คุยกับผู้ใช้:Ramasun131/ทดลองเขียน

ประวัติหน่วย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 (ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา) (รามสูร)

๑. ประวัติความเป็นมา :

        ในปี พ.ศ.๒๔๒๖ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พวกฮ่อ [1]ได้รุกรานเมืองหลวงพระบางจึงโปรดให้พระยาพิชัย (มิ่ง) [0]พระยาสุโขทัย (ครุฑ) ยกกำลังไปปราบ แล้วให้พระยาราชวรานุกูล

(เอก บุญยรัตนพันธ์) เป็นแม่ทัพ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๒๘ แต่ไม่สำเร็จ จึงได้ถอนกำลังจากทุ่งเชียงคำกลับมายังเมืองหนองคาย เนื่องจากขาดเสบียงอาหาร และแม่ทัพ คือ พระราชวรานุกูล ถูกฮ่อยิงบาดเจ็บ ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๔๒๘ รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารที่ได้รับการฝึกหัดตามแบบยุโรปขึ้นไปปราบฮ่อ โดยจัดเป็นสองกองทัพ กองทัพฝ่ายเหนือมี พันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อ ในแคว้นหัวพันห้าทั้งหกและ แคว้นสิบสองจุไท กองทัพฝ่ายใต้ มี พันเอก พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพ ยกไปปราบฮ่อในแคว้นเมืองพวน และได้ตั้งกองบัญชาการกองทัพอยู่ที่เมืองหนองคาย แล้วให้ พระอมรวิไสยสรเดช (โต บุนนาค) เป็นทัพหน้าเข้าตีค่ายฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๒๙ สามารถปราบฮ่อได้ราบคาบ จึงยกกำลังส่วนหนึ่งกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๐ และคงกำลังส่วนหนึ่งไว้ในบังคับบัญชาของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม และนี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วยทหาร ของกรมทหารราบที่ ๑๓

          ภายหลังการปราบปราบฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรียกว่า “กรณีพิพาท ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)” สยามต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง ๒ ประเทศ โดยห้ามตั้งกองทหาร และป้อมปราการ  อยู่ในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร จากฝั่งแม่น้ำโขง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๔ จึงได้จัดตั้งเป็น มณฑลลาวพวน โดยกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ดำรงตำแหน่งเป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน มีกองบัญชาการมณฑล ที่เมืองหนองคาย และต่อมา เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๓๖ ได้เคลื่อนย้ายมณฑลลาวพวนลงมาทางใต้ เข้าที่ตั้งบริเวณบ้านหมากแข้ง ริมหนองนาเกลือ (หนองประจักษ์) จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ ได้เปลี่ยนนามหน่วยจากมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลอุดร

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีกระแส พระบรมราชโองการให้จัดตั้ง เมืองอุดรธานี อยู่ในเขตการปกครองของมณฑลอุดร ขึ้นที่บ้านหมากแข้ง โดยให้ย้ายกำลังทหารจากหนองนาเกลือ มาตั้งริมหนองขอนกว้าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของค่ายประจักษ์ศิลปาคม ในปัจจุบัน กำลังทหารในขณะนั้นมี ๒ หน่วย คือ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ และกรมทหารราบที่ ๗ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยใหม่ เป็น กองทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐ และ เปลี่ยนชื่อกรมทหารราบที่ ๗ เป็นกรมทหารราบที่ ๒๐ โดยทั้ง ๒ หน่วย ขึ้นการบังคับบัญชากับ กองพลที่ ๑๐

ปี พ.ศ.๒๔๕๔ กองทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐ ย้ายไปตั้งที่ จ.อุบลราชธานี ส่วนกรมทหารราบที่ ๒๐ ย้ายไปตั้งที่ จ.ร้อยเอ็ด ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๖ จึงได้จัดตั้งกรมทหารม้าขึ้นที่ จ.อุดรธานี เรียกชื่อว่า กรมทหารม้าที่ ๑๐ ในปี พ.ศ.๒๔๕๙ จึงถูกยุบเลิก และเปลี่ยนเป็น กรมทหารราบในกองพลทหารบกที่ ๑๐ ปี พ.ศ.๒๔๖๐ กรมทหารราบ ในกองพลทหารบกที่ ๑๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น

กรมทหารพราน ในกองพลทหารบกที่ ๙ ครั้นถึง ปี พ.ศ.๒๔๖๒ กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๙ ก็เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๑๐ ต่อมา กรมนี้ได้ถูกยุบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐ เนื่องจากกองทัพบกได้ปรับปรุงกองทัพใหม่ แล้วตั้งเป็น กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑๕ ปี พ.ศ.๒๔๗๑ กรมทหารราบที่ ๑๕ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารราบที่ ๖ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ เปลี่ยนชื่อ กองพันที่ ๒ เป็น กองพันทหารราบที่ ๑๘ ปี พ.ศ.๒๔๗๗ กองพันทหารราบที่ ๑๘ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันทหารราบที่ ๒๒ (ร.๑๓ พัน.๑ ในปัจจุบัน) ปี พ.ศ.๒๔๗๙ (วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๙) กองพันทหารราบที่ ๒๒ เป็นหน่วยทหารอีสานหน่วยแรกที่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยฯ เป็นครั้งแรก และนับว่าเป็นหน่วยทหารที่ได้ทำการปราบฮ่อ จนประสบความสำเร็จให้กับทางราชการในขณะนั้น

