ฉบับร่าง:รักกันสนั่นเมือง

รักกันสนั่นเมือง เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 4 ผลิตโดย บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม 2542 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โดยออกอากาศทุกคืนวันอาทิตย์ เวลา 22.00 - 23.00 น. โดยในยุคแรกเปิดโอกาสให้เฉพาะคู่สามีภรรยามาแข่งขันในรายการ ต่อมาเปลี่ยนเป็นคู่ของ พี่-น้อง , เพื่อน , แม่-ลูก หรือ พ่อ-ลูก จากทางบ้านสมัครเข้ามาในรายการ และได้มีการปรับรูปแบบเกมและฉากใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2544 ในชื่อ รักกันสนั่นเมือง คนยักษ์ และยังได้ โน้ต เชิญยิ้ม มาเป็นพิธีกรเพิ่มอีก 1 คน และได้ออกอากาศในเทปสุดท้ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2544

ประวัติ แก้

รายการ รักกันสนั่นเมือง เป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 2 และเป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 4 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2542[1] ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยออกอากาศทุกคืนวันอาทิตย์ เวลา 22.00 - 23.00 น. เวลา 1 ชั่วโมง โดยเป็นเกมโชว์ที่ส่งเสริมในเรื่องของความรัก ความเข้าใจ และรู้ใจในเรื่องราวของคู่ของตัวเอง ในรูปแบบของการตอบคำถามทายใจ โดยในยุคแรกนั้น รายการเปิดโอกาสให้เฉพาะคู่สามีภรรยามาแข่งขันในรายการ และตั้งแต่ปี 2543 ได้เปิดโอกาสให้คู่ของ พี่-น้อง , เพื่อน , แม่-ลูก หรือ พ่อ-ลูก จากทางบ้านสมัครเข้ามาแข่งขันในรายการ โดยมีเงินรางวัลสูงสุด 50,000 บาทในรอบสุดท้าย ต่อมาตั้งแต่ 29 กรกฎาคม 2544[2] ได้ปรับรูปแบบใหม่ ฉากใหม่ เกมใหม่ในแนวแอคชั่นเกม ในชื่อ "รักกันสนั่นเมือง คนยักษ์" พร้อมทั้งนำ โน้ต เชิญยิ้ม มาเป็นพิธีกรเพิ่มอีก 1 คน และลดจำนวนผู้แข่งขันจาก 3 คู่ เหลือ 2 คู่ และได้เพิ่มรอบสะสมเงินรางวัลสำหรับผู้ที่แพ้อีกด้วย

พิธีกร แก้

ชื่อ ช่วงระหว่าง หมายเหตุ
เกียรติ กิจเจริญ 7 มีนาคม 2542 - 30 กันยายน 2544
โน้ต เชิญยิ้ม 29 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2544

วันและเวลาออกอากาศ แก้

สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วัน เวลา ช่วงระหว่าง ระยะออกอากาศ
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก อาทิตย์ 22.00 - 23.00 น. 7 มีนาคม 2542 - 30 กันยายน 2544 60 นาที

ผู้เข้าแข่งขัน แก้

ในยุคแรกนั้นจะมีคู่สามี-ภรรยาที่เป็นดารามาแข่งขันกันสัปดาห์ละ 3 คู่ ต่อมาเปิดโอกาสให้ทางบ้านเข้ามาแข่งด้วย และไม่จำเป็นต้องมาในฐานะสามี-ภรรยาก็ได้ โดยอาจจะมาในฐานะ เพื่อน , พี่-น้อง , พ่อ-ลูก , แม่-ลูก โดยอาจจะมาสัปดาห์ละ 1 คู่บ้าง 2 คู่บ้าง หรือจะมา 3 คู่เลยในบางสัปดาห์

ช่วงต่าง ๆ ของรายการ แก้

ช่วงต่าง ๆ ของรายการรักกันสนั่นเมือง จะแบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ๆ โดยจะเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบของรายการและปีที่ออกอากาศ ดังนี้

