ป้ายหวีด เป็นป้ายที่ติดตั้งบริเวณรางรถไฟ มีความหมายให้พนักงานขับรถไฟหรือผู้ควบคุมหัวรถจักรกดหวีดรถไฟ[1]

ประเทศไทย

แก้

ในประเทศไทยมักเรียกว่า ป้าย ว เป็นป้ายวงกลมสีขาวมีตัวอักษร สีดำอยู่ตรงกลาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. และจะมีสัญลักษณ์พิเศษแยกออกไปตามแต่ละชนิด[1] โดยป้ายหวีดรถจักรในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ชนิด ดังนี้:

ป้ายหวีดรถจักรทั้วไป

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง[1]

ป้ายหวีดรถจักรสำหรับถนนผ่านเสมอระดับทางไม่มีเครื่องกั้นถนน

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง มีเส้นสีดำขนาดกว้าง 5 ซม. ด้านหลังสีขาวใต้ตัว ว[1]

ป้ายหวีดรถจักรสำหรับถนนผ่านเสมอระดับทางมีเครื่องกั้นถนนแต่ไม่มีสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง ใต้ตัว ว มีเส้นสีดำขนาดกว้าง 5 ซม. ด้านล่างป้ายวงกลมจะมีป้ายสีเหลี่ยมผืนผ้าสีขาวขนาด 25x50 ซม. และมีสัญลักษณ์กากบาททะแยงมุมกว้าง 5 ซม.[1]

ป้ายหวีดรถจักรสำหรับถนนผ่านเสมอระดับทางมีเครื่องกั้นถนนและสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง ใต้ตัว ว มีเส้นสีดำขนาดกว้าง 5 ซม. ด้านล่างป้ายวงกลมจะมีป้ายสีเหลี่ยมผืนผ้าสีดำขนาด 25x50 ซม. และมีสัญลักษณ์วงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงละ 10 ซม. 5 วง โดยอยู่ตรงมุม 4 วง ตรงกลาง 1 วง[1]

ป้ายหวีดรถจักรสำหรับถนนผ่านเสมอระดับทางมีเครื่องกั้นถนนสัมพันธ์กับสัญญาณประจำที่ไม่มีสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง

เป็นป้ายวงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. มีตัวอักษร ว สีดำอยู่ตรงกลาง ใต้ตัว ว มีเส้นสีดำขนาดกว้าง 5 ซม. ด้านล่างป้ายวงกลมจะมีป้ายสีเหลี่ยมผืนผ้าสีดำขนาด 30x50 ซม. จัดวางในแนวตั้ง และมีสัญลักษณ์วงกลมสีขาวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงละ 10 ซม. 2 วงเรียงตามแนวดิง[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ พ.ศ. 2549 (A regulation and order on railway operation in Thailand, 2006). Department of Traffic, State Railway of Thailand. October 2, 2008.