายส่วนตัว จากผู้ใช้ภายนอกเครือข่าย (คำนี้นัยยะของนโยบายความปลอดภัยที่ใช้ในโปรแกรม) ผู้ประกอบการที่ใช้ Intranet ซึ่งยินยอมให้พนักงานไปยังอินเตอร์เน็ตสามารถติดตั้ง firewall เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกในการเข้าถึงทรัพยากร และข้อมูลของเครือข่ายภายใน และควบคุมแหล่งทรัพยากรภายนอกสำหรับผู้ใช้ภายใน 

โดยพื้นฐานแล้ว firewall ทำงานใกล้ชิดกับโปรแกรม router เพื่อกรองแพ็คเกต ในเครือข่ายทั้งหมดเพื่อส่งต่อไปยังปลายทาง firewall สามารถรองรับหรือทำงานกับ proxy server

วิธีการคัดเลือกมีหลายวิธีใน firewall โดยมีวิธีพื้นฐานแบบหนึ่งคือคัดเลือกคำสั่งเพื่อทำให้มั่นใจว่ามาจาก domain name หรือ IP address ที่ยอมรับ สำหรับผู้ใช้ที่เคลื่อนที่ firewall ยินยอมให้เข้าถึงทางไกลมายังเครือข่ายส่วนตัวโดยให้ใช้การ logon เข้าสู่ระบบ

มีผลิตภัณฑ์ด้าน firewall จำนวนมาก มีส่วนประกอบรวมถึงการ logon การรายงาน สัญญาณเตือนอัตโนมัติ เมื่อมีการล่วงล้ำ และการควบคุมแบบ GUI

ไฟล์:เกรดเวไฟ.png

สายสัญญาณ

แก้
  • สายโคแอคซ์
 สายโคแอ็กซ์เชียล(coaxial cable) เป็นสายสัญญาณที่ใช้เป็นสื่อกลางการเดินทางของข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(computer network) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้และเป็นที่นิยมมากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายสัญญาณอีกประเภทหนึ่ง คือ สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสง ส่วนสายโคแอ็กซ์เชียลถือว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ใช้สายแบบนี้อยู่
ไฟล์:โคแอ็กกกก.jpg
  • สายคู่บิดเกลียวและการเข้าสาย
 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อยเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง
ไฟล์:สายบิดเกลียว.jpg
  • สายใยแก้วแสง

เส้นใยนำแสง มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลาย ๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้น นอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่น ๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละ เส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของ สัญญาณข้อมูลสูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพกราฟฟิก หรือวิดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน

ไฟล์:เส้นใยแก้ว.jpg


รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย

แก้
  • peer-to-peer
ไฟล์:P2p 05.jpg
เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network) เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีการแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเข้ากับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจักการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร์(Peer) นั่นเอง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เครือข่ายประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลและจัดการระบบ หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับผู้ใช้คนอื่นๆ


  • Client/Server
ไฟล์:Client server3.png

ระบบ Client/Server ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองแนวคิดการ Downsizing เป็นการลดค่าใช้จ่ายระบบ Time Sharing ของเครื่อง Mainframe ซึ่งระบบ Client/Server เป็นระบบประมวลแบบกระจาย (Distributed Processing) โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่าง Client และ Server โปรแกรมประยุกต์ (Application Program) จะประมวลผลบางส่วนที่ Client .และบางส่วนก็ประมวลที่ server


LAN Technology

แก้
  • BUS TOPOLOGY

เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

ไฟล์:Busbus2.jpg
  • STAR TOPOLOGY

โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology) เป็น การเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีกลาง หรือฮับ (Hub) เป็นจุดผ่าน การติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานี กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูล เข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่ นิยมใช้กันในปัจจุบัน

ไฟล์:Starto.jpg
  • RING TOPOLOGY

เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่

ไฟล์:Ringto.jpg
  • MESH TOPOLOTY

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน

ไฟล์:Meshhtopo.jpg

WAN Technology

แก้
  • Circuit Switching
 ระบบ Circuit Switching หาก Computer หรือ Terminal ติดต่อกับศูนย์ หรือข้อมูลในการเรียกค้นข้อมูลเป็นระยะจะทำให้มีช่วงเวลาที่สายสัญญาณไม่มีการใช้และผู้อื่นก็ใช้ไม่ได้
         ระบบการส่งสัญญาณแบบ Circuit Switching ที่ใช้ในเครือข่ายมีดังนี้
                   - โมเด็มและระบบโทรศัพท์(Modem and Telephont System)
                   - สายคู่เช่า (Leased Line)
                   - ISDN (Intergrated Services Digital Network)
                   - DSL (Digital Subscriber line)
                   - เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
ไฟล์:Circuitff.jpg
  • Packet Switching

