ฉบับร่าง:นิด้าโพล

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”
ที่อยู่
148 ถนนเสรีไทย อาคารเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
ข้อมูลทั่วไป
สถาปนา เริ่มดำเนินการครั้งแรก พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519

ฟื้นฟู :: พ.ศ. 2551 มีมติจัดตั้ง 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผู้บริหาร ผศ. ดร. สุวิชา เป้าอารีย์
เว็บไซต์


ประวัติ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” (NIDA Poll)    

พ.ศ. 2518

         สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ “นิด้า” ได้จัดให้มีการสำรวจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้น เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2518 นับเป็นการทำโพลครั้งแรกในประเทศไทย

ที่ใช้ความรู้ทางสถิติมาทำนายผลการสำรวจได้อย่างใกล้เคียงกับผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจริง ทำให้โพลของนิด้า หรือ “นิด้าโพล” เป็นที่รู้จักอย่างมากในสมัยนั้น

พ.ศ. 2519 

         สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ยุติการดำเนินการ “นิด้าโพล” เนื่องจากเกิดความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ

พ.ศ. 2550

         ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในขณะนั้น เห็นสมควรให้มีการฟื้นฟู “นิด้าโพล” โดยให้ใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนด้วยวิธีการเก็บข้อมูลทางโทรศัพท์ ซึ่งมี ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.ประชุม สุวัตถี และรองศาสตราจารย์ ดร.พาชิตชนัต ศิริพานิช เป็นผู้วางระบบและสร้างกรอบตัวอย่าง (Sampling Frame) ให้กับนิด้าโพล เพื่อให้การสุ่มตัวอย่างสามารถเป็นตัวแทนของประชากรไทยได้ นิด้าโพลจัดเก็บข้อมูลไว้ในรูปแบบของฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ กั่วเจริญ เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเก็บข้อมูล

พ.ศ. 2551

         จัดตั้งศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” (NIDA Public Opinion Poll Center)

พ.ศ. 2555

         สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีมติให้เปลี่ยนชื่อจากศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” (NIDA Public Opinion Poll Center) เป็น ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” (NIDA Poll Center)

พ.ศ. 2556

         การทำนายผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในเดือนมีนาคม 2556 เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ “นิด้าโพล” เนื่องจาก “นิด้าโพล” เป็นสำนักโพลเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่สามารถทำนายผลการเลือกตั้งได้อย่างถูกต้องว่า หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการสำรวจของ “นิด้าโพล” กับ ผลการเลือกตั้งที่ประกาศโดยสำนักงาน กกต. คลาดเคลื่อนกันเพียง 4.59% ทำให้ “นิด้าโพล” เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับจากสาธารณชน

ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2556 กับผลการสำรวจของ “นิด้าโพล”
รายชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่ง

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2556

ผลการเลือกตั้ง นิด้าโพล

(S.E. = 3.7)

เปรียบเทียบ

ความต่าง

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร 47.75 43.16 - 4.59
พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ 40.97 41.45 0.48
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส 6.33 8.72 2.39
สุหฤท สยามวาลา 3.00 2.92 0.08
โฆษิต สุวินิจจิต 1.09 1.21 0.12
อื่น ๆ 0.86 0.32 - 0.54
ไม่ลงคะแนน (Vote No) 1.75 2.23 0.48

ภาพ: ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2556 กับผลการสำรวจของ “นิด้าโพล”

คติพจน์

"ถูกต้อง เที่ยงตรง ด้วยคุณภาพตามหลักวิชาการ"

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่มีความอิสระในการดำเนินการ

2.     เพื่อดำเนินกิจกรรมและให้บริการทางวิชาการด้านวิจัยเชิงสำรวจ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้แก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน องค์การมหาชน องค์การสาธารณประโยชน์และองค์กรระหว่างประเทศ

3.  เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ และข้อค้นพบเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของภาครัฐ นโยบายสาธารณะ รวมถึงประเด็นสำคัญที่สาธารณะให้ความสนใจ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ศาสนาและวัฒนธรรม