ชื่อช่วง ช่วงปี หมายเหตุ
ช่วงที่ 1
เป็นใคร๊..เป็นใคร 7 มีนาคม - 26 ธันวาคม 2542
รักต้องเลือก 2 มกราคม 2543 - 15 กรกฎาคม 2544
ช่วงที่ 2
รักต้องรู้ 7 มีนาคม 2542 - 15 กรกฎาคม 2544
ช่วงที่ 3 (รอบ JACKPOT)
1 คำถาม 5 คำตอบ 7 มีนาคม 2542 - 31 ธันวาคม 2543
หัวใจ-เครื่องใน 7 มกราคม - 6 พฤษภาคม 2544
ผู้ชาย - ผู้หญิง 13 พฤษภาคม - 15 กรกฎาคม 2544

เกมในรายการ แก้

ในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการรักกันสนั่นเมืองนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ ยุคแรก (7 มีนาคม - 26 ธันวาคม 2542) ยุคที่ 2 (2 มกราคม 2543 - 15 กรกฎาคม 2544) และยุคสุดท้าย (คนยักษ์) (29 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2544) โดยในแต่ละยุคได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรายการอยู่เรื่อย ๆ รวมทั้งปรับฉากใหม่และเกมใหม่ในยุคสุดท้าย

ยุคแรก (7 มีนาคม - 26 ธันวาคม 2542) แก้

ช่วงที่ 1 (แฟนใคร๊.. แฟนใคร) แก้

ก่อนเริ่มเกมนั้น จะมีการสะสมคะแนนซึ่งเป็นการจับคู่ กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีรูปของ " เขตต์ ฐานทัพ " และ " เชอร์รี่ ผุงประเสริฐ " ซึ่งเป็นพรีเซ็นเตอร์ของเนสกาแฟและคอฟฟี่เมด อย่างละ 6 แผ่นป้าย โดยเลือกมาคู่ละ 2 แผ่นป้าย โดยแบ่งเป็นฝั่งสามีเลือกก่อน และฝ่ายภรรยาจะเป็นคนเลือกทีหลัง หากเปิดเจอรูปของ " เขตต์ " ก่อน อีก 1 ใบจะต้องเปิดให้เจอรูป " เชอร์รี่ " หรือหากเปิดเจอรูปของ " เชอร์รี่ " ก่อน อีก 1 ใบจะต้องเปิดให้เจอรูป " เขตต์ " หากเปิดได้ " เขตต์ " และ " เชอร์รี่ " คู่กัน จะได้ 1 คะแนนไปก่อน แต่ถ้าหากเปิดได้รูปซ้ำกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปของ " เขตต์ " หรือ " เชอร์รี่ " ก็ตาม จะไม่ได้คะแนนไป และจะไปเล่นเกมต่อไป

ซึ่งแต่ละคำถามจะเป็นคำถามเหตุการณ์สมมติในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยแต่ละคู่จะมีป้าย " ของหนูค่ะ " และ " ของผมครับ " เพื่อยกตอบและเฉลย หากคู่ไหนยกป้ายคู่กัน จะได้ 1 คะแนน และคู่สามี-ภรรยาที่ไม่ได้ยกแผ่นป้ายจะได้คะแนนไปด้วย แต่ถ้าในกรณีฝั่งภรรยายกแผ่นป้ายมากกว่า 1 คน แต่ฝั่งสามียกแผ่นป้ายน้อยกว่า (ตัวอย่างเช่น ฝ่ายภรรยายกแผ่นป้าย 2 คน แต่ฝ่ายสามียกแผ่นป้าย 1 คน คู่ที่ยกแผ่นป้ายคู่กัน และคู่ที่ไม่ได้ยกแผ่นป้าย จะได้คะแนนไป) โดยจะเล่นทั้งหมด 6 ข้อ แบ่งเป็น 3 ข้อแรกเป็นของฝั่งภรรยา และอีก 3 ข้อสำหรับฝั่งสามี พอเล่นครบทั้ง 6 ข้อ คู่ไหนมีคะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบ และรับเงินรางวัล 20,000 บาทกลับบ้านไป[3]

