ผู้ใช้:ชนาวุธ นนสุทธี/ทดลองเขียน

ประวัติการจัดตั้งหน่วย กรมทหารม้าที่ ๖ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ๑. ที่ตั้งหน่วย  : บ้านเลขที่ ๑๐๐ หมู่ ๑๓ ค่ายศรีพัชรินทร ถนนกสิกรทุ่งสร้าง ต.ศิลา อ.เมือง

                       จ.ขอนแก่น  ๔๐๐๐๐

๒. วันสถาปนาหน่วย  : วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ของทุกปี ๓. ประวัติความเป็นมาของหน่วย ๓.๑ กล่าวทั่วไป กรมทหารม้าที่ ๖ จัดตั้งขึ้น เพื่อเสริมสร้างอำนาจกำลังรบ และเพิ่มพูนประสิทธิภาพของกองทัพ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ และภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ ประกอบกับแผนของกองทัพบก ต้องการจะพัฒนาหน่วยทหารม้า เพื่อเป็นหน่วยลาดตระเวนให้กับกองทัพภาค ระดับกรมต่อไป ๓.๒ คำสั่งการจัดตั้งหน่วย

   	  	กรมทหารม้าที่ ๖ จัดตั้งตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ ๓๕/๒๖ เรื่อง การจัดตั้งกรมทหารม้าที่ ๖ สั่ง ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ โดย พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) เดิม ม.๖ เป็นหน่วยขึ้นตรงของ พล.ม.๑ ใช้ อจย.หมายเลข ๑๗-๒๑ (ลง ๒๕ ม.ค.๑๙) มีการจัดหน่วยประกอบด้วย
         	- บก. และ ร้อย.บก.
          	- ร้อย.ค.
          	- ร้อย.ลว.
          	- ร้อย.รสพ.
          	- ๓ พัน.ม.

๓.๓ การเปลี่ยนแปลงของหน่วย

         	เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ ตามบันทึกข้อความ ยศ.ทบ. (กองนโยบายและแผน ยศ.ทบ.) ลับ ที่ กห ๐๔๐๓/๑๙๐ เรื่อง อนุมัติการปรับโครงการย้ายที่ตั้งหน่วย พล.ม.๑ ลง ๓๑ ม.ค.๓๔ ผบ.ทบ. กรุณาอนุมัติหลักการให้ ม.๖  เป็น นขต.ทภ.๒ 
         	เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ตามคำสั่ง ทบ. ลับ (เฉพาะ) ที่ ๕๗/๓๘ สั่ง ณ วันที่ ๒๒ พ.ค.๓๘  เรื่อง ปรับโครงสร้างการจัดหน่วยและการประกอบกำลัง พล.ม.๒, ม.๖ และปรับโอนการบังคับบัญชา  ม.พัน.๑๔ สั่ง ณ วันที่ ๒๒ พ.ค.๓๘ (พล.อ.วิมล  วงศ์วานิช ผบ.ทบ.) มีการปรับโครงสร้างหน่วยและการประกอบกำลังใหม่ ดังนี้
         	๑) การจัด อจย. หมายเลข ๑๗–๒๑ (ลง ๒๕ ม.ค.๑๙) 
         	๒) บก. และ ร้อย.บก.ม.๖ ตาม อจย. หมายเลข ๑๗ – ๒๒ (ลง ๒๕ ม.ค.๑๙) 
         	๓) ม.๓ บรรจุมอบ ม.พัน.๖ เป็นหน่วยในอัตราของ ม.๖ ใช้ อจย.หมายเลข ๑๗ – ๒๕    (ลง ๒๕ ม.ค.๑๙) 
        	๔) ทภ.๓ ปรับโอนการบังคับบัญชา ม.พัน.๑๔ ให้ ทภ.๒ โดยเป็น นขต.ม.๖ และเปลี่ยน อจย.ม.พัน.๑๔ จากเดิม ๑๗ – ๒๕ ก. (พัน.ม.เบา) เปลี่ยนเป็น อจย.๑๗ – ๒๕ พ. (พัน.ม.(ก.)) มีที่ตั้งปกติถาวร อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น 
         	๕) ศม. เป็นหน่วยเจ้าของโครงการจัดตั้งหน่วย และ ม.๓ โอนการบังคับบัญชา ม.พัน.๖  ให้ ม.๖ (เมื่อ ๒๗ มิ.ย.๒๖) 
         	๖) ม.๖ จึงมีการจัดหน่วยตาม อจย. หมายเลข ๑๗ - ๒๑ (๒๕ ม.ค.๑๙) ประกอบด้วย บก. และ ร้อย.บก.ม.๖ , ม.พัน.๖ และ ม.พัน.๑๔