ในเรื่องการสื่อสารข้อมูล (data communications) หมายถึงเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต) ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับไปรวมกันเอง ดู circuit switching เปรียบเทียบ

ไฟล์:Circuit-switching-vs-packet-switching-fig2.jpg

IP ADDRESS

แก้
  • คลาสของหมายเลขไอพี

การติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องมี IP Address สำหรับการส่งข้อมูลเพื่อติดต่อถึงกัน โดยตามปกติแล้ว IP Address จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่บ่งบอกว่าเป็นหมายเลขเครือข่าย และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่าของ IP Address จะมีการกำหนดค่าของ IP Address เป็นไบต์ (Byte) และกำหนดค่าด้วยเลขฐานสิบ ตัวอย่างเช่น IP Address 202.28.8.1 เป็นต้น

  • Subnet

เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ Subnet mask ก้คืิอ การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์์ เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง

  • Private IP

หมายเลขที่ใช้ระบุตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์บนโลก Internet (ลองนึกถึงภาพเบอร์โทรศัพท์ก็ได้ครับ)

ซึ่งมีทั้งหมด 4294967296 หมายเลข (สี่พันล้านเศษ) หรือเท่ากับ 2 ยกกำลัง 32 คือสามารถเขียนเป็นเลขฐานสอง ได้จำนวน 32 หลัก หรือ 32bit

เช่น เลข 0 เขียนในรูปเลขฐานสองได้เป็น 00000000.00000000.00000000.00000000 หรือเขียนในรูปเลขฐานสิบ ได้เป็น 0.0.0.0 เลข 1 เขียนในรูปเลขฐานสองได้เป็น 00000000.00000000.00000000.00000001 หรือเขียนในรูปเลขฐานสิบ ได้เป็น 0.0.0.1 เลข 2 เขียนในรูปเลขฐานสองได้เป็น 00000000.00000000.00000000.00000010 หรือเขียนในรูปเลขฐานสิบ ได้เป็น 0.0.0.2 เลข 256 เขียนในรูปเลขฐานสองได้เป็น 00000000.00000000.00000001.00000000 หรือเขียนในรูปเลขฐานสิบ ได้เป็น 0.0.1.0 เลข 4294967295 รูปเลขฐานสอง 11111111.11111111.11111111.11111111 หรือเลขฐานสิบ 255.255.255.255

  • Public and Private IP Address

1. ไอพีแอดเดรส(Public IP Address)

       หมายเลข IP Address"Public IP" ของแต่ละเครื่องบนเครือขายInternet จะไม่ซ้ำกันโดยในการเชื่อมต่อ Internet ไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะจ่ายหมายเลข IP Address(ไอพี แอดเดรส)มาใช้ชั่วคราว 1 IPซึ่งเป็น หมายเลขIP ที่ใช้้จริงบนอินเตอร์เน็ตโดยเรียก หมายเลข IP นี้ว่า "Public IP Address " หมายเลข IP นี้จะเปลี่ยนไปทุกครั้งทีมีการเชื่อมต่อใหม่ โดยหมายเลข IP Address นี้ เป็นหมายเลขที่จะบอกความเป็นตัวตนของเครื่องนั้นในการสื่อสารกันในระบบ Internetโดยหมายเลข IP Address"Public IP" นี้เครื่อง Serverผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะเป็นผู้กำหนด จ่ายหมายเลข IP นี้มา


2. ไอพีแอดเดรส ภายใน(Private IP Address)

      หมายเลข IP Address"Private IP" คือหมายเลขไอพีเครื่อง แต่ละเครื่อง ในองค์กร หน่วยงาน โดยกำหนด ขึ้นมาเองเพื่อใช้ในองค์กรนั้นๆ เพื่อการสื่อสารภายใน ระบบเครือข่ายแลน หรือ อินทราเน็ต ภายในเท่านั้นโดยสามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบ คือ
      1. กำหนดแบบ Dynamic วิธีนี้คอมพิวเตอร์ หรือ DHCP Server จะทำหน้าทีกำหนดหมายเลข IP และจ่ายเลขIPให้กับระบบคอมพิวเตอร์ในกรุ๊ปนั้น

หรือเรียกการจ่ายไอพีแบบนี้ว่า (Automatic Private IP Address)

      2. กำหนดแบบ Static เป็นวิธีการกำหนดไอพีแอดแดรสแบบคงที่ โดยผู้ติดตั้งระบบ ทำหน้าที่กำหนด หมายเลข IP Address ให้แต่ละเครื่อง โดยห้ามกำหนด IP ซ้ำกัน หรือนอกเหนือจาก Work Group

