ทางน้ำล้น
ทางน้ำล้น หรือ สปิลเวย์ (spillway) และมักถูกเรียกผิดเป็น สปริงเวย์ เป็นโครงสร้าง อาคารชลศาสตร์ที่สำคัญของเขื่อน เป็นส่วนโครงสร้างที่มีค่าก่อสร้างสูงที่สุดในงานเขื่อน เนื่องจากก่อสร้างด้วยวัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก ทางน้ำล้นบางประเภทจะประกอบด้วยประตูน้ำบานเลื่อนที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้
วัตถุประสงค์ของทางน้ำล้น
แก้- ทางน้ำล้นใช้ประโยชน์เพื่อควบคุมระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ด้วยการระบายน้ำส่วนเกินออกมายังท้ายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำล้นตัวเขื่อน ซึ่งจะทำให้เขื่อนเกิดความเสียหาย
ประเภทของทางน้ำล้นแบ่งตามลักษณะการควบคุม
แก้- ทางน้ำล้นแบบควบคุมได้ (Controlled)
- ทางน้ำล้นแบบควบคุมได้ ประกอบด้วยประตูน้ำบานเลื่อน เพื่อใช้ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ การออกแบบจะออกแบบให้อ่างเก็บน้ำสามารถจุน้ำได้ปริมาณสูงสุด โดยสามารถปล่อยน้ำได้ตามความต้องการด้วยการควบคุม
- ทางน้ำล้นแบบควบคุมไม่ได้ (uncontrolled)
- ทางน้ำล้นแบบควบคุมไม่ได้ จะไม่มีประตูน้ำ เมื่อระดับน้ำในอ่างสูงจนถึงระดับที่ออกแบบไว้ จะไหลล้นผ่านสันฝายของทางน้ำล้น
ประเภทของทางน้ำล้นแบ่งตามลักษณะการใช้งาน
แก้- ทางน้ำล้นใช้งาน (Service Spillway)
- ใช้ในการควบคุมระดับน้ำในเขื่อน
- ทางน้ำล้นฉุกเฉิน (Emergency Spillway)
- ใช้ในการระบายน้ำล้นฉุกเฉิน ช่วยในกรณีที่มีน้ำบ่ามาก
แบบของทางน้ำล้น
แก้- ทางน้ำล้นแบบมีบานประตูน้ำ
- บานประตูน้ำแบบบานตรง
- บานประตูน้ำแบบบานโค้ง
- ทางน้ำล้นแบบไม่มีบานประตูน้ำ
- ทางน้ำล้นแบบขั้นบันได (Stepped-Channel spillway, Stepped spillway, Staircase wastewater way หรือ Stepped chute)
- ทางน้ำล้นแบบระฆังหงาย (Inverted bell) มักเรียกกันว่าทางระบายน้ำล้นแบบ Morning glory
- ทางน้ำล้นแบบไหลล้นผ่านสันฝาย (Overflow weir spillway)
- ทางน้ำล้นแบบกาลักน้ำ (Siphon spillway)
- ทางน้ำล้นแบบอุโมงค์ (Tunnel spillway)
- ทางน้ำล้นแบบน้ำล้นด้านข้าง (Side channel spillway)
-
ทางน้ำล้นแบบปากระฆัง (Bell-mouth spillway at Llyn Celyn)
-
Robert-Bourassa Reservoir, Quebec, Canada, fittingly called the "Giant's Staircase".)