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ ตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ ๑๑๗/๔๑ เรื่อง ปรับการจัดหน่วย ม.๖ สั่ง ณ วันที่ ๓ พ.ย.๔๑ (พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ผบ.ทบ.) ได้ปรับการจัดหน่วย ม.๖ เพื่อให้มีโครงสร้างการจัดหน่วยที่เหมาะสม จากเดิม อจย.หมายเลข ๑๗ – ๒๑ (๒๕ ม.ค.๑๙) เปลี่ยนเป็น อจย.หมายเลข ๑๗ – ๒๑ พ.(๒๘ พ.ค.๒๗) และบรรจุกำลังตามอัตราลดระดับ ๒ และ ปรับการจัดหน่วย บก. และ ร้อย.บก.ม.๖ จากเดิม อจย.หมายเลข ๑๗ - ๒๒ (๒๕ ม.ค.๑๙) เปลี่ยนเป็น อจย.หมายเลข ๑๗ – ๕๒ (๒๕ ม.ค.๑๙) บก. และ ร้อย.บก.กรม ม.ยานยนต์

       	เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ ได้มีการจัดตั้ง พล.ม.๓ ขึ้น ทบ. ได้มีคำสั่งให้ ม.๖ เป็นหน่วยขึ้นตรงของ พล.ม.๓ ตั้งแต่ ๑ เม.ย.๕๔ เป็นต้นมา
       	เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้มีคำสั่ง ทบ.ลับ (เฉพาะ) ที่ ๓๑/๕๖ เรื่อง ปิดการบรรจุอัตรากำลังพล, จัดตั้ง   ม.๗ และการปรับการบังคับบัญชาหน่วย ม.๖ ใน ทภ.๒ สั่ง ณ วันที่ ๑ มิ.ย.๕๖ (พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  ผบ.ทบ.) โดยปรับ ม.พัน.๑๔ ให้ขึ้นการบังคับบัญชากับ ม.๗ และให้ ม.พัน.๒๑ จากเดิมขึ้นการบังคับบัญชากับ พล.ร.๖ ให้ขึ้นการบังคับบัญชากับ ม.๖ ปัจจุบัน ม.๖  จึงมีการจัดหน่วยประกอบด้วย
        	- บก. และ ร้อย.บก.ม.๖  อจย.หมายเลข ๑๗ – ๕๒ (๒๕ ม.ค.๑๙)
         	- ม.พัน.๖  อจย.หมายเลข ๑๗ – ๒๕ (๒๕ ม.ค.๑๙)
         	- ม.พัน.๒๑  อจย.หมายเลข ๑๗ – ๒๕ (๒๕ ม.ค.๑๙)

๓.๔ หมายเลข อจย. ที่ใช้จัดตั้งหน่วย อจย.หมายเลข ๑๗ – ๒๑ (ลง ๒๕ ม.ค.๑๙)

   		หมายเลข อจย. ที่ใช้ในปัจจุบัน   อจย. หมายเลข ๑๗ – ๒๑ พ. (๒๘ พ.ค.๒๗)

ภารกิจ - เข้าตีประชิดข้าศึกด้วยการยิง และการดำเนินกลยุทธ เพื่อทำลายหรือจับเป็นเชลยศึก - ผลักดันการเข้าตีของข้าศึก ด้วยการยิง การรบประชิด การตีโต้ตอบ - ปฏิบัติการเป็นหน่วยกำบัง และออมกำลังในการรบด้วยวิธีรุก รับ และรบหน่วงเวลา - การต่อต้านและการปราบปรามการก่อความไม่สงบ การปฏิบัติการจิตวิทยา และการช่วยเหลือประชาชน ขีดความสามารถ

	- ปฏิบัติการยุทธด้วยอำนาจการยิงที่รุนแรง ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่และมีอำนายการข่มขวัญสูง
  	- เข้าตี หรือตีโต้ตอบ ภายใต้การยิงของข้าศึก 

- ทำลายยานเกราะข้าศึกด้วยการยิง - จัดให้มีส่วนฐานยิง และส่วนดำเนินกลยุทธ - ยึด และรักษาภูมิประเทศ ในห้วงระยะเวลาหนึ่ง - ปฏิบัติการเป็นอิสระในขีดจำกัด - สนับสนุนการยิงด้วยอาวุธวิถีโค้ง ให้กับหน่วยในอัตรา หรือหน่วยที่มาสมทบ - มีความรวดเร็วในการขยายผลแห่งความมีชัย

๓.๕ เกียรติประวัติของหน่วย

 		๓.๕.๑	รับมอบภารในการกิจถวายความปลอดภัยแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ , สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ , พระราชอาคันตุกะ และพระบรมวงศานุวงศ์ ในวโรกาสเสด็จฯ พระกอบพระราชกรณียกิจในพื้นที่รับผิดชอบ   