     ปี พ.ศ.๒๔๘๙ กองพันทหารราบที่ ๒๒ เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ และจังหวัดทหารบกอุดรยกฐานะ จากจังหวัดทหารบก ชั้น ๓ เป็นจังหวัดทหารบก ชั้น ๑ โดยยังคงเป็นหน่วยในอัตราของมณฑลทหารบกที่ ๓
    ปี พ.ศ.๒๔๙๔ ได้กระทำพิธีเปิดชื่อค่ายซึ่งได้รับ พระราชทานนามว่า “ค่ายประจักษ์ศิลปาคม” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถวายเป็นเกียรติแก่ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยกรมทหารราบที่ ๑๓ และกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ มีที่ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งนี้ร่วมกัน

๒ การเปลี่ยนแปลงนามหน่วยและที่ตั้ง :

    ปี พ.ศ.๒๔๙๙ กองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ แปรสภาพเป็น “กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓” และได้มีชื่อย่อหน่วยว่า “ผส.๑๓ ร.พัน.๑” ปี พ.ศ.๒๕๒๒ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้แปรสภาพเป็น “กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓” ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๑/๒๒ ลง ๒๔ พ.ค.๒๒ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ มีคำสั่ง ทบ.ท้ายหนังสือ ยก.ทบ. ที่ กห.๐๓๑๗/๓๙๒ ลง ๒๒ ก.พ.๒๖ ให้หน่วย “กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓” เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งปกติไปเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ “ค่ายรามสูร” ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเดิมเป็นค่ายของทหารสหรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ในสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อสงครามสงบลงทหารสหรัฐ ได้ย้ายออกจากพื้นที่ไปจึงได้โอนพื้นที่ จำนวน ๘๐๐ ไร่ ๓ งาน ๒๓ ตารางวา พร้อมตาข่ายเหล็กล้อมรอบให้กับ กองทัพบกไทย ซึ่งกองทัพบกได้มอบให้ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ดูแลรับผิดชอบ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ (วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๐) ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานชื่อค่ายทหารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อค่าย กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ซึ่งมีที่ตั้งปกติถาวรอยู่ที่บ้านหนองสร้างคำ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ว่า “ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ (ลงชื่อ) พลเอก เชาวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๐ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ จึงได้รับพระราชทานชื่อค่ายใหม่เป็น “ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา” มาถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ.๒๕๔๒ (วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๒)  กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ จึงได้จัดทำพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของพระยาสุนทรธรรมธาดา (คำสิงห์ สิงห์ศิริ) เนื่องจากได้นำชื่อของ เจ้าคุณสุนทรมาสรรเสริญเป็นชื่อค่ายที่ตั้งของหน่วย กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ตลอดไป สำหรับ “ค่ายรามสูร” จึงเหลือเป็นเพียงความทรงจำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

๓ ธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยหน่วย ธงชัยเฉลิมพลผืนแรกของหน่วย ในปี พ.ศ.๒๔๕๗ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้น ประเทศไทยได้ส่งกองทหารบกรถยนต์ และกองบินทหารบก ไปช่วยฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป รัชการที่ ๖ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างธงชัยเฉลิมพลขึ้นใหม่ ๒ ธง เพื่อส่งไปพระราชทานแก่กองบินทหารบกเมื่อ ๒๔ มีนาคม ๒๔๖๑ และกองทหารบกรถยนต์ เมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๔๖๑ ในทวีปยุโรป ธงชัยเฉลิมพลนี้ได้รับเกียรติประทับตราครัวเดอแกร์ จากประเทศฝรั่งเศส และเมื่อกลับถึงพระนคร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ต่อมา พ.ศ.๒๔๗๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตรา“ พระราชบัญญัติธง พ.ศ.๒๔๗๙ ” ขึ้น พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดธงประจำกองทัพบกให้มีลักษณะ และสัณฐานอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ศูนย์กลางธงมีรูปอุณาโลมทหารบก ธงนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“ ธงชัยเฉลิมพล ” และกระทรวงกลาโหมได้ออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับรายละเอียดของลักษณะของธงประจำกองทหาร คือ ผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นมีริ้วสีอย่างเดียวกับธงไตรรงค์ แต่เพิ่มขลิบสีเหลืองรอบขอบธงทั้งสามด้าน กลางธงมีรูปอุณาโลม “ สละชีพเพื่อชาติ ” และมีนามหน่วยที่ได้รับธงอยู่ข้างใต้ รูปอุณาโลมนั้น มุมบนเบื้องซ้ายมีอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร “ อ.ป.ร. ” เบื้องบนอักษรนี้มีมหาพิชัยมงกุฎประกอบรัศมี ยอดคันธงมีพระพุทธรูปอยู่ในเรือนแก้ว มีแถวริ้วสีไตรรงค์ตามยาวพู่ที่ปลายคันธงติดกับฐานเรือนแก้วทั้งสองชายยาวห้อยลงมาถึงชายด้านล่างของผืนธง เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๙ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิธัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานธงชัยเฉลิมพลตามลักษณะที่กล่าวในพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงแก่กองพันทหารบกต่างๆ คือ กองพันที่ราบที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙ (รักษาวัง)๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๙, ๒๐, ๒๑, ๒๒, ๒๘, ๒๙, ๓๐, ๓๑, ๓๗, ๔๕ ปี พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช พระราชทานธง โดยการเปลี่ยนแปลงนามหน่วยที่อยู่กึ่งกลางผืนธงชัยเฉลิมพล จากนามหน่วย พัน.ร.๒๒ มาเป็น ผส.๑๓ ร. พัน.๑ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานธงชัยเฉลิมพล โดยการเปลี่ยนแปลงนามหน่วยที่อยู่กึ่งกลางผืนธงชัยเฉลิมพล จากนามหน่วย ผส.๑๓ ร.พัน.๑ มาเป็น ร.๑๓ พัน.๑ มาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานพระราชทานธงชัยเฉลิมพล พัน.ร.๒๒ (ร.๑๓ พัน.๑) เมื่อ ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๙ : ที่ ๕ / ๒๔๗๙ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง ๒๔๗๙ (๒๖, ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๙) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๖๔๘ – ๖๕๐ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๗๙ ธงชัยเฉลิมพลผืนปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศ ณ ขณะนั้น) ทรงรับปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ เสด็จ ฯ ทรงประกอบพิธีตรึงหมุดธง และพระราชทานธงชัย เฉลิมพล ให้แก่หน่วยทหาร จำนวน ๖๓ หน่วย (๖๖ ธง) ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ พระที่นั่งชุมสาย บริเวณสนามหน้าศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ๔ เกียรติประวัติการปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วย ๑ การป้องกันประเทศ :