( แต่เมื่อมีการติดต่อในเครือข่าย Internet ก็จะได้รับหมายเลข ไอพี แอดเดรส "Public IP Address"จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะจ่ายหมายเลข IP Address(ไอพี แอดเดรส)มาใช้ชั่วคราว 1 IP หมายเลขที่ใช้ได้จริงบนอินเตอร์เน็ตซึ่งก็คือหมายเลขไอพีทีแสดงการ เช็คไอพี Check IP นั้นเอง )

     และเราสามารถเช็คไอพี (Check IP) แบบ "Private IP" บนเครื่อง ได้โดยเข้าสู่ Start >> RUN>>พิมพ์ cmd >>OK.>>เ้ข้าสู่ Dos Command แล้วพิมพ์ คำสั่ง ipconfig หรือ ipconfig/all ก็สามารถ check ip แบบ Private IP Address

Routing Protocol

แก้
  • หลักการทางานของเร้าท์เตอร์

เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน แต่ใช้สื่อส่งข้อมูลหรือสายส่งต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ UTP เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายข้อมูลแบบ coaxial cable ได้

เราเตอร์ทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือโหนดหนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำการรับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไปจากเดิม เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นเราจึงอาจใช้เราเตอร์เพื่อเชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกันได้ด้วย และจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็นโหนด ๆ หนึ่งใน LAN ทำให้เราเตอร์สามารถทำงานอื่น ๆ อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อ หรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย

  • เร้าท์ติ้งเทเบิล

จะประกอบด้วยเรคอร์ดหลายๆเรคอร์ดที่มีฟิลด์สำคัญต่างๆ เรคอร์ดนี้จะคล้ายกับเรคอร์ดในฐานข้อมูล แต่ในเชิงวิชาเน็ตเวิร์กจะเรียกเรคอร์ดนี้ว่า เร้าติ้งเอ็นทรี (Routing entry) ภายในตารางเร้าติ้งเทเบิลจะประกอบด้วย เร้าติ้งเอ็นทรีอยู่หลายบรรทัดเรียงต่อกัน ซึ่งมีฟิลด์สำคัญต่างๆดังนี้

1.แหล่งที่มาของเร้าติ้งเอ็นทรี ว่าเรียนรู้มาจากเร้าติ้งโปรโคคอลใด หรือมาจากการเพิ่มเร้าติ้งโดยผู้ดูแลระบบ

2.เป้าหมายปลายทาง ซึ่งเป็นได้ทั้งเน็ตเวิร์กแอดเดรสในคลาสหลักและในคลาสย่อย เช่น เน็ตเวิร์กแอดเดรส 10.0.0.0 ซึ่งป็นเน็ตเวิร์กแบบเต็มคลาส A และ 10.10.1.0/24 ซึ่งเป็นซับเน็ตแอดเดรสที่ซอยย่อยมาจากเน็ตเวิร์กคลาส A

3.Administrative Distance (AD) เป็นตัวเลขบอกถึงลำดับความสำคัญหรือความน่าเชื่อถือของเร้าติ้งเอ็นทรีนี้ (trustworthiness)

4.ค่าเมตริกหรือเรียกอีกอย่างว่าค่า Cost ของเส้นทางนี้ ซึ่งแต่ละเร้าติ้งโปรโตคอลจะมีหลักการกำหนดค่า Cost แตกต่างกัน

5.แอดเดรสของเร้าเตอร์ตัวถัดไป (Next Hop Router) เพื่อส่งแพ็กเก็ตไปยังซับเน็ตแอดเดรสปลายทาง

6.อินเตอร์เฟซของเร้าเตอร์ที่ใช้เป็นทางออกไปยังเร้าเตอร์ตัวถัดไป หรือไปยังซับเน็ตแอดเดรสปลายทาง เรียกว่า Outgoing Interface

7.เร้าติ้งนี้ถูกสร้างมานานแค่ไหน

  • Static Routing Protocol

การกำหนดค่าแบบค่งที่เข้าไปในตัวเร้าเตอร์ เพื่อบอกให้เร้าเตอร์ทราบว่าหากต้องการจะส่งแพ็กเก็ตไปยังซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจะต้องส่งไปหาเร้าเตอร์ตัวถัดไป(Next Hop Address) ตัวไหน หรือจะให้เร้าเตอร์ส่งออกไปทางอินเตอร์เฟซใด ซึ่งวิธีการนี้หากมีเร้าเตอร์จำนวนมากและมีซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจำนวนมาก ผู้ดูแลเน็ตเวิร์กก็จะต้องใช้เวลามากในการค่อยๆเพิ่ม Static Route เข้าไปในเร้าติ้งเทเบิลของเร้าเตอร์ทุกตัวด้วยตัวเอง แต่วิธีการนี้ค่า AD หรือค่าลำดับความสำคัญสูงกว่าแบบ ไดนามิกเร้าติ้ง คือ จะพิจารณาสแตติกเร้าก่อนพิจารณาเส้นทางจากไดนามิกเร้า

