ดาวหางซีซาร์[1] (การตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ C/-43 K1) หรือดาวหางใหญ่ 44 ปีก่อนคริสตกาล บางทีอาจเป็นดาวหางที่เลื่องลือที่สุดในสมัยโบราณ สามารถมองเห็นได้เจ็ดวัน ซึ่งชาวโรมันถือเป็นสัญญาณของการยกจูเลียส ซีซาร์ (100-44 BC) ผู้เผด็จการโรมันที่เพิ่งเสียชีวิต ให้เป็นพระเจ้า[2]

ดาวหางซีซาร์เป็นหนึ่งในห้าดาวหางที่ทราบกันว่ามีโชติมาตรสัมบูรณ์ติดลบ และอาจเป็นดาวหางยามกลางวันที่สว่างที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่บันทึก[3] ดาวหางนี้ไม่เป็นคาบและอาจแตกสลายไปแล้ว

อ้างอิง แก้

  1. Ramsey, John T. and A. Lewis Licht (1997), The Comet of 44 BC and Caesar's Funeral Games, Scholars Press (Series: APA American Classical Studies, No. 39.)
  2. Grant, Michael (1970), The Roman Forum, London: Weidenfeld and Nicholson; Photos by Werner Forman, p. 94.
  3. การปะทุเมื่อวันที่ 23-25 กรกฎาคม 44 BC (โรม): −4.0 (แบบจำลอง Richter) และ −9.0 (แบบจำลอง 41P/Tuttle-Giacobini-Kresák); โชติมาตรสัมบูรณ์ 26 พฤษภาคม 44 BC (จีน): −3.3 (Richter) และ −4.4 (41P/TGK); คำนวณใน Ramsey and Licht, Op. cit., p. 236.