พันธกิจ

1. ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ศาสนาและวัฒนธรรม

2. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและผลงานของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สู่สาธารณะ

3.  ให้บริการวิชาการ การวิจัยเชิงสำรวจให้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน องค์การมหาชน องค์การสาธารณประโยชน์ และองค์กรระหว่างประเทศ


โครงสร้างการบริหาร

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่ออธิการบดี และมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การบริหารงานของ “นิด้าโพล” มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จึงกำหนดให้ “นิด้าโพล” มีการรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” และคณะกรรมการบริหารศูนย์สำรวจความคิดเห็น“นิด้าโพล” พิจารณาให้ความเห็นชอบและให้ข้อเสนอแนะในประเด็นด้านนโยบายและด้านการบริหารเป็นประจำปัจจุบันโครงสร้างของ “นิด้าโพล” ประกอบไปด้วย 4 ส่วนงานที่สำคัญ ประกอบด้วยส่วนโพลสาธารณะ ส่วนธุรกิจโพล ส่วนบริหารงานทั่วไป และส่วนพัฒนาและสนับสนุนวิชาการ โดยมีบุคลากรประจำศูนย์ จำนวน 19 คน พนักงานสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จำนวน 30 คน และพนักงานเก็บข้อมูลภาคสนาม จำนวน 70 คน ภายใต้การบริหารงานของผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”

คณะกรรมการนโยบายศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”
คณะกรรมการบริหารศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”
ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”
รองผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”
ส่วนโพลสาธารณะ ส่วนบริหารงานทั่วไป ส่วนพัฒนาและสนับสนุนวิชาการ ส่วนธุรกิจโพล
·  ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฯ “นิด้าโพล” ส่วนโพลสาธารณะ

·  นักประมวลผล

·   หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ

·   เจ้าหน้าที่การเงิน

·   เจ้าหน้าที่บัญชีและพัสดุ

·   นักวิชาการโสตศนศึกษา

·   นักประชาสัมพันธ์

·  นักสถิติ

·  นักตรวจสอบและ ควบคุมคุณภาพ ข้อมูล

·  นักวิชาการคอมพิวเตอร์

·    ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฯ “นิด้าโพล” ส่วนธุรกิจโพล

·    ผู้บริหารโครงการ

·    เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

ภาพ: โครงสร้างการบริหารงานของศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”

ทำเนียบผู้บริหาร

รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
อาจารย์ ดร.วิชัย รูปขำดี

(รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ฯ “นิด้าโพล”)

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552

รองศาสตราจารย์ ดร.พาชิตชนัต ศิริพานิช

(รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ฯ “นิด้าโพล”)

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

ถึงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค

(ผู้อำนวยการศูนย์ฯ “นิด้าโพล”)

วาระที่ 1

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ถึงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วาระที่ 2

วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

ถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

(ผู้อำนวยการศูนย์ฯ “นิด้าโพล”)

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561

ถึงวันที่ 28 มกราคม 2561

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณพงศ์ นพเกตุ

(ผู้อำนวยการศูนย์ฯ “นิด้าโพล”)

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ณ ระนอง

(ผู้อำนวยการศูนย์ฯ “นิด้าโพล”)

วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิชา เป้าอารีย์

(ผู้อำนวยการศูนย์ฯ “นิด้าโพล”)

วาระที่ 1

วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วาระที่ 2

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ถึง ปัจจุบัน

ภาพ: ทำเนียบผู้บริหารศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”

ตัวอย่างหลัก (Master Sample)

         “นิด้าโพล” ดำเนินการพัฒนาและเพิ่มขนาดตัวอย่างหลัก (Master Sample) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบัน “นิด้าโพล” มีตัวอย่างหลัก (Master Sample) จำนวน 376,867 หน่วยตัวอย่าง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566) กระจายตามภูมิภาค เพศ สถานะภาพการสมรส อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

