ซาคูเล็ว
ซาคูเล็ว (มัมและกีเชะ: Saqulew; แปลว่า ดินขาว),[1] ซากูเลว (สเปน: Zaculeu) หรือ ชีนาบาฆุล (มัม: Chinabajul)[2] เป็นแหล่งโบราณคดีอารยธรรมมายาสมัยก่อนโคลัมบัสในที่สูงทางภาคตะวันตกของประเทศกัวเตมาลา ตั้งอยู่ห่างจากเมืองอูเออูเอเตนังโกสมัยใหม่ประมาณ 3.7 กิโลเมตร (2.3 ไมล์)[3] การตั้งถิ่นฐานที่แหล่งนี้มีอายุย้อนไปถึงสมัยคลาสสิกตอนต้น (ค.ศ. 250–600) ของประวัติศาสตร์มีโซอเมริกา ซาคูเล็วเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรของชาวมัมในสมัยหลังคลาสสิก[4] และถูกอาณาจักรกูมาร์คัฆของชาวกีเชะพิชิตได้ แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบอย่างมัมกับสถาปัตยกรรมแบบอย่างกีเชะ[5]
จัตุรัสหลักหรือจัตุรัสหมายเลข 1 มีโครงสร้างหมายเลข 6 อยู่ทางซ้าย และโครงสร้างหมายเลข 1 อยู่ทางขวา แท่นขนาดเล็กกลางจัตุรัสคือโครงสร้างหมายเลข 11 และ 12 | |
ที่ตั้ง | อูเออูเอเตนังโก จังหวัดอูเออูเอเตนังโก กัวเตมาลา |
---|---|
พิกัด | 15°20′1.66″N 91°29′33.88″W / 15.3337944°N 91.4927444°W |
ความเป็นมา | |
สร้าง | สมัยคลาสสิกตอนต้น ประมาณ ค.ศ. 250–600 |
ละทิ้ง | ค.ศ. 1525 |
สมัย | สมัยคลาสสิกตอนต้นถึงสมัยหลังคลาสสิกตอนปลาย |
วัฒนธรรม | มายา |
เหตุการณ์ | ถูกพิชิตโดย: อาณาจักรกีเชะแห่งกูมาร์คัฆ (สมัยหลังคลาสสิก) กอนซาโล เด อัลบาราโด อี กอนเตรรัส แห่งสเปน (ค.ศ. 1525) |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ขุดค้น | คริสต์ทศวรรษ 1940 |
ผู้ขุดค้น | จอห์น เอ็ม. ดิมิก |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | พีระมิดมีโซอเมริกาที่มีสถาปัตยกรรมและช่องบันไดคู่แบบตาลุด-ตาเบลโร |
ได้รับการบูรณะโดยบริษัทยูไนเต็ดฟรูต (ปลายคริสต์ทศวรรษ 1940) หน่วยงานรับผิดชอบในปัจจุบัน: กระทรวงวัฒนธรรมและกีฬา |
ใน ค.ศ. 1525 ซาคูเล็วถูกผู้พิชิตชาวสเปนภายใต้การนำของกอนซาโล เด อัลบาราโด อี กอนเตรรัส โจมตีระหว่างการล้อมเมืองซึ่งกินเวลานานหลายเดือน ในที่สุดไกบิล บาลัม ผู้ปกครองคนสุดท้ายของเมืองก็ทรงยอมจำนนต่อสเปนเนื่องจากความอดอยาก[6][7]
ซาคูเล็วมีวิหาร-พีระมิดจำนวนหนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมและช่องบันไดคู่แบบตาลุด-ตาเบลโร พีระมิดและที่ทำการของรัฐตั้งอยู่รอบ ๆ ลานสาธารณะขนาดใหญ่หลายแห่ง แหล่งโบราณคดีนี้ยังมีสนามบอลสำหรับเล่นเกมบอลมีโซอเมริกาอีกด้วย[2]
บริษัทยูไนเต็ดฟรูตได้บูรณะแหล่งโบราณคดีซาคูเล็วในปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ในปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและมีพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กหนึ่งแห่ง[8]
อ้างอิง
แก้บรรณานุกรม
แก้- Arroyo, Bárbara (July–August 2001). "El Posclásico Tardío en los Altos de Guatemala". Arqueología Mexicana (ภาษาสเปน). Mexico: Editorial Raíces. IX (50): 38–43. ISSN 0188-8218. OCLC 29789840.
- Christenson, Allen J. "K'iche' – English Dictionary and Guide to Pronunciation of the K'iche'-Maya Alphabet" (PDF). Foundation for the Advancement of Mesoamerican Studies, Inc. (FAMSI). สืบค้นเมื่อ 2009-02-04.
- del Águila Flores, Patricia (2007). "Zaculeu: Ciudad Postclásica en las Tierras Altas Mayas de Guatemala" [Zaculeu: Postclassic City in the Maya Highlands of Guatemala] (PDF) (ภาษาสเปน). Guatemala: Ministerio de Cultura y Deportes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
- Fox, John W. (2008) [1987]. Maya Postclassic state formation. Cambridge, UK and New York, USA: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-10195-0. OCLC 297146853.
- Kelly, Joyce (1996). An Archaeological Guide to Northern Central America: Belize, Guatemala, Honduras, and El Salvador. Norman: University of Oklahoma Press. ISBN 0-8061-2858-5. OCLC 34658843.
- Polo Sifontes, Francis. Zaculeu: Ciudadela Prehispánica Fortificada (ภาษาสเปน). Guatemala: IDAEH (Instituto de Antropología e Historia de Guatemala).
- Recinos, Adrian (1986). Pedro de Alvarado: Conquistador de México y Guatemala (ภาษาสเปน) (2nd ed.). Guatemala: CENALTEX Centro Nacional de Libros de Texto y Material Didáctico "José de Pineda Ibarra". OCLC 243309954.
- Rodríguez Rouanet, Francisco; Fernando Seijas; Gerardo Townson Rincón (1992). Huehuetenango. Colección Monografías de Guatemala (ภาษาสเปน). Guatemala: Banco Granai & Townson, S.A. OCLC 31405975.
- Sharer, Robert J. (2000). "The Maya Highlands and the Adjacent Pacific Coast". ใน Richard E.W. Adams; Murdo J. Macleod (บ.ก.). The Cambridge History of the Native Peoples of the Americas, Vol. II: Mesoamerica, part 1. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 449–499. ISBN 0-521-35165-0. OCLC 33359444.