ตัวเลขกลาโกลิติก

ตัวเลขที่มีพื้นฐานมาจากอักษรกลาโกลิติก

ตัวเลขกลาโกลิติก เป็นระบบเลขจากอักษรกลาโกลิติกที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าประดิษฐ์ขึ้นในคริสต์ตวรรษที่ 9 โดยนักบุญซีริล ตัวเลขนี้มีความคล้ายกับตัวเลขซ๊ริลลิก เพียงแต่ค่าตัวเลขนี้เรียงตามลำดับอักษรของอักษรกลาโกลิติก[1][2] การใช้งานอักษรและตัวเลขกลาโกลิติกเริ่มมีน้อยลงในสมัยกลาง และเหลือเพียงการใช้ในงานเขียนศาสนาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยยังไม่เป็นที่กระจ่างว่ายังคงมีการใช้ตัวเลขกลาโกลิติกต่อนานเท่ากับอักษรกลาโกลิติกหรือไม่[3]

แถวแรกของพระราชบัญญัติวีนอดอลที่มีปี 1280 เขียนด้วยอักษร ·Ⱍ҃·Ⱄ҃·Ⱁ҃· (ฉบับสำเนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16)

รายละเอียด แก้

ระบบตัวเลขนี้เป็นระบบเลขอักษรฐานสิบ โดยมีค่าเลขตามลำดับอักษร ดังนั้ [ɑ] = 1, [b] = 2 เป็นต้น รูปอักขระสำหรับจำนวนในหลักหน่วย สิบ และร้อยมารวมกันเป็นตัวเลข เช่น ⰗⰑⰂ คือ 500 + 80 + 3 หรือ 583 ตัวเลขเขียนจากซ้ายไปขวา โดยจำนวนมากสุดอยู่ทางซ้าย

สำหรับจำนวนที่มากกว่า 999 มีหลักฐานที่ขัดแย้งกัน ออักษรกลาโกลิติกแรกสุดมีอักษรเพียง 36 ตัว โดยมีข้อบ่งชี้ถึงการใช้อักษรกลาโกลิติกสำหรับค่า 1000 ถึง 9000[3][4] แม้ว่ายังคงมีข้อคำถามถึงข้อยืนยันเลขที่มีค่า 3000 และมากกว่านั้น[5]

เพื่อแยกตัวเลขออกจากข้อความ ตัวเลขมักจะมีจุดหรือสัญลักษณ์ข้างบน[3] เช่น ใน Missale Romanum Glagolitice ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1483 ใช้ทั้งจุดกลมและ titlo เหนืออักษร เพื่อระบุเป็นตัวเลข[6]

ตัวอย่าง:

  (·Ⱍ҃·Ⱄ҃·Ⱁ҃·) – 1280

ตารางตัวเลข แก้

ค่า กลาโกลิติก
1  
2  
3  
4  
5  
6  
7  
8  
9  
ค่า กลาโกลิติก
10   หรือ   หรือ
20  
30  
40  
50  
60  
70  
80  
90  
ค่า กลาโกลิติก
100  
200  
300  
400  
500  
600  
700  
800  
900  
ค่า กลาโกลิติก
1,000  
2,000  
3,000  
4,000  
5,000  
6,000 ?
7,000 ?
8,000 ?
9,000  

ยังไม่มีใครทราบอักษรที่ระบุค่ามากกว่า 999 และนักเขียนหลายคนระบุอักษรสำหรับจำนวนเหล่านั้นต่างกัน[5][7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Schenker, Alexander M. (1995), The Dawn of Slavic: An Introduction to Slavic Philology, New Haven, Connecticut: Yale University Press, ISBN 0-300-05846-2
  2. Lunt, Horace Gray (2001). Old Church Slavonic Grammar (7th ed.). Berlin, Germany: Walter de Gruyter. pp. 16–18. ISBN 978-3-11-016284-4.
  3. 3.0 3.1 3.2 Chrisomalis, Stephen (2010). Numerical Notation: A Comparative History. Cambridge, England: Cambridge University Press. pp. 178–182. ISBN 978-1-139-48533-3. สืบค้นเมื่อ 2016-12-28.
  4. Veder, William R. (2004). The Glagolitic Alphabet as a Text. Glagoljica i hrvatski glagolizam. Zbornik radova s međunarodnoga znanstvenog skupa povodom 100. obljetnice Staroslavenske akademije i 50. obljetnice Staroslavenskog instituta. Zagreb, Croatia: Staroslavenski Institut/Krčka Biskupija. pp. 375–387.
  5. 5.0 5.1 Mathiesen, Robert (2004). A New Reconstruction of the Original Glagolitic Alphabet (M.S.). Brown University.
  6. Žubrinić, Darko (2013). "Hrvatski glagoljički Prvotisak misala iz 1483" [Croatian Glagolitic First Printing of the 1483 Missal] (ภาษาโครเอเชีย). สืบค้นเมื่อ 22 May 2020.
  7. Chulev, Basil (2015). "Glagoling the Glagolithic ("Speaking the Speakolithic")". สืบค้นเมื่อ May 21, 2020.