ผู้ใช้:ธัญญา11/กระบะทราย

ประมวญ เจนจรัสสกุล (เดิม ประมวญ จรัสตระกูล) ผู้อยู่เบื้องหลังการผลิตภาพยนตร์ไทยมาเป็นเวลายาวนาน ตั้งแต่การให้บริการสนับสนุนไฟและอุปกรณ์กองถ่าย มาเป็นตากล้อง และการให้บริการก๊อบปี้ ล้างฟิล์มภาพยนตร์ และห้องอัดเสียง แบบครบวงจร ภายใต้บริษัท สยามพัฒนาฟิล์ม จำกัด

ประวัติ

แก้

ประมวญ เจนจรัสสกุล เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์โดยให้บริการสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยเครื่องมือต่างๆที่สร้างขึ้นเองเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความที่เป็นช่าง ประมวญสามารถผลิตอุปกรณ์ต่างๆตามความต้องการของกองถ่าย และให้บริการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในกองถ่าย

เริ่มมาเป็นตากล้อง

แก้

หลังจากที่คลุกคลีกับกองถ่ายมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ประมวญก็ผันตัวมาเป็นตากล้องถ่ายภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ประมวญเป็นตากล้องเต็มตัวคือภาพยนตร์เรื่องแรกที่ มิตร ชัยบัญชา นำแสดงชื่อ ชาติเสือ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้มิตร ชัยบันชา เริ่มเป็นที่รู้จัก ชาติเสือถ่ายทำในปี 2500 และออกฉายในปีต่อมา ภาพยนตร์ที่ประมวญภาคภูมิใจการผลงานการถ่ายทำคือ สาวน้อย (2501) กำกับการแสดงโดย ส.อาสนจินดา ออกฉายที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย โดยประมวญได้สร้างอุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพยนตร์ใต้น้ำด้วยตัวเองเพื่อใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง สาวน้อย และดำน้ำลงไปถ่ายด้วยตัวเอง

ผลงานการถ่ายภาพยนตร์

แก้

ชาติเสือ[1] (ภาพยนตร์เรื่องแรกของ มิตร ชัยบันชา)

สาวน้อย

หักปีกเหยี่ยว

เรือนแพ

เสือเก่า

ผลงานอื่นๆ

แก้

เมื่อวงการภาพยนตร์ไทยเติบโตขึ้น จรึงได้เลงเห็นความต้องการในกระบวนการผลิตภาพยนตร์ต่อจากการถ่ายภาพยนตร์ เช่น การก็อปปี้ฟิล์ม การล้างฟิล์ม การอัดเสียง และ การตัดต่อ ประมวญเป็นผู้ก่อตั้งหลักในการก่อตั้งบริษัทที่ให้บริการดังกล่าวอย่างครบวงจรเป็นรายแรกๆของประเทศไทยในนาม บริษัท สยามพัฒนาฟิล์ม จำกัด หรือที่ผู้คนในวงการเรียกกันติดหูว่า ประมวญแล็ป โดยในช่วงแรกที่ยังมีเงินทุนน้อย ประมวญได้ใช้ทักษะความเป็นช่างในการสร้างเครื่องก๊อบปี้ฟิล์ม และเครื่องล้างฟิล์มด้วยตนเองโดยศึกษาแบบอย่างจากต่างประเทศและคิดประดิษฐ์เองในบางส่วน

ผู้ก่อตั้ง ประมวญช่าง

ผู้ก่อตั้ง สยามพัฒนาฟิล์ม (แล็บล้างฟิล์มภาพยนตร์ 35มม. แห่งแรกของไทย)

อ้างอิง

แก้

เสวนาตากล้องในประวัติศาสตร์[2] https://youtu.be/M6MEoFt-l14

ภาพยนตร์ชาติเสือ

ภาพยนตร์สาวน้อย

  1. "ชาติเสือ", วิกิพีเดีย, 2024-06-24, สืบค้นเมื่อ 2024-06-26
  2. Thaibunterng ThaiPBS (2019-10-20), เสวนาตากล้องในประวัติศาสตร์, สืบค้นเมื่อ 2024-06-26