         ขั้นตอนการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเก็บข้อมูลตัวอย่างหลัก เริ่มจากการใช้โปรแกรมสร้างตัวเลข 10 หลัก Random Digit โดยกำหนดให้ตัวเลขแรกเป็น 08 06 หรือ 09 ส่วนตัวเลขที่เหลือเป็นตัวเลขใดก็ได้ ตั้งแต่ 0 – 9 โดยโปรแกรมจะสุ่มหมายเลขโทรศัพท์เป็น 08X-XXX-XXXX หรือ 09X- XXX-XXXX เป็นต้น ซึ่งการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์แต่ละครั้งจะได้ตัวเลขที่ไม่ซ้ำกัน จากนั้นพนักงานเก็บข้อมูลของ “นิด้าโพล” จะโทรศัพท์ไปสัมภาษณ์เพื่อสอบถามกับเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์ว่า

“ท่านยินดีที่จะเข้าร่วมเป็นตัวอย่างหลักกับ “นิด้าโพล” เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น หรือไม่” หากยินดีเข้าร่วม พนักงานจึงจะเริ่มสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ (ชาย หญิง เพศทางเลือก) อายุ ศาสนา ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน (จังหวัด เขต/อำเภอ แขวง/ตำบล) สถานะการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แต่พนักงานจะไม่มีการขอข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน

บัญชีธนาคาร รวมถึงจะไม่สอบถามชื่อ-สกุล ทั้งนี้ เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์สามารถที่จะขอยกเลิก (ถอดความยินยอม) การเป็นตัวอย่างหลัก (Master Sample) กับนิด้าโพลเมื่อใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม

ในกรณีที่เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์ ไม่ยินดี หรือไม่สะดวก ที่จะเข้าร่วมเป็นตัวอย่างหลักกับ “นิด้าโพล” พนักงานจะไม่มีการบังคับ และกล่าวขอบคุณก่อนวางสายอย่างสุภาพ

         ทั้งนี้ หมายเลขโทรศัพท์ที่จะสามารถเป็นตัวอย่างหลักกับ “นิด้าโพล” ได้ จะต้องมาจากการสุ่มด้วยโปรแกรม Random Digit ที่นิด้าโพลพัฒนาขึ้นเท่านั้น โดยตัวอย่างหลัก (Master Sample) ต้องมีสัญชาติไทย ไม่เป็นชาวต่างชาติ หรือไม่เป็นคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ และมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

         “นิด้าโพล” ให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลของตัวอย่างหลัก (Master Sample) เป็นอย่างมาก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ข้อมูลส่วนบุคคลจึงถูกจัดเก็บไว้ในระบบที่มีความปลอดภัยและมีการจำกัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample)


สัดส่วนประชากรไทยและขนาดตัวอย่างหลักของ “นิด้าโพล”

 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566)

ภูมิภาค ขนาดประชากรทั่วประเทศ ขนาดตัวอย่างหลักของ “นิด้าโพล” ส่วนต่าง
ขนาดประชากร ร้อยละ ขนาดตัวอย่างหลัก ร้อยละ
กรุงเทพฯ 4,659,321 8.53 44,432 11.79 3.26
ภาคเหนือ 9,786,866 17.91 67,825 18.00 0.09
ภาคกลาง 10,119,999 18.52 79,872 21.19 2.67
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18,296,798 33.49 103,246 27.40 (6.09)
ภาคตะวันออก 4,197,920 7.68 33,676 8.93 1.25
ภาคใต้ 7,571,009 13.86 47,816 12.69 (1.17)
รวม 54,631,913 100.00 376,867 100.00

ภาพ:  เปรียบเทียบสัดส่วนประชากรไทยและขนาดตัวอย่างหลักของ “นิด้าโพล”


ขั้นตอนการทำโพล (Polling Steps)

