คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว

คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว[1][2] หรือ คุ้มเจดีย์กิ่ว[3] หรือ คุ้มเจดีย์งาม[4] หรือ วังท่าเจดีย์กิ่ว[5] เดิมตั้งอยู่บริเวณถนนวิชยานนท์ เป็นหนึ่งในคุ้มหลวงของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ภายหลังได้ตกเป็นมรดกของเจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ พระธิดา[6] ซึ่งน้อมเกล้าฯ ถวายให้เป็นที่ประทับของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เมื่อเสด็จมาประทับนครเชียงใหม่เป็นการถาวร[1][4] และยังเป็นที่ประดิษฐานพระศพเจ้าดารารัศมี เมื่อคราบำเพ็ญพระราชกุศล[5]

คุ้มหลวงในเจ้าแก้วนวรัฐ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2448

ที่เรียกว่า "คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว" ก็เพราะตัวคุ้มตั้งอยู่ใกล้กับเจดีย์กิ่ว (หรือ เจดีย์ขาว)[2] ประกอบกับตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง จึงมีชื่อดังกล่าว

ต่อมาคุ้มหลวงแห่งนี้ถูกขายต่อให้กับชู โอสถาพันธุ์ (เถ้าแก่โอ้ว) ในปี พ.ศ. 2488 ถูกรื้อถอนเพื่อพัฒนาเป็นตลาดนวรัฐ (หรือ กาดเจ็กโอ้ว) เมื่อปี พ.ศ. 2500 ส่วนหนึ่งก็เพราะคุ้มหลวงเองได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา[7] ปัจจุบันใช้เป็นสถานกงสุลอเมริกันประจำจังหวัดเชียงใหม่[2][3][7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "แม่เจ้าบัวเขียว". วัดศรีนวรัฐ (ทุ่งเสี้ยว). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-09. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "เจดีย์กิ่ว หรือ เจดีย์ขาว เมื่อปี พ.ศ. 2504". Thaibestnews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 องอาจ ตัณฑวณิช (15 ตุลาคม 2553). "ไม้ดอกไม้ประดับ". มติชนบท. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-28. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 บุญเสริม ศาสตราภัย. "เจดีย์กิ่ว อดีตคุ้มเจดีย์งาม" (PDF). มหาวิทยาลัยพายัพ. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "หมายกำหนดการที่ 2/2473 พระราชทานเพลิงพระศพ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ณ เมรุวัดสวนดอก นครเชียงใหม่ เมษายน พุทธศักราช 2477" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (0ง): 145. 15 เมษายน พ.ศ. 2477. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
  7. 7.0 7.1 สร้างตลาดต้นลำไย เมื่อ พ.ศ. 2503[ลิงก์เสีย]