ป่าหิมพานต์

ป่าในวรรณคดีไทยที่เชื่อกันว่ามีสัตว์อภินิหารอยู่

ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเชื่อในเรื่องไตรภูมิตามคติศาสนาพุทธและฮินดู มีความเชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเชิงเขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระคือ

  1. สระอโนดาต
  2. สระกัณณมุณฑะ
  3. สระรถการะ
  4. สระฉัททันตะ
  5. สระกุณาละ
  6. สระมัณฑากิณี
  7. สระสีหัปปาตะ
กินรีและนาค หนึ่งในสัตว์หิมพานต์

บรรดาสระใหญ่ทั้ง 7 นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 5 ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอดมีส่วนสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาวได้ 50 โยชน์

ในป่าหิมพานต์นี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่มนุษย์ทั่วไปรู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างผสมกันแล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรไทยโบราณที่ได้สรรค์สร้างภาพจากเอกสารเก่าต่าง ๆ บรรดาสัตว์ทั้งหมดที่อ้างถึงนี้เป็นที่รู้จักในนามของสัตว์หิมพานต์[1]

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้