คุยเรื่องแม่แบบ:ภาพถ่ายทางอากาศ

ภาพถ่ายทางอากาศ

ภาพถ่ายทางอากาศ หมายถึง ภาพของภูมิประเทศที่ได้จากการถ่ายรูปทางอากาศด้วยวิธีนำกล้องถ่ายรูปติดกับอากาศยานที่บินไปเหนือภูมิประเทศที่จะทำการถ่ายรูป แล้วทำการถ่ายรูปตามตำแหน่งทิศทางและความสูงของการบินที่ได้วางแผนไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้นนำฟิล์มไปล้างและอัดภาพ ก็จะได้รูปที่มีรายละเอียดภูมิประเทศในบริเวณที่ต้องการถ่ายปรากฏอยู่ ภาพถ่ายทางอากาศแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ภาพถ่ายแนวดิ่งและภาพถ่ายแนวเอียง

           การศึกษาข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ  สามารถทำได้ 2 วิธี คือ ศึกษาด้วยตาเปล่าและศึกษาด้วยกล้องสามมิติ
           ภาพถ่ายทางอากาศมีความแตกต่างจากรูปภาพปกติ คือ ภาพถ่ายทางอากาศจะทำการถ่ายภาพในแนวดิ่งและแนวเฉียงติดตั้งอยู่ที่ใต้ท้องเครื่องบิน มีรายละเอียดของภาพมากกว่าภาพถ่ายปกติเนื่องจากถ่ายบนที่สูง ส่วนภาพถ่ายปกติจะถ่ายในแนวระนาบหรือแนวนอนเก็บรายละเอียดภาพได้น้อย แต่ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อเปรียบเทียบกับแผนที่แล้วมีข้อจำกัด เช่น รายละเอียดบางประการถูกปิดบังเพราะอยู่ใต้รายละเอียดที่อยู่ในที่สูง รายละเอียดมีมากเกินไปบางแห่งปรากฏไม่ชัดเจนอาจทำให้การอ่านและตีความผิดพลาด เป็นต้น

การนำภาพถ่ายทางอากาศไปใช้ประโยชน์ หน่วยงานที่จัดทำ คือ กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม ภาพถ่ายทางอากาศนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาความเจริญของบ้านเมือง ดังนี้ 1. ทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับภาพถ่ายที่ถ่ายในระยะเวลาที่แตกต่างกัน เช่น การขยายตัวของชุมชนเมืองเข้าไปในพื้นที่การเกษตร เป็นต้น 2. การวางแผนพัฒนาการใช้ดิน โดยนำภาพถ่ายทางอากาศไปใช้เพื่อจัดทำแผนที่และจำแนกประเภทการใช้ที่ดินของประเทศ กำหนดโซนพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรม เขตเกษตรกรรม และเขตที่อยู่อาศัย เป็นต้น 3. การอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ ภาพถ่ายทางอากาศทำให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในพื้นที่ ต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป

กลับไปที่หน้า "ภาพถ่ายทางอากาศ"