ฉบับร่าง:ปรัชญา (ซัลวาตอร์ โรซา)

ซัลวาตอร์ โรซา, ปรัชญา, ป. 1645, หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน

ปรัชญา เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้าใบเป็นภาพเหมือนของซัลวาตอร์ โรซา จิตรกรยุคบารอกชาวอิตาลี ซึ่งที่เป็นที่รู้จักจากภาพทิวทัศน์ในจินตนาการ ภาพวาดนี้มักถูกตีความว่าเป็นการเปรียบเทียบปรัชญาเป็นบุคลาธิษฐาน วาดขึ้น ป. 1645 และเป็นสมบัติของหอศิลป์แห่งชาติ ในลอนดอนตั้งแต่ปี 1933

ภาพวาดนี้มีขนาด 116.3 × 94 เซนติเมตร (45.8 × 37.0 นิ้ว) โรซาวาดภาพตัวเองแบบครึ่งตัว โดยสวมหมวกนักปราชญ์สีดำบนเส้นผมยาวรุงรัง กับฉากหลังเป็นท้องฟ้าสีเทายามพายุ มุมมองของภาพอยู่ต่ำกว่าผู้ถูกวาด ซึ่งมองลงมาที่ผู้ชมด้วยสีหน้าเคร่งขรึม ด้านขวาของใบหน้าที่ยังไม่ได้โกนหนวดมีเงามืดเน้นให้เห็นจมูกยาวแหลม มือซ้ายของเขาถือชุดคลุมให้ปิด โดยมีปกเสื้อเชิ้ตสีขาวปรากฏที่คอ และมือขวาถือแผ่นป้ายที่มีจารึกภาษาละติน AVT TACE / AVT LOQVERE MELIORA / SILENTIOซึ่งอาจแปลว่า "จงเงียบ เว้นแต่คำพูดของเจ้าจะดีกว่าความเงียบ" หรือ "จงเงียบ หรือกล่าวบางสิ่งที่ดีกว่าความเงียบ" ภาษาละตินนี้มาจาก Anthologia ของ สโตบาอุส ซึ่งเป็นการรวบรวมคำคมจากนักเขียนชาวกรีกโบราณที่ตีพิมพ์ในศตวรรษที่ 5 ซัลวาตอร์ โรซาต้องการเพิ่มชื่อเสียงในฐานะจิตรกรผู้วาดภาพปรัชญา แทนที่จะเป็นภาพทิวทัศน์ซึ่งมีค่านิยมต่ำกว่าในลำดับคุณค่าของศิลปะ โรซาได้ตีพิมพ์ผลงานรวบรวมคำคมของเขาเองในชื่อ Il Teatro della Politica ในปี 1669 ซึ่งรวมถึงหัวข้อเกี่ยวกับคุณค่าของความเงียบด้วย

ซัลวาตอร์ โรซา, Poetry, 1640–1641, Wadsworth Atheneum, ฮาร์ตเฟิร์ด

โรซาวาดภาพนี้ราวปี 1645 ให้กับ ฟิลิปโป นิคโคลินี ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเขาในฟลอเรนซ์และเคยเป็นครูสอนพิเศษและข้ารับใช้ของโจวันนี คาร์โล เด เมดิชี ผู้อุปถัมภ์โรซา ภาพวาดชิ้นนี้เคยถูกมองว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเอง เพราะมีข้อความจารึกอยู่ด้านหลัง แต่จากการศึกษาใหม่ พบว่าภาพนี้ไม่ได้สื่อถึงตัวศิลปิน แต่สื่อถึงปรัชญาแบบบุคลาธิษฐาน ภาพวาดนี้อาจถูกวาดขึ้นให้เป็นภาพคู่กับภาพวาด กวีนิพนธ์ ในปี 1640 ซึ่งมีขนาด 116.2 x 94.6 เซนติเมตร (45.7 × 37.2 นิ้ว) ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ Wadsworth Atheneum แสดงให้เห็น ลูเครเซีย หญิงคนรักของโรซา ในฐานะบุคลาธิษฐานของกวีนิพนธ์ด้วยขนาดและองค์ประกอบที่คล้ายกันกับฉากหลังที่เรียบง่ายเช่นเดียวกัน ผลงานดังกล่าวยังเป็นของครอบครัวนิคโคลินีในฟลอเรนซ์จนกระทั่งถูกขายให้กับ เรเวอเรนด์จอห์น แซนฟอร์ด (พ.ศ. 2320–2398) ในทศวรรษ 1830 ต่อมาได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของคอลเล็กชันของ มาร์ควิสแห่งแลนส์ดาวน์ ที่ Bowood House ซึ่งอยู่ที่นั่นจนถึงปี พ.ศ. 2498 (เมื่อบ้านส่วนใหญ่ที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทุบทำลาย) และถูกขายให้กับ Wadsworth Atheneum ในปี พ.ศ. 2499

ปรัชญา ถูกนำเสนอต่อหอศิลป์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2476 โดย เฮนรี เพ็ตตี-ฟิตซ์มอริส มาร์ควิสแห่งแลนส์ดาวน์ที่ 6 เพื่อระลึกถึงบิดาของเขา เฮนรี เพ็ตตี-ฟิตซ์มอริส มาร์ควิสแห่งแลนส์ดาวน์ที่ 5 ผู้ซึ่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2470

ภาพเหมือนตนเองอีกภาพหนึ่งของโรซาซึ่งมีอายุย้อนไปถึงราวปีป. 1645และแสดงอยู่ในMusée des Beaux-Arts de Strasbourg แสดงให้เห็นศิลปินมีเคราหนาและผมสีเข้ม ภาพอีกภาพหนึ่งซึ่งสร้างในปี ค.ศ. 1647 ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน ก็มีเคราและผมยาวเช่นกัน ในขณะที่ภาพที่สามซึ่งสร้างในเมืองดีทรอยต์ซึ่งถูสร้างขึ้นประมาณป. 1650–1660มีลักษณะคล้ายกับภาพวาดของโรซาที่แต่งกายเป็นทหารในเมืองเซียนาราวปี ป. 1640–1649

อ้างอิง

แก้