  • Dynamic Routing Protocol

เป็นการสั่งให้รันเร้าติ้งโปรโตคอลขึ้นมา จะช่วยลดภาระของผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กและทำให้การจัดการเน็ตเวิร์กเป็นไปได้อย่างง่ายดาย เมื่อรันเร้าติ้งโปรโตคอลขึ้นบนเร้าเตอร์แล้วทำกำหนดการเร้าติ้งโปรโตคอลไปยังอินเตอร์เฟซใดของเร้าเตอร์บ้าง จากนั้นเร้าเตอร์แต่ละตัวจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำให้ฐานความรู้ในเร้าติ้งเทเบิลมีความสมบูรณ์ และที่สำคัญเร้าติ้งโปรโตคอลยังสามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงต่างๆในเน็ตเวิร์กโทโพโลยี และปรับปรุงเร้าติ้งเทเบิลให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเน็ตเวิร์กโทโพโลยีโดยอัติโนมัติ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น เร้าเตอร์เพื่อนบ้านดาวน์ลง อินเตอร์เฟซของเร้าเตอร์ดาวน์ หรือ WAN Link ในเน็ตเวร์กมีปัญหา ซึ่งเป็นความสามารถที่หาไม่ได้ในการใช้งานสแตติกเร้าต์ การปรับตัวเองอย่างทันท่วงทีนี้จึงเป็นที่มาของ ไดนามิกเร้าต์

อ้างอิงแหล่งข้อมูล

แก้

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] </ref>https://www.google.co.th/search?q=bus+topology+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&biw=1242&bih=566&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwiPx4e2-IvLAhUSC44KHT9uB4MQ_AUIBigB#imgrc=yOLcNxX8VXNVWM%3A</ref> [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25]

  1. http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/datacom/PIC/101.gif
  2. https://narawit54.wordpress.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2/
  3. http://www.itcomtech.net/article-all/73-operating-system.html
  4. http://img.over-blog-kiwi.com/0/64/15/65/20150207/ob_009af2_computer-software.jpg
  5. https://nartchuda.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/
  6. http://itnews4u.com/upload/files/1432923637_router.jpg
  7. http://thaicourt.blogspot.com/2010/02/switch-hub.html
  8. http://www.v-bac.ac.th/Section/S_IT/Computer%20Network/images/switch%20hub.jpg
  9. http://w-pandiie.exteen.com/page/2
  10. https://www.google.co.th/search?q=gateway+firewall+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&biw=1242&bih=566&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwitpoT98YvLAhULUY4KHYDxAmAQ_AUIBygB#imgrc=CRp8yC1BZYQ8FM%3A
  11. http://guru.sanook.com/2291/
  12. http://www.krumontree.com/ebook4/files/pg7_9.htm
  13. https://www.google.co.th/search?q=peer-to-peer+network+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&biw=1242&bih=566&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjoh8jn9ovLAhWPBI4KHRIgAAgQ_AUIBygB#imgrc=IVt4Io0q2-AOsM%3A
  14. https://www.google.co.th/search?q=client/server+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&biw=1242&bih=566&source=lnms&tbm=isch&sa=X&sqi=2&ved=0ahUKEwjZ0v7H94vLAhUQA44KHUsMAaIQ_AUIBigB#imgrc=PcFXieNHYqTqqM%3A
  15. https://www.google.co.th/search?q=star+topology+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&biw=1242&bih=566&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiIh86y-YvLAhXQA44KHeZPDCgQ_AUIBigB#imgrc=arQwQhUmxmqIuM%3A
  16. https://www.google.co.th/search?q=mesh+topology+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&biw=1242&bih=566&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjKg9TY-ovLAhWTC44KHbrvD48Q_AUIBigB#imgrc=D0LKPQEyhuVDqM%3A
  17. http://mookdabua.blogspot.com/2010/08/packet-switching.html
  18. http://ipadressa.weebly.com/3585363436193649361036563591-class.html
  19. http://www.rightsoftcorp.com/?name=news&file=readnews&id=14
  20. https://computernps.wordpress.com/2012/04/09/public-ip-address-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-private-ip-address-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/
  21. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan8.htm
  22. https://www.gotoknow.org/posts/306794
  23. https://www.gotoknow.org/posts/306793
  24. https://www.gotoknow.org/posts/306793
  25. https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2&biw=1242&bih=566&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiAo9e79YvLAhUFA44KHcu1CHAQ_AUIBigB&dpr=1.1#imgrc=OKPHgNazyDXgpM%3A