    ๑.๑ การจัดกำลังป้องกันชายแดนด้านตะวันตก ประจำปี ๒๕๔๕ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ จัดกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ ๑ มว.ปล. เป็น หมวดระวังป้องกันให้กับ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ ๑๓ ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนด้านตะวันตก ในห้วง ต.ค.๔๔ – ก.ย.๔๕ ในพื้นที่รับผิดชอบของ ทภ.๓ ซึ่ง ฉก.ร.๑๓ รับผิดชอบ ๕ อำเภอชายแดนของ จ.ตาก คือ อ.อุ้มผาง ,อ.พบพระ ,อ.แม่สอด ,อ.แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง ความยาวพื้นที่รับผิดชอบ ๕๘๓ กิโลเมตร

๑.๒ การจัดกำลังป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา ประจำปี ๒๕๕๔ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลังพล ๑ กองร้อยทหารราบ และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ด้าน จ.ศรีสะเกษ ในห้วง ๗ ก.พ.๕๔ – ๓๐ ก.ย.๕๔ สนธิกำลังให้กับ พัน.ร.๘๐๓ (ร.๘ พัน.๓) ในนาม กองร้อยทหารราบที่ ๑๓๑๑ (ร.๑๓ พัน.๑) หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑ (ฉก.๑) โดยมี ร.อ.ชัยวุฒิ ไชยเสนา เป็น ผบ.ร้อย.ร. รับผิดชอบพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ๑.๓ การจัดกำลังป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา ประจำปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๖ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลัง ๑ กองร้อยทหารราบ และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ด้าน จ.ศรีสะเกษ ในห้วง ๑ ต.ค.๕๕ – ๓๐ ก.ย.๕๖ สนธิกำลังให้กับ พัน.ร.๑๒ (ร.๑๓ พัน.๒) ในนาม กองร้อยทหารราบที่ ๑๒๑ (ร.๑๓ พัน.๑) หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑ (ฉก.๑) โดยมี ร.อ.วิทยา สาริยา เป็น ผบ.ร้อย.ร. รับผิดชอบพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ๑.๔ การจัดกำลังป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา ประจำปี ๒๕๕๗ โดยกองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลัง ๑ พัน.ร. (พัน.ร.๑๒) หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑ (ฉก.๑) และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ด้าน จ.ศรีสะเกษ ในห้วง ๑ ต.ค.๕๖ – ๓๐ ก.ย.๕๗ โดยมี พ.ท.จักรพงษ์ โพธิ์นาแค เป็น ผบ.พัน.ร รับผิดชอบพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ๑.๕ การจัดกำลังป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา ประจำปี ๒๕๖๐ โดยกองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลัง ๑ พัน.ร. (พัน.ร.๑๒) หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑ (ฉก.๑) และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ด้าน จ.ศรีสะเกษ ในห้วง ๑ ต.ค.๕๙ – ๓๐ ก.ย.๖๐ โดยมี พ.ท.รัชกฤช แดงไธสง เป็น ผบ.พัน.ร รับผิดชอบพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ๒ การรักษาความมั่นคงภายใน :

  ๒.๑ การปราบปราม ผกค.ในพื้นที่จังหวัดนครพนม เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้รับมอบภารกิจให้ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ กิ่ง อ.ปลาปาก จ.นครพนม ภายใต้การนำของ พ.ท.ยรรยง หงส์ศรีทอง ผู้บังคับกองพัน และ พ.ต.วีระวิทย์ ปัญติภานุวัฒน์ รองผู้บังคับกองพัน ได้นำกำลังเคลื่อนย้ายจากที่ตั้งปกติ จ.อุดรธานี เข้าที่รวมพลชั่วคราวที่หน้า กิ่ง อ.ปลาปาก เมื่อ ๕ มกราคม ๒๕๑๐ ภารกิจในครั้งนี้ทำให้สามารถลดอิทธิพล และการเคลื่อนไหวของ ผกค.ลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ได้รับคำชมเชยจากกองทัพบกเป็นเกียรติประวัติของหน่วยสืบมา

