ผู้ใช้:บุซรอ/กระบะทราย

ปลาวัว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Tetraodontiformes
วงศ์: Balistidae


บทนำ

แก้

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

แก้

ปลาวัว หรือ ปลากวาง หรือ Humu-Humu เป็นปลาที่มีความน่าสนใจและมีสีสันที่สดใส ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง ครีบอกและตามีขนาดเล็ก ตาจะอยู่สูงขึ้นไปทางด้านหัวและมีความสามารถในการหมุนดวงตาได้อย่างอิสระ ลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดที่มีลักษณะขรุขระ มีส่วนที่เป็นมุมยื่นออกมาคล้ายจมูก มีขากรรไกรที่แข็งแรง มีปากขนาดเล็ก ครีบท้องมีการพัฒนาเป็นหนามแหลม(spine) หนามแหลม(spine)อันแรกบริเวณครีบหลัง(dorsal)พัฒนาเพื่อใช้ในการล็อคตัวเอง สีบนลำตัวของปลากลุ่มนี้จะมีความแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปลากลุ่มนี้ เช่น ปลาวัวไททัน มีเกล็ดสีเหลืองส้มเห็นได้ชัดเจน ครีบหางมีสีเหลืองส้มและส่วนของใบหน้ามีสีเหลืองเป็นเครื่องหมายไว้ ปลาวัวปีกัสโซ่ เป็นปลาที่มีความโด่ดเด่นใน Hanauma Bay ลำตัวมีสีขาวซึ่งจะไปตัดกับสีเทาเข้มหรือสีฟ้าเรืองแสงที่อยู่บนลำตัวและบริเวณตามีสีเหลือง[1] [2]


ซากฟอสซิลที่พบ

แก้

ซากฟอสซิลที่ถูกบันทึกเป็นครั้งแรก อยู่ในยุค middle Tertiary middle Oligocene (Berg, 1958) [3] [4]


ลักษณะนิสัยของปลาวัว

แก้

ปลาวัวเป็นปลาที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา อาศัยอยู่รอบๆ แนวปะการังหรือตามพื้นที่ในแนวปะการัง ปลาวัวเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินสัตว์พวกปู เม่นทะเล หนอนทะเลและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ อีกทั้งยังกินพวกหอยและสัตว์อื่นๆที่ติดอยู่ตามแนวปะการัง จึงอาจทำให้เข้าใจผิดว่าปลาวัวนั้นกำลังกินปะการัง นอกจากนี้ยังสามารถกินปลาขนาดเล็กที่ตายแล้วได้อีกด้วย [5]

ปลาวัวเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว เป็นปลาที่หวงอาณาเขตของตนเองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูวางไข่ พวกมันชอบทำเสียงคำรามเมื่อถูกรบกวนหรือถูกปั่นป่วน พฤติกรรมก้าวร้าวของปลาวัวที่มีต่อปลาชนิดอื่นๆนั้นเป็นเรื่องที่ปกติ ซึ่งคุณอาจจะเห็นพฤติกรรมดังกล่าวหรือพฤติกรรมการข่มขู่ของปลาวัวต่อปลาชนิดอื่นเมื่อคุณกำลังดำน้ำชมปะการัง [6]


กลไกการทำงานของหนามสามอันบริเวณครีบหลัง

แก้

เมื่อปลาวัวเกิดอาการตกใจ หนามอันแรกจะตั้งขึ้นและถูกล็อคด้วยหนามอันที่สองและจะลดลงเมื่อรู้สึกปลอดภัย โดยมีการทำงานคือ ปลาวัวจะใช้หนามดังกล่าวล็อคตัวเองเข้ากับก้อนปะการังแล้วปล่อยหรือคลายออกเมื่อรู้สึกว่าปลอดภัยหรืออันตรายได้พ้นไปแล้ว[7]


ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของปลาวัว

แก้

การศึกษาทฤษฏีวิวัฒนาการแนวทางใหม่ในด้าน molecular สำหรับ Family Balistidae โดยวิเคราะห์จากไมโทคอนเดรีย 2 ชนิด (12S, l6S) และยีนนิวเคลีย 3 ยีน (4C4, Rhodopsin, RAG 1) พบว่า กลุ่มปลาวัวหรือวงศ์ Balistidae เป็น monophyletic group ทั้งหมด แต่ปลาวัวสกุล Balistoides และ Pseudobalistes เป็น paraphyletic group อีกทั้งยังพบว่า ปลาวัวสกุล Sufflamen และ Balistidae เป็น sister group กัน และปลาวัวสกุล Abalistes เป็น sister group กับ Melichthys Xanthichthys Balistes และ Canthidermis [8]




References

แก้
  1. http://www.fishbase.org/summary/FamilySumma
  2. http://www.hanauma-bay-hawaii.com/triggerfish.htmlry.php?Family=Balistidae
  3. http://www.fishbase.org/summary/FamilySummary.php?Family=Balistidae
  4. Berg, L.S., 1958. System der rezenten und fossilen Fischartigen und Fische. VEB Verlag der Wissenschaften, Berlin. http://www.fishbase.org/References/FBRefSummary.php?ID=4830
  5. http://www.hanauma-bay-hawaii.com/triggerfish.html
  6. http://www.hanauma-bay-hawaii.com/triggerfish.html
  7. http://www.infoplease.com/encyclopedia/science/triggerfish.html#ixzz2fXOGavQB
  8. Dornburg, Alex. 2007. Model-Averaged Phylogenetic Inference of the Triggerfishes (Family: Balistidae). Washington State University, America. https://research.wsulibs.wsu.edu:8443/xmlui/bitstream/handle/2376/1103/Dornburg.pdf?sequence=1