         ขั้นแรก จะเป็นการกำหนดหัวข้อและออกแบบสอบถามสำหรับการทำโพล ซึ่งรวมถึงการกำหนดประชากรเป้าหมายและวิธีการสุ่มตัวอย่างจากฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล โดยนักวิชาการคอมพิวเตอร์ผู้ดูแลระบบจะใส่ข้อมูลเพื่อออกคำสั่งให้ระบบคอมพิวเตอร์สุ่มหมายเลขโทรศัพท์จากฐานข้อมูลตามที่ต้องการ เช่น หากต้องการเก็บข้อมูลผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป และมีภูมิลำเนาในภาคเหนือ ระบบก็จะสุ่มเฉพาะหมายเลขโทรศัพท์ตามที่ต้องการ

ขั้นที่สอง คือการอธิบายแบบสอบถามให้แก่พนักงานเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เก็บข้อมูลจะเข้าใจแบบสอบถามอย่างชัดเจนในคำถามและตัวเลือก ขั้นที่สามคือการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ ขั้นที่สี่คือการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรวมถึงการสุ่มตรวจแบบสอบถามเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลมีความน่าเชื่อถือ ขั้นที่ห้าคือการประมวลผลและเขียนรายงาน รวมถึงการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic) เพื่อให้ผู้รับข่าวสารสามารถเข้าใจผลการสำรวจได้ง่าย และขั้นสุดท้ายคือการเผยแพร่ผลโพลสู่สาธารณะ

การควบคุมคุณภาพข้อมูล

         “นิด้าโพล” ให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง จึงจัดให้มีบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้านการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพข้อมูลโดยเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลการสำรวจที่ได้มาจากความคิดเห็นและทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามอย่างแท้จริง เช่น ภายหลังการเก็บข้อมูลในแต่ละวันพนักงานตรวจสอบและควบคุมคุณภาพข้อมูลจะมีการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ร่วมตอบแบบสอบถามกับ “นิด้าโพล” เพื่อโทรศัพท์กลับไปประเมินพฤติกรรมของพนักงานเก็บข้อมูล และตรวจสอบคำตอบที่มีการบันทึกไว้ในระบบกับตัวอย่างว่าได้บันทึกข้อมูลที่ตรงกัน สำหรับการเก็บข้อมูลภาคสนามจะถูกตรวจสอบการดำเนินงานในหลายรูปแบบ เช่น การลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบการเก็บข้อมูลของพนักงานเก็บข้อมูลภาคสนาม การตรวจสอบความถูกต้อง สอดคล้องของข้อมูลในแบบสอบถาม ซึ่งหากพบว่ามีข้อผิดพลาด พนักงานเก็บข้อมูลจะต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ สิ่งที่ “นิด้าโพล” มุ่งเน้น คือการยึดหลักวิชาการทางสถิติและระเบียบวิธีวิจัยเป็นพื้นฐาน รวมถึงยึดมั่นในความถูกต้อง โปร่งใส นำเสนอผลการสำรวจด้วยความเป็นกลาง และปราศจากอคติ

โพลสาธารณะ (Public Poll)

         โพลสาธารณะ มีภารกิจหลักในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของภาครัฐ นโยบายสาธารณะ รวมถึงประเด็นสำคัญที่สาธารณะให้ความสนใจ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ศาสนาและวัฒนธรรม โดยมีการสำรวจและเผยแพร่ผลการสำรวจเป็นประจำทุกวันอาทิตย์