๒.๒ การปราบปราม ผกค.ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ – ๒๕๑๖ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้จัดตั้งเป็น พัน.ร.ฉก.๑๓๑ เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งปกติไปเข้าที่รวมพลที่บ้านโคก อ.สุวรรณคูหา จ.อุดรธานี ภายใต้การนำของ พ.ต.สุบิน เป็นสุข รองผู้บังคับกองพัน ปฏิบัติภารกิจปราบปราม ผกค. และได้ริเริ่มนำไทยอาสาป้องกันชาติเข้าต่อสู้กับฝ่ายผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในเขต อ.น้ำโสม อ.สุวรรณคูหา และ อ.นากลาง จ.อุดรธานี ๒.๓ การปราบปราม ผกค.เขตงาน กจ.๗๗๗ อุดร เมื่อปี ๒๕๑๗ ต่อเนื่องกับปี พ.ศ.๒๕๑๘ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้จัดกำลังพลสมทบให้กับกรมผสมที่ ๑๓ (ในขณะนั้น) จัดตั้งเป็นหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร มีชื่อย่อว่า พตท.๑๗๑๘ มีที่ตั้งบริเวณสนามบินจังหวัดเลย โดยมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ ๓ จังหวัด คือ จ.หนองคาย ,จ.อุดรธานี และ จ.เลย ดำเนินการกวาดล้าง ผกค. เขตงาน กจ.อุดร ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บริเวณภูซางใหญ่ (รอยต่อระหว่าง อ.น้ำโสม กับ อ.สุวรรณคูหา จ.อุดรธานี ,อ.นาด้วง จ.เลย) มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๖๐๐ คน พตท.๑๗๑๘ ได้ดำเนินการต้อสู้ โดยใช้กำลังเข้ากวาดล้าง ผกค.ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๒๖ จากผลการปฏิบัติงานได้ใช้นโยบายทางการเมือง และการทหารควบคู่กันตลอดมาส่งผลให้ ผกค.ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวเข้ามอบตัวกับ เจ้าหน้าที่ ละทิ้งเขตงาน และอุดมการณ์ และเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของผู้เสียสละ จึงได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสรณ์สถานแห่งความสงบไว้ ณ บริเวณใกล้กับสนามบิน จังหวัดเลย จนถึงปัจจุบัน ๒.๔ การปราบปราม ผกค.ในพื้นที่เขตรอยต่อ ๓ จังหวัด (จ.อุดรธานี ,จ.เลย และ จ.หนองคาย) เมื่อปี ๒๕๑๙ – ๒๕๒๐ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้จัดตั้ง พัน.ร.ฉก.๑๓๑ เคลื่อนย้ายกำลังจากที่ตั้งปกติไปเข้าที่รวมพลที่ บ.น้ำทรง อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี ภายใต้การนำของ พ.ท.สุบิน เป็นสุข ผู้บังคับกองพันปฏิบัติภารกิจปราบปราม ผกค.ในเขตภูซางใหญ่ รอยต่อ ๓ จังหวัด คือ จ.อุดรธานี (อ.น้ำโสม,อ.สุวรรณคูหา,อ.นากลาง) จ.เลย (อ.นาด้วง,อ.ปากชม) และ อ.สังคม จ.หนองคาย

     ๒.๕ การจัดกำลังรักษาความมั่นคงภายใน สนับสนุน ทภ.๔ ในพื้นที่ ๓ จชต.ประจำปี ๒๕๔๘ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลังพล ๑ กองร้อยทหารราบ สนับสนุนให้กับพัน.ร.๑๓๒ (ร.๑๓ พัน.๒) โดยมี ร.ท.นินนาท  นิลภูผา เป็น ผบ.ร้อย.ร. ปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายใน สนับสนุน ทภ.๔ ในพื้นที่ ๓ จชต. ตั้งแต่ ๑๑ ธ.ค.๔๗ ถึง ๗ ต.ค.๔๘ รับผิดชอบพื้นที่ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส

๒.๖ การจัดกำลังรักษาความมั่นคงภายใน สนับสนุน ทภ.๔ ในพื้นที่ ๓ จชต.ประจำปี ๒๕๔๙ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ จัดกำลังพล ๑ พัน.ร. (พัน.ร.๑๓๑) โดยมี พ.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เป็น ผบ.พัน.ร. ในนาม หน่วยเฉพาะกิจที่ ๓๔ (ฉก.๓๔) ตั้งแต่ ๑ เม.ย.๔๙ ถึง ๓๐ มี.ค.๕๐ มีที่ตั้งที่สำนักงานประถมศึกษาอำเภอระแงะ (ในโรงเรียนระแงะ) ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ขึ้นควบคุมยุทธการ กับ ฉก.๓ รับผิดชอบพื้นที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ๓ การปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่การสงคราม :

   จัดกำลังปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในแคว้นดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน ห้วงตั้งแต่ ๔ ธ.ค.๕๓ – ๒๘ ต.ค.๕๔ ในนาม "กกล.ฉก.๙๘๐ไทย/ดาร์ฟูร์” นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงสุดของ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ที่ได้รับเกียรติให้เป็นหน่วยหลักในการจัดกำลังเป็นกองกำลังเฉพาะกิจ ๙๘๐ ไทย/ดาร์ฟูร์ ผลัดที่ ๑ ภายใต้การนำของ พ.ท.ณรงค์ สวนแก้ว ผบ.พัน/ผบ.กกล.ฯ ซึ่งเป็นตัวแทน ของทหารไทย ในการเข้าร่วมเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพในการปฏิบัติการผสม สหประชาชาติ – สหภาพแอฟริกาในแคว้นดาร์ฟูร์ สาธารณรัฐซูดาน (UNAMID) โดยเป็นกองกำลังผสมจากนอกภูมิภาคแอฟริกาเพียงหน่วยเดียวที่ได้รับความไว้วางใจจาก สหประชาชาติ และเป็นการจัดกำลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดไปปฏิบัติภารกิจไกลที่สุด และท้าทายมากที่สุด จากที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของกองทัพไทย โดยมีบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่ปลอดภัยและสนับสนุนองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในการส่งผ่านความช่วยเหลือ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ด้วยการลาดตระเวนด้วยความเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืน ครอบคลุมทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ ประมาณ ๑๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ ยังปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทของการเป็นทหารไทย เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพ และขีดความสามารถของกองทัพบกไทย ส่งผลดีต่อประเทศชาติในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่ยอมรับในสายตาของประชาคมโลก ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชนโดยได้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองให้เกิดประโยชน์ อย่างแท้จริงต่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของประชาชนจากการปฏิบัติงานทำให้ได้รับการยอมรับ และชื่นชมอย่างมาก จากหน่วยงานของรัฐบาล และประชาชน นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากกองกำลังสหประชาชาติ (UNAMID) ว่า “THAIBATT เป็นเสมือนสัญลักษณ์ทางทหาร ที่เป็นความภาคภูมิใจของ UNAMID” นับว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงเกียรติยศอย่างน่าภาคภูมิใจ มาสู่กองทัพไทย และประเทศชาติเป็นส่วนรวม

ประวัติหลวงปู่องค์ดำ (พระพุทธรูปประจำหน่วย) หลวงปู่องค์ดำเป็นชื่อพระพุทธรูปที่มีมาตั้งแต่สมัยเชียงรุ้ง ปรางมารวิชัย (เป็นสมัยศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศลาวโดยแท้จริง) นับว่าเป็นศิลปะคู่บ้านคู่เมืองของประเทศลาว ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร และขนาดความสูง ๑๓๓ เซนติเมตร พระพุทธรูปเป็นเนื้อทองเหลืองสัมฤทธิ์โดยแท้ (ถ้าขัดจะมีสีทอง) ข้อสังเกต เศียรเป็นปุ่มขนุน ยอดเป็นเกลียว รูปทรงพระพุทธรูป ไหล่จะเรียวลู่ ช่างที่หล่อเป็นผู้มีฝีมือ อยู่ในระดับต้นของประเทศลาว ผู้ที่จะหล่อพระพุทธรูปแบบนี้จะต้องเป็นข้าราชการระดับสูงของประเทศลาวในสมัยนั้น มีมุขอยู่ที่ท้อง จำนวน ๔ เม็ด มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ มีกลุ่มข้าราชการในประเทศลาว แขวงหลวงพระบางได้เดินทางข้ามมาในประเทศไทย (จ.เลย) เพื่อมาพบกับ พลตรี อาทิตย์ กำลังเอก ผบ.พตท.๑๗๑๘ (ณ ขณะนั้น) ที่ พตท.๑๗๑๘ บ้านนาดินดำ ตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย แต่ ผบ.พตท.๑๗๑๘ ติดราชการจึงได้มอบหมายให้ พันเอก จุลเลขา ชาญเลขา เสนาธิการ พตท.๑๗๑๘ เป็นผู้แทน ต้อนรับกลุ่มข้าราชการประเทศลาวดังกล่าวนั้น จากการเดินทางมาเยี่ยมได้นำพระพุทธรูปสมัยเชียงรุ้ง ปรางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร และขนาดความสูง ๑๓๓ เซนติเมตร ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศลาว นำมามอบให้ เพื่อจะได้ปกปักษ์รักษาพี่น้องชาวไทย-ลาว และทหาร-ตำรวจ ที่ปฏิบัติภารกิจปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่จังหวัดเลย, จังหวัดเพชรบูรณ์ (พื้นที่ พตท.๑๗๑๘) พตท.๑๗๑๘ จึงได้มอบเงินเป็นค่าตอบแทนให้กับกลุ่มข้าราชการเหล่านั้น เป็นจำนวนเงิน ๑ แสนบาท จึงได้นำพระพุทธรูปนั้นเป็นพระประธานประดิษฐานประจำที่ พตท.๑๗๑๘ เพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของกำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจที่ พตท.๑๗๑๘ ตั้งแต่นั้นตลอดมา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ พตท.๑๗๑๘ ได้ยุบกำลังกลายมาเป็น พตท.๒๑ ในขณะนั้น พันเอก จุลเลขา ชาญเลขา ได้มารับตำแหน่งใหม่เป็น ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑๓ ค่ายประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และได้นิมนต์ อันเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวนั้นมาด้วย นำมาไว้ ที่กองบังคับการกรมทหารราบที่ ๑๓ ค่ายประจักษ์ศิลปาคม และในปีเดียวกัน ได้มีคำสั่ง ผบ.ทบ. หนังสือ ยก.ทบ.ที่ กห ๐๓๑๗/๓๙๒ ลง ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ ให้หน่วย กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งปกติค่ายประจักษ์ศิลปาคม ตำบลหนองขอนกว้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ไปเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ " ค่ายรามสูร " ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้เคลื่อนย้ายกำลังพลอาวุธยุทโธปกรณ์ (ตามคำสั่งกองทัพบก) มายังค่ายรามสูร พลตรี บุญชัย ดิษกุล ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๓ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ได้มีดำริให้นำพระพุทธรูปหลวงปู่องค์ดำ ที่ตั้งอยู่กองบังคับการกรมทหารราบที่ ๑๓ ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ให้นิมนต์ย้ายที่ประดิษฐานมากับ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ในครั้งแรกประดิษฐานที่ กองบังคับการกองพัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ กำลังพลได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารพุทธสถาน บริเวณเส้นทางเข้าค่ายรามสูร พร้อมกับได้อันเชิญพระพุทธรูปหลวงปู่องค์ดำมาประดิษฐานที่พุทธสถาน กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ เมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ โดยมี พันเอก จุลเลขา ชาญเลขา ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑๓ เป็นประธานในพิธีฯ ขณะนั้น พันโท จิระ ผาสุก เป็น ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ และมี พันตรี อุโฆษ คบกลาง เป็น รองผู้บังคับกองพัน ทำให้พระพุทธรูปหลวงปู่องค์ดำเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวค่ายฯ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติหน่วย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 (ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา) (รามสูร) แก้

