ดาวควาร์ก (quark star)[1] เป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในสมมุติฐาน ที่อาจก่อตัวขึ้นหลังจากวัตถุผ่านการระเบิดของมหานวดารา ดาวควาร์กซึ่งมีควาร์กอยู่ในสถานะเปลือยเปล่านั้นจะรองรับแรงโน้มถ่วงของตัวมันเองโดยอาศัยความดันสถานะเสื่อมของควาร์ก ในลักษณะเช่นเดียวกับที่ดาวแคระขาวรองรับแรงโน้มถ่วงด้วยความดันสถานะเสื่อมของอิเล็กตรอน และที่ดาวนิวตรอนรองรับแรงโน้มถ่วงด้วยความดันสถานะเสื่อมของนิวตรอน

ภาพรังสีเอ็กซ์ของ 3C 58 ซึ่งสงสัยว่าเป็นดาวควาร์ก

ดาวควาร์กมีอยู่จริงหรือไม่นั้นยังคงเป็นคำถามเปิดที่ต้องการศึกษาเพื่อหาคำตอบกันต่อไป แต่ถ้ามีจริง ดาวชนิดนี้น่าจะมีขนาดความโน้มถ่วงอยู่ระหว่างดาวนิวตรอนกับหลุมดำ และมีขนาดเล็กกว่าดาวนิวตรอน

วัตถุที่เรียกว่า RX J1856.5-3754 ในกลุ่มดาวมงกุฎใต้ และ XTE J1739-285 ในกลุ่มดาวคนแบกงู ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นไปตามสมบัติของดาวควาร์กได้รับการพิจารณาว่าอาจจะเป็นดาวควาร์ก

ประวัติศาสตร์

แก้

เมื่อแบบจำลองดาวนิวตรอนได้รับการเสนอครั้งแรกโดยฟริทซ์ ซวิคคี และวัลเทอร์ บาเดอในปี 1933 นิวตรอนถูกคิดว่าเป็นอนุภาคมูลฐานที่ไม่สามารถแตกตัวได้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการค้นพบควาร์กแล้ว ความเป็นไปได้ของดาวควาร์กจึงได้ถูกพิจารณาขึ้นมา

การวิเคราะห์เกี่ยวกับดาวควาร์กถูกเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1965 โดยดมีตรี อีวาเนนโก นักฟิสิกส์ของสหภาพโซเวียต[2][3]

วัตถุที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นดาวควาร์ก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. オックスフォード天文学辞典 (初版第1刷 ed.). 朝倉書店. p. 120. ISBN 4-254-15017-2.
  2. Ivanenko, Dmitri D.; Kurdgelaidze, D. F. (1965). "Hypothesis concerning quark stars". Astrophysics. 1 (4): 251–252. Bibcode:1965Ap......1..251I. doi:10.1007/BF01042830. S2CID 119657479.
  3. Ivanenko, Dmitri D.; Kurdgelaidze, D. F. (1969). "Remarks on quark stars". Lettere al Nuovo Cimento. 2: 13–16. Bibcode:1969NCimL...2...13I. doi:10.1007/BF02753988. S2CID 120712416.