ปราสาทเปเลช (โรมาเนีย: Castelul Peleș, ออกเสียง: [kasˈtelul ˈpeleʃ] ) เป็นวังทรงเรอแนซ็องส์ใหม่ในเทือกเขาคาร์เพเทียน ใกล้กับเมืองซีนายา เทศมณฑลปราฮอวา ประเทศโรมาเนีย ก่อสร้างขึ้นระหว่างปี 1873 ถึง 1914 เปิดใช้ครั้งแรกในปี 1883 โดยสร้างถวายแด่พระเจ้าการอลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ปัจจุบันปราสาทเปิดให้เข้าชมแก่สาธารณะ โดยมีสามราคาซึ่งมีชั้นต่าง ๆ ของอาคารเพิ่มเติมตามราคาค่าตั๋ว[2]

ปราสาทเปเลช
ปราสาทเปเลช
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ใหม่
เมืองซีนายา
ประเทศประเทศโรมาเนีย
พิกัด45°21′35″N 25°32′34″E / 45.35984°N 25.54265°E / 45.35984; 25.54265
เริ่มสร้าง1873
แล้วเสร็จ1914
ค่าก่อสร้าง16,000,000 ทองเลวู (ราว 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) – ค่าก่อสร้างเมื่อเปิดใช้ในปี 1883
ลูกค้าพระเจ้าการอลที่ 1 แห่งโรมาเนีย
เจ้าของราชสำนักโรมาเนีย[1]
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกโยฮันเนิส ชุลทซ์
คาร็อล เบ็นเน็ช
กาแร็ล ลีมัน

เดิมทีมีการเสนอแปลนก่อสร้างอยู่สามแปลนโดยคัดลอกแบบมาจากปราสาทอื่น ๆ ในยุโรปตะวันตก พระเจ้าการอลที่ 1 ทรงปฏิเสธทุกแบบเนื่องจากขาดความดั้งเดิมและค่าก่อสร้างสูงเกินไป จนกระทั่งโยฮันเนิส ชุลทซ์ สถาปนิกชาวเยอรมัน เสนอแปลนก่อสร้างที่มีความดั้งเดิมและเข้ากับรสนิยมของพระองค์ โดยมีลักษณะเป็นวังแบบแอลป์ผสมผสานองค์ประกอบของยุโรปแบบคลาสสิก ส่วนใหญ่มาจากความวิจิตรแบบอิตาลีและสุนทรียภาพแบบเยอรมนีบนเส้นของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา การออกแบบยังนำร่วมโดยสถาปนิกคาร็อล เบ็นเน็ช[3] มีการต่อเติมภายหลังอีกในปี 1893 ถึง 1914 โดยกาแร็ล ลีมัน สถาปนิกชาวเช็ก ผู้ออกแบบหอคอยต่าง ๆ รวมถึงหอคอยกลางซึ่งมีความสูง 66 เมตร (217 ฟุต) ลีมันยังเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างของปราสาทเปลีชอร์ซึ่งสร้างขึ้นใกล้กันในภายหลัง

อ้างอิง

แก้
  1. "Participarea Președintelui României la dineul oficial de la Castelul Peleș - Familia Regală a României / Royal Family of Romania". Romaniaregala.ro. สืบค้นเมื่อ 8 October 2017.
  2. "Ticket prices". Peles.ro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2017. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  3. Paul Constantin, Universal Dictionary of Architects (Dicționar Universal al Arhitecților), București, Editura Stiințifică si Enciclopedică, 1986 p. 39.