๑. ประวัติความเป็นมา :

        ในปี พ.ศ.๒๔๒๖ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พวกฮ่อ [1]ได้รุกรานเมืองหลวงพระบางจึงโปรดให้พระยาพิชัย (มิ่ง) [0]พระยาสุโขทัย (ครุฑ) ยกกำลังไปปราบ แล้วให้พระยาราชวรานุกูล

(เอก บุญยรัตนพันธ์) เป็นแม่ทัพ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๒๘ แต่ไม่สำเร็จ จึงได้ถอนกำลังจากทุ่งเชียงคำกลับมายังเมืองหนองคาย เนื่องจากขาดเสบียงอาหาร และแม่ทัพ คือ พระราชวรานุกูล ถูกฮ่อยิงบาดเจ็บ ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๔๒๘ รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารที่ได้รับการฝึกหัดตามแบบยุโรปขึ้นไปปราบฮ่อ โดยจัดเป็นสองกองทัพ กองทัพฝ่ายเหนือมี พันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อ ในแคว้นหัวพันห้าทั้งหกและ แคว้นสิบสองจุไท กองทัพฝ่ายใต้ มี พันเอก พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพ ยกไปปราบฮ่อในแคว้นเมืองพวน และได้ตั้งกองบัญชาการกองทัพอยู่ที่เมืองหนองคาย แล้วให้ พระอมรวิไสยสรเดช (โต บุนนาค) เป็นทัพหน้าเข้าตีค่ายฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๒๙ สามารถปราบฮ่อได้ราบคาบ จึงยกกำลังส่วนหนึ่งกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๐ และคงกำลังส่วนหนึ่งไว้ในบังคับบัญชาของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม และนี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วยทหาร ของกรมทหารราบที่ ๑๓

          ภายหลังการปราบปราบฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรียกว่า “กรณีพิพาท ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)” สยามต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง ๒ ประเทศ โดยห้ามตั้งกองทหาร และป้อมปราการ  อยู่ในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร จากฝั่งแม่น้ำโขง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๔ จึงได้จัดตั้งเป็น มณฑลลาวพวน โดยกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ดำรงตำแหน่งเป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน มีกองบัญชาการมณฑล ที่เมืองหนองคาย และต่อมา เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๓๖ ได้เคลื่อนย้ายมณฑลลาวพวนลงมาทางใต้ เข้าที่ตั้งบริเวณบ้านหมากแข้ง ริมหนองนาเกลือ (หนองประจักษ์) จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ ได้เปลี่ยนนามหน่วยจากมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลอุดร

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีกระแส พระบรมราชโองการให้จัดตั้ง เมืองอุดรธานี อยู่ในเขตการปกครองของมณฑลอุดร ขึ้นที่บ้านหมากแข้ง โดยให้ย้ายกำลังทหารจากหนองนาเกลือ มาตั้งริมหนองขอนกว้าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของค่ายประจักษ์ศิลปาคม ในปัจจุบัน กำลังทหารในขณะนั้นมี ๒ หน่วย คือ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ และกรมทหารราบที่ ๗ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยใหม่ เป็น กองทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐ และ เปลี่ยนชื่อกรมทหารราบที่ ๗ เป็นกรมทหารราบที่ ๒๐ โดยทั้ง ๒ หน่วย ขึ้นการบังคับบัญชากับ กองพลที่ ๑๐