ช่วงที่ 2 (รักต้องรู้) แก้

กติกาของเกมรักต้องรู้ คือ จะมีคำถามคู่ละ 6 ข้อ ในแต่ละข้อจะไม่มีตัวเลือกให้เลือก แต่จะต้องตอบออกมาให้ตรงกับคู่ของตัวเองได้ยกป้ายคำตอบไว้ หากตองตรงกันจะได้ 1 คะแนน หากตอบไม่ตรงกันจะไม่ได้คะแนนในข้อนั้นไป โดยทั้ง 12 ข้อ คู่ไหนได้คะแนนมากที่สุดจะได้เข้าไปสู่รอบสุดท้าย ส่วนคู่ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบไป และรับเงินรางวัล 20,000 บาท กลับบ้านไป แต่หากว่าทำคะแนนเสมอกัน จะต้องมาวัดดวงกัน โดยใครเปิดได้คะแนนมากกว่าจะได้เข้ารอบไป

วัดดวง แก้

ในรอบวัดดวงนี้ จะเล่นเฉพาะคู่ที่มีคะแนนเสมอกันมากกว่า 1 คู่ โดยจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 4 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมี 0 , 1 , 2 และ 3 คะแนน หากคู่ไหนเปิดได้คะแนนมากกว่าจะได้เข้ารอบไป ส่วนคู่ที่ได้คะแนนน้อยกว่า จะต้องตกรอบไป และรับเงินรางวัล 20,000 บาท กลับบ้านไป

ช่วงที่ 3 (1 คำถาม 5 คำตอบ) แก้

กติกาของเกมในรอบสุดท้ายนี้ คือ จะมี 1 คำถาม โดยในคู่ของตัวเองได้ตอบคำถามออกมาก่อนหน้านั้นแล้ว 5 คำตอบ ใน 1 คำตอบนั้น หากตอบมาแล้วมีอยู่ใน 5 คำตอบที่คู่ของตัวเองตอบออกมาก่อนหน้านั้น จะได้เปิดแผ่นป้าย 1 แผ่นป้าย (สูงสุด 5 แผ่นป้าย) แต่ถ้าหากตอบออกมาแล้วไม่มีใน 5 คำตอบ จะไม่ได้เปิดแผ่นป้าย ในส่วนของแผ่นป้ายนั้น จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีป้าย 5 คะแนน, 10 คะแนน และ 20 คะแนน อย่างละ 4 แผ่นป้าย และจะมีการกำหนดคะแนนและรางวัลในระดับนั้น โดยจะมีอยู่ 2 กรณี คือ หากสามารถเปิดแผ่นป้ายสะสมคะแนนถึง 50 คะแนน จะได้รับรางวัลเป็นตั๋วเครื่องบินไป - กลับ กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ 2 ที่นั่ง (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกรุงเทพฯ - ภูเก็ต) และถ้าหากสามารถเปิดแผ่นป้ายสะสมคะแนนถึง 80 คะแนน จะได้รับรางวัลเป็นตั๋วเครื่องบินไป - กลับ กรุงเทพฯ - ลอนดอน 2 ที่นั่ง (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกรุงเทพฯ - สหรัฐอเมริกา)

ยุคที่ 2 (2 มกราคม 2543 - 15 กรกฎาคม 2544) แก้

ช่วงที่ 1 (รักต้องเลือก) แก้

ในเกมนี้เป็นเกมใหม่ที่เปลี่ยนจากเกมเป็นใคร๊.. เป็นใคร กติกาของเกมนี้ คือ จะมีคำถามทั้งหมด 6 คำถาม โดยแต่ละคำถามจะมีตัวเลือก 2 ข้อ และมีคะแนนข้อละ 1 คะแนน ในแต่ละข้อ หากตอบออกมาตรงกันในคู่ของตัวเอง จะได้ 1 คะแนน หากตอบไม่ตรงกันจะไม่ได้คะแนนในข้อนั้นไป โดยทั้ง 6 ข้อ ใครมีคะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบไปก่อน และรับเงินรางวัล 20,000 บาทกลับบ้านไป แต่หากว่าทำคะแนนเสมอกันมากกว่า 1 คู่ จะต้องมาวัดดวงกัน โดยใครเปิดได้คะแนนมากกว่าจะได้เข้ารอบไป[4]