         “นิด้าโพล” มีความโดดเด่นและแตกต่างจากสำนักโพลหรือหน่วยงานวิจัยอื่น เนื่องจากใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยดำเนินการสุ่มตัวอย่างจากฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ซึ่งในปัจจุบันมีประมาณ 376,867 หน่วยตัวอย่าง กระจายตามภูมิภาค เพศ สถานะการสมรส อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ ซึ่งการเก็บข้อมูลแต่ละครั้งจะมีการกระจายสัดส่วนการเก็บข้อมูลให้ใกล้เคียงกับสัดส่วนประชากรที่แท้จริงของประเทศโดยเน้นการกระจายสัดส่วนตามพื้นที่ เพศ และอายุ จึงทำให้ผลโพลมีความแม่นยำสูง พิสูจน์ได้จากผลโพลการทำนายผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา และการทำนายผลการเลือกตั้ง สส. ในเขตกรุงเทพมหานคร ในปี 2566 โดยในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ปี 2556 “นิด้าโพล” เป็นสำนักโพลเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่สามารถทำนายถูกว่า หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. เช่นเดียวกันกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในปี 2565 “นิด้าโพล” เป็นสำนักโพลเดียวที่ทำนายว่า คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จะได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. ด้วยคะแนนมากกว่า 50% ซึ่ง “นิด้าโพล” ทำนายว่า คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จะได้ประมาณ 50.72% ซึ่งคลาดเคลื่อนจากผลการเลือกตั้งจริงเพียงแค่ 1.91% และในการเลือกตั้ง สส. กทม. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 “นิด้าโพล” สามารถทำนายผลการเลือกตั้ง สส. กทม. ทั้ง 33 เขต ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำในทุกเขตเลือกตั้ง ทำให้ผลการสำรวจในประเด็นอื่น ๆ ของ “นิด้าโพล” ได้รับการยอมรับจากสาธารณะด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งมูลค่าสื่อจากผลการสำรวจของ “นิด้าโพล” เป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ

ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2565 กับผลการสำรวจของ “นิด้าโพล”
รายชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่ง

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2565

ผลการเลือกตั้ง นิด้าโพล เปรียบเทียบ

ความต่าง

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 52.63 50.72 -1.91
ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 9.67 10.36 0.69
ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร 9.64 10.28 0.64
นายสกลธี ภัททิยกุล 8.75 6.80 -1.95
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง 8.15 10.84 2.69
นางสาวรสนา โตสิตระกูล 3.00 3.48 0.48
น.ต.ศิธา ทิวารี 2.80 2.76 - 0.04
ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote No) 2.74 4.08 1.34

ภาพ: ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2565 กับผลการสำรวจของ “นิด้าโพล”


การทำนายผลการเลือกตั้ง สส. กรุงเทพมหานคร ทั้ง 33 เขตของ “นิด้าโพล” 

กับผลการเลือกตั้ง สส. กรุงเทพมหานคร แบบแบ่งเขต ปี 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 14 พ.ค. 2566)

เขตเลือกตั้งที่ 1 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 2 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 3 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 4 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 5 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 6 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 7 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 8 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 9 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 10 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 11 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 12 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 13 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 14 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 15 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 16 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 17 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 18 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 19 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 20 พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ 21 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 22 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 23 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 24 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 25 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 26 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 27 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 28 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 29 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 30 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 31 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 32 พรรคก้าวไกล
เขตเลือกตั้งที่ 33 พรรคก้าวไกล
รายงานผลการเลือกตั้ง สส. ปี 2566 อย่างเป็นทางการ (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พ.ค. 2566)
สส. แบ่งเขต
อันดับ 1 พรรคก้าวไกล (1,397,554 คะแนน) 32 ที่นั่ง
อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย (639,998 คะแนน) 1 ที่นั่ง
อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ (513,416 คะแนน) 0 ที่นั่ง
อันดับ 4 พรรคประชาธิปัตย์ (236,482 คะแนน) 0 ที่นั่ง

ภาพ: ผลการเลือกตั้ง ส.ส. กทม. ทั้ง 33 เขตของ “นิด้าโพล” กับผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต ปี 2566

มูลค่าสื่อที่ได้รับจากการเผยแพร่ผลโพลสาธารณะ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 หน่วย: ล้านบาท

(ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566)

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 96.69
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 556.60
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  724.51 (อัตราค่าโฆษณาใหม่)
1,078.72 (อัตราค่าโฆษณาเก่า)

ภาพ:  มูลค่าสื่อที่ได้รับจากการเผยแพร่ผลโพลสาธารณะ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566

ธุรกิจโพล (Poll Business)

         ส่วนธุรกิจโพล มีภารกิจหลักในการให้บริการวิชาการด้านการวิจัยเชิงสำรวจ และเป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัยให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน องค์การมหาชน องค์การสาธารณประโยชน์ และองค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการใช้ข้อมูลผลการวิจัยเชิงสำรวจ ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เช่น