๓.๕.๒ การขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นหน่วยทหารในพระองค์ เมื่อ ๒๔ กุมภาพัน พ.ศ. ๒๕๔๓ หน่วย ม.๖ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสถาปนาหน่วย ม.๖ และ ม.พัน.๑๔ (นขต.ม.๖ ในขณะนั้น) เป็นหน่วยทหารในพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ผ่าน ทภ.๒ (กกพ.ทภ.๒) ตามหนังสือ ม.๖ ที่ กห ๐๔๘๒.๑๐/๓๕๒ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ เมื่อ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ม.๖ และ ม.พัน.๑๔ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต สถาปนาหน่วยเป็นหน่วยในพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๒ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๓ , ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทาน พระบรมราชานุญาตสถาปนาหน่วยทหารเป็นหน่วยในพระองค์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ม.๖ จึงเป็นหน่วยทหารในพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ๓.๖ วีรกรรมหรือการปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วยและกำลังพล

  	 	๓.๖.๑ จัดกำลังปฏิบัติราชการในกรมทหารพรานที่ ๓๔ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์

๓.๖.๒ จัดกำลังปฏิบัติราชการใน พตท.๒๕ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ๓.๖.๓ จัดกำลังสนับสนุนการปฏิบัติราชการ ร้อย.อส.จ. ในพื้นที่ ทภ.๒ ๓.๖.๔ จัดกำลังปฏิบัติราชการ ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ๒๒ อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ เมื่อปี ๒๕๒๘ ถึง ๒๕๓๐ ๓.๖.๕ ได้รับอนุมัติให้จัดทำโครงการ “โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองค่ายฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต แบบสมัครใจ” ตามแผนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด งานบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๖ จำนวน ๓ รุ่น ๓.๖.๖ จัดทำโครงการเยาวชนต้านภัยยาเสพติด ประจำปี ๒๕๔๘ ทำการฝึกอบรมเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๑ รุ่น ๓.๖.๗ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘ จัดนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ม.๖ ไปปฏิบัติราชการในกองอำนวยการสร้างเสริมสันติสุขใน ๓ จชต. ๓.๖.๘ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘ จัดกำลังพลเป็นชุดระวังป้องกันสนับสนุน ร้อย.ช.ผสม ไทย/บุรุนดี ผลัดที่ ๒ จำนวน ๕ นาย (ส.๕ นาย) ตามคำสั่งกองบัญชาการทหารสูงสุด (เฉพาะ) ที่ ๑๒๒๓/๔๘ ลงวันที่ ๒๙ ธ.ค.๕๙ ๓.๖.๙ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ – พ.ศ.๒๕๕๐ จัดกำลังพลปฏิบัติภารกิจในกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( กอ.สสส.จชต. ) จำนวน ๓ นาย ( ส.๓ นาย ) ตามคำสั่งกระทรวง กลาโหม ( เฉพาะ ) ที่ ๓๕๗/๔๘ ลงวันที่ ๒๓ ธ.ค.๔๘ และ คำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ที่ ๒๖๘/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๒๒ มิ.ย.๕๐ ๓.๖.๑๐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ – พ.ศ.๒๕๕๒ จัดนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ม.๖, กำลังพลนายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวน ไปปฏิบัติราชการใน กอ.รมน.ภาค ๔ และ กรม ทพ.ทภ.๔ ๓.๖.๑๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ – พ.ศ.๒๕๕๖ จัดกำลังพลปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ๓ จชต. โดยจัดจากหน่วย ม.พัน.๖ และ ม.พัน.๑๔ (นขต.ม.๖ ในขณะนั้น) ๓.๖.๑๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ – พ.ศ.๒๕๕๖ จัดกำลังพลปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดน ไทย/กัมพูชา และ ไทย/สปป.ลาว บริเวณ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ตามคำสั่ง ทภ.๒ ที่ ๘๔๖/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๕ เม.ย.๕๙ ๓.๖.๑๓ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ – พ.ศ.๒๕๕๘ จัดกำลังพลปฏิบัติปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ๓ จชต. เป็นรายบุคคล ๓.๖.๑๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๘ – พ.ศ.๒๕๕๙ จัดกำลังพลปฏิบัติปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ ๓ จชต. เป็นรายบุคคล จำนวน ๖ นาย (น.๑, ส.๓, พลฯ ๒) ตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ ๒ ที่ ๑๕๕๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๑ ก.ย.๕๗ ๓.๖.๑๕ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ – ปัจจุบัน จัดกำลังพลเป็นชุดประสานงาน ในศูนย์ประสานงานโครงการส่งเสริมศิลปาชีพอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ บ้านกุดสิม – คุ้มเก่า อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ๓.๖.๑๖ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗ – ปัจจุบัน จัดกำลังพลปฏิบัติภารกิจกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดกาฬสินธุ์ และ จังหวัดขอนแก่น ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒/๒๕๕๗ เรื่อง การประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๒ พ.ค.๕๗ ๓.๖.๑๗ ปฏิบัติภารกิจถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จฯ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจและพระกรณียกิจ ในพื้นที่จังหวัดของแก่น และจังหวัดใกล้เคียง