ช่วงที่ 2 (รักต้องรู้) แก้

กติกาของเกมรักต้องรู้ คือ จะมีคำถามคู่ละ 6 ข้อ ในแต่ละข้อจะไม่มีตัวเลือกให้เลือก แต่จะต้องตอบออกมาให้ตรงกับคู่ของตัวเองได้ยกป้ายคำตอบไว้ หากตองตรงกันจะได้ 1 คะแนน หากตอบไม่ตรงกันจะไม่ได้คะแนนในข้อนั้นไป โดยทั้ง 12 ข้อ คู่ไหนได้คะแนนมากที่สุดจะได้เข้าไปสู่รอบสุดท้าย ส่วนคู่ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบไป และรับเงินรางวัล 20,000 บาท กลับบ้านไป แต่หากว่าทำคะแนนเสมอกัน จะต้องมาวัดดวงกัน โดยใครเปิดได้คะแนนมากกว่าจะได้เข้ารอบไป

วัดดวง แก้

ในรอบวัดดวงนี้ จะเล่นเฉพาะคู่ที่มีคะแนนเสมอกันมากกว่า 1 คู่ โดยจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 4 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมี 0 , 1 , 2 และ 3 คะแนน หากคู่ไหนเปิดได้คะแนนมากกว่าจะได้เข้ารอบไป ส่วนคู่ที่ได้คะแนนน้อยกว่า จะต้องตกรอบไป และรับเงินรางวัล 20,000 บาท กลับบ้านไป

ช่วงที่ 3 แก้

ในช่วงที่ 3 มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบต่าง ๆ ตามปีที่ออกอากาศ ดังนี้

1 คำถาม 5 คำตอบ (7 มีนาคม 2542 - 31 ธันวาคม 2543) แก้

กติกาของเกมในรอบสุดท้ายนี้ คือ จะมี 1 คำถาม โดยในคู่ของตัวเองได้ตอบคำถามออกมาก่อนหน้านั้นแล้ว 5 คำตอบ ใน 1 คำตอบนั้น หากตอบมาแล้วมีอยู่ใน 5 คำตอบที่คู่ของตัวเองตอบออกมาก่อนหน้านั้น จะได้เปิดแผ่นป้าย 1 แผ่นป้าย (สูงสุด 5 แผ่นป้าย) แต่ถ้าหากตอบออกมาแล้วไม่มีใน 5 คำตอบ จะไม่ได้เปิดแผ่นป้าย ในส่วนของแผ่นป้ายนั้น จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีป้าย 5,000 บาท และ 10,000 บาท อย่างละ 6 แผ่นป้าย โดยหากตอบคำถามถูก 1 ข้อ จะได้เลือกเปิดแผ่นป้าย 1 แผ่นป้าย โดยเปิดออกมาได้เท่าไหร่ ได้รางวัลตามที่เปิดได้ โดยเงินรางวัลสูงสุดในรอบนี้ คือ 50,000 บาท หากเปิดได้ 10,000 ติดกัน 5 แผ่นป้าย และต่ำสุดคือ 25,000 บาท หากเปิดได้ 5,000 ติดกัน 5 แผ่นป้าย

หัวใจ - เครื่องใน (7 มกราคม - 6 พฤษภาคม 2544) แก้

กติกาของเกมในรอบสุดท้ายนี้ คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย (ต่อมาเพิ่มเป็น 20 แผ่นป้าย) โดยจะมีรูปหัวใจและเครื่องในอย่างละ 6 แผ่นป้าย (ต่อมาเพิ่มเป็นอย่างละ 10 แผ่นป้าย) โดยเลือกมา 6 แผ่นป้าย โดยจะต้องเปิดออกมาให้เหมือนกับใบก่อนหน้า เช่น ใบแรกเปิดได้รูปหัวใจ ใบต่อมาก็ต้องเปิดให้เจอรูปหัวใจ หรือใบแรกเปิดเจอรูปเครื่องใน ใบต่อมาก็ต้องเปิดให้เจอรูปเครื่องใน หากเปิดได้เหมือนกับใบก่อนหน้า จะได้เงินรางวัล 10,000 บาท แต่หากเปิดได้ไม่เหมือนกัน จะได้เงินรางวัล 5,000 บาท[5]