·      การสำรวจความพึงพอใจ (Satisfaction Surveys)

·      การวิจัยประเมินผล (Evaluation Research)

·      การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)

·      การวิจัยตลาด (Marketing Research)

·      การทำโพล (Polling)/การทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing)

·      การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group)

·      การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews)

·      บริการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Training) รวมถึงขั้นตอนการทำโพล

การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส (Quarterly Political Popularity Survey)

         ตั้งแต่ธันวาคม 2562 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ได้ทำโพลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส เป็นประจำทุก 3 เดือน โดยจะเผยแพร่ผลการสำรวจทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และ ธันวาคม ซึ่งจะเป็นคำถามเดียวกันทุกครั้งคือ บุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ และพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้โดยจะมีการเสนอผลในเชิงเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในรอบ 3 ถึง 12 เดือน ที่ผ่านมา ในปัจจุบันโพลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักการเมือง นักวิชาการ สื่อมวลชนและผู้ที่ติดตามการเมืองไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ


ภาพ:  ผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง ระหว่างไตรมาสที่ 1/2565 - ไตรมาสที่ 4/2565

เผยแพร่ผลการสำรวจเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565


ภาพ:  ผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 1/2567 เผยแพร่ผลการสำรวจเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2567


รายการเกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้ง 2566: NIDA Poll’s Political War Room

         ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” จัดโครงการ “การวิเคราะห์ศึกเลือกตั้ง 2566 NIDA Poll’s Political War Room” เพื่อติดตามเฝ้าสังเกตการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การเลือกตั้ง โดยเชิญนักวิชาการและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นต่าง ๆ มาร่วมวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางของการเลือกตั้ง โดยนำผลการสำรวจของ “นิด้าโพล” มาเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคาดการณ์ผลการเลือกตั้งทั่วไปและผลการเลือกตั้งในพื้นที่ที่มีการแข่งขันทางการเมืองอย่างสูง รายการ NIDA Poll’s Political War Room ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์เป็นประจำทุกสัปดาห์ ทางช่อง YouTube, TikTok และ Website ของ “นิด้าโพล” ซึ่งในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 “นิด้าโพล” เผยแพร่รายการ จำนวนทั้งสิ้น 19 ตอน และมีการดำเนินการรายการต่อไปอีก 6 ตอนหลังการเลือกตั้ง (Link เข้ารับชมรายการ: https://www.youtube.com/NIDAPoll'sPoliticalWarRoom)

ภาพ: การถ่ายทำรายการ NIDA Poll’s Political War Room EP.7 ตอน ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 1 เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 66 แขกรับเชิญพิเศษ ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ภาพ: การถ่ายทำรายการ NIDA Poll’s Political War Room EP.17 ตอน ข่าวลือหรือข่าวจริง ช่วงเลือกตั้ง 2566 เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 66 แขกรับเชิญพิเศษ รศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ และอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ภาพ:  ผลการสำรวจ เรื่อง ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 3 เผยแพร่ผลการสำรวจเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566

รายการวิเคราะห์ผลการสำรวจโพลประจำสัปดาห์: Highlights NIDA Poll

จุดเด่นหรือข้อมูลเชิงลึกของผลโพลในแต่ละสัปดาห์ของ “นิด้าโพล” ได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ของ “นิด้าโพล” ได้แก่ YouTube และ TikTok ทุกวันจันทร์ (หนึ่งวันหลังเผยแพร่ผลโพล) และดำเนินรายการโดยผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” (Link เข้ารับชมรายการ: https://www.youtube.com/@nidapoll2824/featured)

ภาพ: การถ่ายทำรายการ Highlights NIDA Poll EP.6 ตอน วิกฤติเศรษฐกิจกับการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต

เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 67

ภาพ: การถ่ายทำรายการ Highlights NIDA Poll EP.17 ตอน ยาบ้า 5 เม็ด กับผู้เสพ คือ ผู้ป่วย

เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 67