ปี พ.ศ.๒๔๕๔ กองทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐ ย้ายไปตั้งที่ จ.อุบลราชธานี ส่วนกรมทหารราบที่ ๒๐ ย้ายไปตั้งที่ จ.ร้อยเอ็ด ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๖ จึงได้จัดตั้งกรมทหารม้าขึ้นที่ จ.อุดรธานี เรียกชื่อว่า กรมทหารม้าที่ ๑๐ ในปี พ.ศ.๒๔๕๙ จึงถูกยุบเลิก และเปลี่ยนเป็น กรมทหารราบในกองพลทหารบกที่ ๑๐ ปี พ.ศ.๒๔๖๐ กรมทหารราบ ในกองพลทหารบกที่ ๑๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น

กรมทหารพราน ในกองพลทหารบกที่ ๙ ครั้นถึง ปี พ.ศ.๒๔๖๒ กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๙ ก็เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๑๐ ต่อมา กรมนี้ได้ถูกยุบ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐ เนื่องจากกองทัพบกได้ปรับปรุงกองทัพใหม่ แล้วตั้งเป็น กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑๕ ปี พ.ศ.๒๔๗๑ กรมทหารราบที่ ๑๕ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารราบที่ ๖ ปี พ.ศ.๒๔๗๕ เปลี่ยนชื่อ กองพันที่ ๒ เป็น กองพันทหารราบที่ ๑๘ ปี พ.ศ.๒๔๗๗ กองพันทหารราบที่ ๑๘ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันทหารราบที่ ๒๒ (ร.๑๓ พัน.๑ ในปัจจุบัน) ปี พ.ศ.๒๔๗๙ (วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๙) กองพันทหารราบที่ ๒๒ เป็นหน่วยทหารอีสานหน่วยแรกที่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยฯ เป็นครั้งแรก และนับว่าเป็นหน่วยทหารที่ได้ทำการปราบฮ่อ จนประสบความสำเร็จให้กับทางราชการในขณะนั้น

     ปี พ.ศ.๒๔๘๙ กองพันทหารราบที่ ๒๒ เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ และจังหวัดทหารบกอุดรยกฐานะ จากจังหวัดทหารบก ชั้น ๓ เป็นจังหวัดทหารบก ชั้น ๑ โดยยังคงเป็นหน่วยในอัตราของมณฑลทหารบกที่ ๓
    ปี พ.ศ.๒๔๙๔ ได้กระทำพิธีเปิดชื่อค่ายซึ่งได้รับ พระราชทานนามว่า “ค่ายประจักษ์ศิลปาคม” เพื่อเป็นอนุสรณ์ถวายเป็นเกียรติแก่ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยกรมทหารราบที่ ๑๓ และกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ มีที่ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งนี้ร่วมกัน

๒ การเปลี่ยนแปลงนามหน่วยและที่ตั้ง :

    ปี พ.ศ.๒๔๙๙ กองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ แปรสภาพเป็น “กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓” และได้มีชื่อย่อหน่วยว่า “ผส.๑๓ ร.พัน.๑” ปี พ.ศ.๒๕๒๒ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้แปรสภาพเป็น “กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓” ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๑/๒๒ ลง ๒๔ พ.ค.๒๒ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ มีคำสั่ง ทบ.ท้ายหนังสือ ยก.ทบ. ที่ กห.๐๓๑๗/๓๙๒ ลง ๒๒ ก.พ.๒๖ ให้หน่วย “กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓” เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งปกติไปเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ “ค่ายรามสูร” ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเดิมเป็นค่ายของทหารสหรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ในสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อสงครามสงบลงทหารสหรัฐ ได้ย้ายออกจากพื้นที่ไปจึงได้โอนพื้นที่ จำนวน ๘๐๐ ไร่ ๓ งาน ๒๓ ตารางวา พร้อมตาข่ายเหล็กล้อมรอบให้กับ กองทัพบกไทย ซึ่งกองทัพบกได้มอบให้ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ดูแลรับผิดชอบ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ (วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๐) ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานชื่อค่ายทหารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อค่าย กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ซึ่งมีที่ตั้งปกติถาวรอยู่ที่บ้านหนองสร้างคำ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ว่า “ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ (ลงชื่อ) พลเอก เชาวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๐ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ จึงได้รับพระราชทานชื่อค่ายใหม่เป็น “ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา” มาถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ.๒๕๔๒ (วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๒)  กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ จึงได้จัดทำพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของพระยาสุนทรธรรมธาดา (คำสิงห์ สิงห์ศิริ) เนื่องจากได้นำชื่อของ เจ้าคุณสุนทรมาสรรเสริญเป็นชื่อค่ายที่ตั้งของหน่วย กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ตลอดไป สำหรับ “ค่ายรามสูร” จึงเหลือเป็นเพียงความทรงจำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