ผู้ชาย - ผู้หญิง (13 พฤษภาคม - 15 กรกฎาคม 2544) แก้

กติกาของเกมในรอบสุดท้ายนี้ คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 20 แผ่นป้าย โดยจะมีรูปผู้ชาย (ชายหนุ่ม-ชายชรา) และผู้หญิง (หญิงสาว-หญิงชรา) อย่างละ 10 แผ่นป้าย โดยเลือกมา 6 แผ่นป้าย โดยจะต้องเปิดออกมาให้เหมือนกับใบก่อนหน้า เช่น ใบแรกเปิดได้รูปผู้ชาย ใบต่อมาก็ต้องเปิดให้เจอรูปผู้ชาย หรือ ใบแรกเปิดได้รูปผู้หญิง ใบต่อมาก็ต้องเปิดให้เจอรูปผู้หญิง หากเปิดได้เหมือนกับใบก่อนหน้า จะได้เงินรางวัล 10,000 บาท แต่หากเปิดได้ไม่เหมือนกัน จะได้เงินรางวัล 5,000 บาท[6]

ยุคสุดท้าย (คนยักษ์) (29 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2544) แก้

ในยุคของ "รักกันสนั่นเมือง คนยักษ์" นั้น ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบกติกาใหม่ ฉากใหม่ รวมทั้งได้เพิ่มพิธีกรอีก 1 คน คือ โน้ต เชิญยิ้ม โดยจะแบ่งเป็น 2 รอบ หากทั้ง 2 รอบนี้ ใครมีผลคะแนนมากที่สุดจะได้เข้าไปสู่รอบสุดท้าย ส่วนคู่ที่ตกรอบ จะต้องไปสะสมเงินรางวัลต่อไป

เกมการแข่งขัน แก้

เกมการแข่งขันในรักกันสนั่นเมือง คนยักษ์ โดยหลักจะมีทั้งหมด 3 เกม ดังนี้

ชื่อเกม กติกา เริ่มใช้ครั้งแรก หมายเหตุ
ไก่ยักษ์ฟักไข่ ผู้เล่นคนแรกจะต้องใส่ชุดไก่ที่มีเข็มติดอยู่ใต้เดือยและปิดตา ส่วนอีกคนจะเป็นคนถือโทรโข่งบอกทาง และจะมีลูกโป่ง 2 สี คือ สีเหลือง มีค่า 1 คะแนน และสีแดง มีค่า -1 คะแนน โดยจะมีเวลาให้ 1 นาที 30 วินาที จะต้องจิ้มลูกโป่งเพื่อสะสมคะแนน

ส่วนในรอบที่ 2 คะแนนจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยลูกโป่งสีเหลือง มีค่า 2 คะแนน และสีแดง มีค่า 1 คะแนน โดยทั้ง 2 รอบ ใครทำคะแนนมากกว่า จะเป็นผู้ชนะ

29 กรกฎาคม 2544 แป้นคะแนนในคู่ของคุณหม่ำต้องใช้ถึง 2 แป้นคะแนน เนื่องจากทำคะแนนมากกว่าคู่ของคุณเทพ
ผึ้งเก็บน้ำหวาน ผู้เล่นจะต้องใส่ชุดผึ้งและถือถังน้ำ โดยจะต้องตักน้ำและเดินคร่อมท่อนหนาม (เฉพาะฝ่ายชาย ส่วนฝ่ายหญิง ทางรายการให้เดินบนท่อน) เพื่อส่งให้กับผู้เล่นอีกคน โดยจะมีถังอยู่บนหัว และเดินมาเทลงในถังที่รองรับไว้ โดยจะมีเวลาให้ 1 นาที 30 วินาที เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำมากที่สุด หากทั้ง 2 รอบ ใครได้ปริมาณน้ำมากกว่า โดยจะวัดเป็นคะแนน ถือว่าเป็นผู้ชนะ 5 สิงหาคม 2544
เกาเหลารสเด็ด ผู้เล่นฝ่ายชายจะต้องแต่งชุดอาตี๋และถือช้อนยักษ์ ส่วนผู้เล่นฝ่ายหญิงจะต้องแต่งชุดอาหมวยและถือตะกร้าเพื่อรอรับลูกบอล โดยลูกบอลจะมีคะแนน 1 , 2 และ 3 คะแนน ส่วนทีมฝ่ายตรงข้าม จะให้ฝ่ายชายแต่งชุดเป็นแมลงวัน เพื่อดักลูกบอล หากฝ่ายตรงข้ามดักได้ลูกบอลที่มีคะแนนเท่าไหร่ จะถูกติดลบไปตามคะแนนลูกบอล โดยจะมีเวลาให้ 1 นาที เพื่อทำคะแนนให้ได้มากที่สุด

