บีรเฏาะวีล (อาหรับ: بير طويل, ออกเสียง: [biːɾ tˤɑˈwiːl], แปลว่า บ่อน้ำสูง) เป็นพื้นที่ขนาด 2,060 ตารางกิโลเมตร (795.4 ตารางไมล์) บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศอียิปต์กับประเทศซูดานที่ซึ่งไม่มีผู้อาศัยอยู่ และทั้งสองประเทศปฏิเสธสิทธิ์เหนือดินแดน

บีรเฏาะวีล

بير طويل
แผนที่ภูมิประเทศ (พื้นที่ในกรอบสีแดง)
แผนที่ภูมิประเทศ (พื้นที่ในกรอบสีแดง)
บีรเฏาะวีลตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
บีรเฏาะวีล
บีรเฏาะวีล
ที่ตั้งระหว่างอียิปต์กับซูดาน
บีรเฏาะวีลตั้งอยู่ในประเทศซูดาน
บีรเฏาะวีล
บีรเฏาะวีล
บีรเฏาะวีล (ประเทศซูดาน)
พิกัด: 21°52′9″N 33°44′52″E / 21.86917°N 33.74778°E / 21.86917; 33.74778
ประเทศโดยนิตินัย
ไม่มี
โดยพฤตินัย
อียิปต์ ประเทศอียิปต์[1]
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,060 ตร.กม. (800 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2018)
 • ทั้งหมด0 คน
 ไม่มีประชากรถาวร

สถานะดินแดนที่ไม่ได้เป็นของผู้ใด (terra nullius) ของบีรเฏาะวีลเกิดจากความไม่ลงรอยกันระหว่างเส้นแบ่งพรมแดนของอียิปต์กับซูดานซึ่งมีสองแบบ ได้แก่แบบรัฐกิจซึ่งเขียนเป็นเส้นตรงในปี ค.ศ. 1899 และแบบการบริหารซึ่งเขียนเป็นเส้นไม่ตรงในปี ค.ศ. 1902 อียิปต์ยึดถือเส้นแบ่งตามรัฐกิจที่เป็นเส้นตรง ส่วนซูดานยึดเส้นแบ่งตามการบริหารที่ไม่เป็นเส้นตรง ส่งผลให้พื้นที่ของสามเหลี่ยมฮะลายิบ (مثلث حلايب) ถูกทั้งอียิปต์และซูดานอ้างสิทธิ์ ส่วนบีรเฏาะวีลถูกทั้งสองประเทศปฏิเสธสิทธิ์ในดินแดน ในปี ค.ศ. 2014 แอลัสเตอร์ บอนเนตต์ ผู้แต่งหนังสือ เรียกบีรเฏาะวีลว่าเป็นพื้นที่เดียวบนโลกที่อยู่อาศัยได้แต่ไม่มีรัฐบาลใดอ้างสิทธิ์[2]

ภูมิศาสตร์ แก้

บีรเฏาะวีลมีพื้นที่ 2,060 ตารางกิโลเมตร (795.4 ตารางไมล์) ความยาวเส้นแบ่งทางเหนืออยู่ที่ 95 กิโลเมตร (59 ไมล์) และทางใต้อยู่ที่ 46 กิโลเมตร (29 ไมล์) ทางตะวันออกอยู่ที่ 26 กิโลเมตร (16 ไมล์) และทางตะวันตกอยู่ที่ 49 กิโลเมตร (30 ไมล์) ทางเหนือของพื้นที่คือเขาเฏาะวีล (جبل طويل) ซึ่งสูง 459 เมตร (1,506 ฟุต) ทางตะวันออกคือเขาฮะญะรุซซัรกออ์ (جبل حجر الزرقاء) ซึ่งสูง 662 เมตร (2,172 ฟุต) ส่วนทางใต้คือธารวาดีเฏาะวีล (وادي طويل) หรือที่รู้จักกันในชื่อโกรกธารอะบูบัรด์ (خور أبو برد‎)

ภูมิอากาศ แก้

ตามการจัดแบ่งรูปแบบภูมิอากาศแบบเคิพเพิน บีรเฏาะวีลอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (Bwh) เวลาสามในสี่ของปีเป็นฤดูร้อน ซึ่งอากาศอาจร้อนได้ถึง 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนสามเดือนที่ร้อนที่สุดคือมิถุนายนถึงสิงหาคม อุณหภูมิอาจขึ้นสูงถึง 45 องศาเซลเซียส (113 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนในช่วงฤดูหนาวสั้น ๆ นั้นอุณหภูมิอาจลงไปถึง 26 องศาเซลเซียส (79 องศาฟาเรนไฮต์)

ข้อมูลภูมิอากาศของBir Tawil
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 26
(79)
28
(82)
32
(90)
37
(99)
40
(104)
42
(108)
42
(108)
42
(108)
41
(106)
38
(100)
32
(90)
27
(81)
35.6
(96.1)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 7
(45)
8
(46)
11
(52)
16
(61)
20
(68)
22
(72)
24
(75)
24
(75)
22
(72)
19
(66)
13
(55)
9
(48)
16.3
(61.3)
แหล่งที่มา: MeteoBlue.com[3]

การอ้างสิทธิ์ในดินแดน แก้

 
ธงชาติของราชอาณาจักรซูดานเหนือ (Kingdom of North Sudan) หนึ่งในการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนบีรเฏาะวีล

เนื่องจากบีรเฏาะวีลยังไม่มีผู้ใดอ้างสิทธิ์ปกครองเหนือดินแดนตามกฎหมาย ทำให้มีบุคคลและองค์กรจำนวนหนึ่งพยายามอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนี้ในฐานะอนุรัฐ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการอ้างสิทธิ์รายใดที่ได้รับการคำนึงถึงอย่างจริงจังในระดับนานาชาติ และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของพื้นที่ที่ร้อน ห่างไกล และไม่เป็นมิตร การอ้างสิทธิ์เหนือบีรเฏาะวีลส่วนใหญ่จึงกระทำผ่านการโพสต์ประกาศออนไลน์จากสถานที่อื่น จนถึงปัจจุบัน ยังคงไม่มีการอ้างสิทธิ์ใดที่ได้รับการยอมรับหรือรับรองจากรัฐบาลและหน่วยงานระหว่างประเทศใด ๆ[4][5]

อ้างอิง แก้

  1. CIA World Factbook 2009. Central Intelligence Agency. 2009. ISBN 978-1607783336.
  2. Bonnett, Alastair (2014). "Bir Tawil". Unruly Places: Lost Spaces, Secret Cities and Other Inscrutable Geographies. Houghton Mifflin Harcourt. p. 73. ISBN 978-0-544-10160-9. LCCN 2013050983. OCLC 890509603. the only place on the planet that is both habitable and unclaimed.
  3. "Weather for Bir Tawil". MeteoBlue.com. สืบค้นเมื่อ 6 November 2019.
  4. Shenker, Jack (3 March 2016). "Welcome to the land that no country wants". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  5. Liston, Enjoli (16 July 2014). "American plans to use his piece of Africa for advancement of science". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 16 Oct 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้