งาตาโปละมนเทียร

งาตาโปละมนเทียร (เนปาลภาษา: 𑐒𑐵𑐟𑐵𑐥𑑀𑐮‎, "ṅātāpola", แปลว่า ห้าชั้น; อักษรโรมัน: Nyātāpola) เป็นวิหารความสูงห้าระดับในใจกลางภักตปุระ ประเทศเนปาล[5][6] ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาที่สูงที่สุดในเมือง และเป็นวิหารที่สูงที่ในในประเทศเนปาล สร้างขึ้นโดยดำริของกษัตริย์ภุปินทระ มัลละ สร้างเสร็จในเวลา 6 เดือน ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 1701 ถึง 15 กรกฎาคม 1702[7] วิหารยังคงไม่ถล่มลงมาแม้จะผ่านแผ่นดินไหวมาหลายครั้ง รวมถึงเมื่อเดือนเมษายน 2015 ซึ่งเมืองได้รับผลกระทบอย่างหนัก[8]

งาตาโปละ
𑐒𑐵𑐟𑐵𑐥𑑀𑐮
งาตาโปละมนเทียร (ทางซ้ายมือของภาพ)
ศาสนา
ศาสนาตันตระ[1]
เขตภักตปุระ
จังหวัดภัคมาตี
เทพเทวีสิทธิลักษมี[2]
ที่ตั้ง
ที่ตั้งตมารหีตวา ภักตปุระ, เนปาล
ประเทศเนปาล
งาตาโปละมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
งาตาโปละมนเทียร
ที่ตั้งในประเทศเนปาล
พิกัดภูมิศาสตร์27°40′17″N 85°25′43″E / 27.67139°N 85.42861°E / 27.67139; 85.42861
สถาปัตยกรรม
ประเภทเนปาล[3]
ผู้ก่อตั้งภุปทินทระ มัลละ
เสร็จสมบูรณ์15 กรกฎาคม 1702
ลักษณะจำเพาะ
ความสูงสูงสุด33.23 เมตร[4]
ระดับความสูง1,401 m (4,596 ft)[4]

งาตาโปละเป็นที่รู้จักจากสถาปัตยกรรมที่ถือว่าเป็นหนึ่งในสองวิหารที่สูงห้าชั้นในหุบเขากาฐมาณฑุ ส่วนอีกที่คือกุมเภศวรในลลิตปุระ[9] งาตาโปละ และวิหารพระไภรวะ รวมถึงอาคารโบราณอื่น ๆ รวมกันเป็นจัตุรัสตมารหี (Tamārhi square) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของภักตปุระ ในปัจจุบันวิหารไม่ได้มีความสำคัญเชิงศาสนากับคนท้องถิ่นมากนัก แต่ยังคงสถานะความเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภักตปุระ ดังที่ปรากฏเป็นรูปในตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์การรัฐบาลท้องถิ่นของภักตปุระ งาตาโปละมีความสูง 33 เมตร ถือเป็นศาสนสถานที่สูงที่สุดของเมือง[5] นอกจากนี้จัตุรัสงาตาโปละยังเป็นจุดแบ่งเมืองภักตปุระออกเป็นสองส่วนหลัก คือ ฐาเน (Thané; แปลว่า ตอนบน) กับ โกนเห (Konhé; แปลว่า ตอนล่าง)[10]

ประตูทางเข้าวิหารจะเปิดแค่ปีละครั้งในเดือนกรกฎาคม เนื่องในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง โดยชาว อวาลา ของคนเนวาร์ จะนำธงสามเหลี่ยมขึ้นปักบนยอดวิหาร และนักบวช กรรมาจารยะ จะประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า[11] เทวรูปองค์ประธานภายในวิหารไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม และไม่เป็นที่ทราบกันว่าเทวรูปมีรูปลักษณะอย่างไร แต่เข้าใจกันว่าเป็นมาตาเทวีที่ทรงมีพลังตันตระแรงกล้า[5][9] และแม้แต่ในเอกสารโบราณที่บันทึกการก่อสร้างวิหารยังไม่ปรากฏการเขียนถึงเทวรูปที่ประดิษฐานภายใน[12]

อ้างอิง แก้

  1. Dhaubhadel 2021, p. 37.
  2. Vaidya 2004, p. 56.
  3. Dhaubhadel 2021, p. 36.
  4. 4.0 4.1 Vaidya 2004, p. 1.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Nyatapola, the tallest pagoda of Nepal". Bhaktapur.com. 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Dhaubhadel 2021, pp. 33–50.
  7. Dhaubhadel 2018, p. 43«pp»48.
  8. Dhaubhadel 2021, p. 40.
  9. 9.0 9.1 Arora, Vanicka (2021). "Five Stories of Nyatapola Temple" (PDF). Our World Heritage.
  10. Machamasi, Amit (2021). "Biska celebration begins in Bhaktpaur". Nepali TImes.
  11. Dhaubhadel 2021, p. 48.
  12. Vaidya 2004, p. 66.

บรรณานุกรม แก้