ส่วนในรอบที่ 2 จะเหมือนกันกับรอบแรก แต่สลับให้ฝ่ายหญิงเป็นคนโยน และฝ่ายชายเป็นคนรับ และผู้เล่นฝ่ายหญิงในทีมตรงข้ามจะเป็นคนดัก

19 สิงหาคม 2544

สะสมเงินรางวัล แก้

กติกาของเกมในรอบสะสมเงินรางวัลนี้ คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 20 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย 5,000 บาท 14 แผ่นป้าย ป้ายพิธีกร (กิ๊ก-โน้ต) อย่างละ 2 แผ่นป้าย มีค่าใบละ 10,000 บาท และป้ายตัวหยุด (ยักษ์) 2 แผ่นป้าย โดยเลือกมา 6 แผ่นป้าย เปิดได้เท่าไหร่ ได้จำนวนเงินนั้นกลับบ้านไป (เงินรางวัลสูงสุดในรอบนี้ คือ 50,000 บาท) แต่ถ้าหากเปิดเจอรูปยักษ์ จะต้องหยุดทันที ทั้งนี้บางครั้งพิธีกรก็จะเปิดแผ่นป้ายแถมเพื่อมอบเงินรางวัลเพิ่มหรือแล้วแต่ความประสงค์ของผู้เข้าแข่งขัน

เป่ายิ้งฉุบ แก้

กติกาของเกมเป่ายิ้งฉุบ คือ จะมีวงล้อ 2 วงล้อ โดยคู่ที่เข้ารอบสุดท้ายมา จะต้องหมุนวงล้อเป่ายิ้งฉุบแข่งกับพิธีกร โดยในแต่ละครั้ง หากสามารถชนะพิธีกรได้ จะได้เงินรางวัล 10,000 บาท หากเสมอกัน จะได้เงินรางวัล 5,000 บาท หากแพ้ จะไม่ได้เงินรางวัลในครั้งนั้นไป แต่ถ้าหากสามารถหมุนวงล้อเป่ายิ้งฉุบชนะพิธีกรติดกัน 6 ครั้ง จะได้เงินรางวัล 200,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 100,000 บาท ให้กับคู่ที่เข้ารอบและทางบ้านที่จับชิ้นส่วนได้ในตอนต้นรายการ

อ้างอิง แก้

  1. รายการ รักกันสนั่นเมือง เทปแรก (บางส่วน), สืบค้นเมื่อ 2023-06-18
  2. รายการ.. "รักกันสนั่นเมือง" คนยักษ์ ..(29 ก.ค. 2544), สืบค้นเมื่อ 2023-06-18
  3. "รายการรักกันสนั่นเมือง | By Prince Dhana | Facebook". www.facebook.com.
  4. รายการ.. "รักกันสนั่นเมือง" ..(2 ม.ค. 2543), สืบค้นเมื่อ 2023-06-18
  5. รายการ.. "รักกันสนั่นเมือง" ..(14 ม.ค. 2544), สืบค้นเมื่อ 2023-06-18
  6. รายการ.. "รักกันสนั่นเมือง" ..(13 พ.ค. 2544), สืบค้นเมื่อ 2023-06-18