๓ ธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยหน่วย ธงชัยเฉลิมพลผืนแรกของหน่วย ในปี พ.ศ.๒๔๕๗ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้น ประเทศไทยได้ส่งกองทหารบกรถยนต์ และกองบินทหารบก ไปช่วยฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป รัชการที่ ๖ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างธงชัยเฉลิมพลขึ้นใหม่ ๒ ธง เพื่อส่งไปพระราชทานแก่กองบินทหารบกเมื่อ ๒๔ มีนาคม ๒๔๖๑ และกองทหารบกรถยนต์ เมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๔๖๑ ในทวีปยุโรป ธงชัยเฉลิมพลนี้ได้รับเกียรติประทับตราครัวเดอแกร์ จากประเทศฝรั่งเศส และเมื่อกลับถึงพระนคร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ต่อมา พ.ศ.๒๔๗๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตรา“ พระราชบัญญัติธง พ.ศ.๒๔๗๙ ” ขึ้น พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดธงประจำกองทัพบกให้มีลักษณะ และสัณฐานอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ศูนย์กลางธงมีรูปอุณาโลมทหารบก ธงนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“ ธงชัยเฉลิมพล ” และกระทรวงกลาโหมได้ออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับรายละเอียดของลักษณะของธงประจำกองทหาร คือ ผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นมีริ้วสีอย่างเดียวกับธงไตรรงค์ แต่เพิ่มขลิบสีเหลืองรอบขอบธงทั้งสามด้าน กลางธงมีรูปอุณาโลม “ สละชีพเพื่อชาติ ” และมีนามหน่วยที่ได้รับธงอยู่ข้างใต้ รูปอุณาโลมนั้น มุมบนเบื้องซ้ายมีอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร “ อ.ป.ร. ” เบื้องบนอักษรนี้มีมหาพิชัยมงกุฎประกอบรัศมี ยอดคันธงมีพระพุทธรูปอยู่ในเรือนแก้ว มีแถวริ้วสีไตรรงค์ตามยาวพู่ที่ปลายคันธงติดกับฐานเรือนแก้วทั้งสองชายยาวห้อยลงมาถึงชายด้านล่างของผืนธง เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๙ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิธัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานธงชัยเฉลิมพลตามลักษณะที่กล่าวในพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงแก่กองพันทหารบกต่างๆ คือ กองพันที่ราบที่ ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙ (รักษาวัง)๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๙, ๒๐, ๒๑, ๒๒, ๒๘, ๒๙, ๓๐, ๓๑, ๓๗, ๔๕ ปี พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช พระราชทานธง โดยการเปลี่ยนแปลงนามหน่วยที่อยู่กึ่งกลางผืนธงชัยเฉลิมพล จากนามหน่วย พัน.ร.๒๒ มาเป็น ผส.๑๓ ร. พัน.๑ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานธงชัยเฉลิมพล โดยการเปลี่ยนแปลงนามหน่วยที่อยู่กึ่งกลางผืนธงชัยเฉลิมพล จากนามหน่วย ผส.๑๓ ร.พัน.๑ มาเป็น ร.๑๓ พัน.๑ มาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานพระราชทานธงชัยเฉลิมพล พัน.ร.๒๒ (ร.๑๓ พัน.๑) เมื่อ ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๙ : ที่ ๕ / ๒๔๗๙ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง ๒๔๗๙ (๒๖, ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๙) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๖๔๘ – ๖๕๐ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๗๙ ธงชัยเฉลิมพลผืนปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศ ณ ขณะนั้น) ทรงรับปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ เสด็จ ฯ ทรงประกอบพิธีตรึงหมุดธง และพระราชทานธงชัย เฉลิมพล ให้แก่หน่วยทหาร จำนวน ๖๓ หน่วย (๖๖ ธง) ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ พระที่นั่งชุมสาย บริเวณสนามหน้าศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ๔ เกียรติประวัติการปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วย ๑ การป้องกันประเทศ :

    ๑.๑ การจัดกำลังป้องกันชายแดนด้านตะวันตก ประจำปี ๒๕๔๕ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ จัดกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ ๑ มว.ปล. เป็น หมวดระวังป้องกันให้กับ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ ๑๓ ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนด้านตะวันตก ในห้วง ต.ค.๔๔ – ก.ย.๔๕ ในพื้นที่รับผิดชอบของ ทภ.๓ ซึ่ง ฉก.ร.๑๓ รับผิดชอบ ๕ อำเภอชายแดนของ จ.ตาก คือ อ.อุ้มผาง ,อ.พบพระ ,อ.แม่สอด ,อ.แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง ความยาวพื้นที่รับผิดชอบ ๕๘๓ กิโลเมตร

๑.๒ การจัดกำลังป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา ประจำปี ๒๕๕๔ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลังพล ๑ กองร้อยทหารราบ และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ด้าน จ.ศรีสะเกษ ในห้วง ๗ ก.พ.๕๔ – ๓๐ ก.ย.๕๔ สนธิกำลังให้กับ พัน.ร.๘๐๓ (ร.๘ พัน.๓) ในนาม กองร้อยทหารราบที่ ๑๓๑๑ (ร.๑๓ พัน.๑) หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑ (ฉก.๑) โดยมี ร.อ.ชัยวุฒิ ไชยเสนา เป็น ผบ.ร้อย.ร. รับผิดชอบพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ๑.๓ การจัดกำลังป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา ประจำปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๖ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลัง ๑ กองร้อยทหารราบ และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ด้าน จ.ศรีสะเกษ ในห้วง ๑ ต.ค.๕๕ – ๓๐ ก.ย.๕๖ สนธิกำลังให้กับ พัน.ร.๑๒ (ร.๑๓ พัน.๒) ในนาม กองร้อยทหารราบที่ ๑๒๑ (ร.๑๓ พัน.๑) หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑ (ฉก.๑) โดยมี ร.อ.วิทยา สาริยา เป็น ผบ.ร้อย.ร. รับผิดชอบพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ๑.๔ การจัดกำลังป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา ประจำปี ๒๕๕๗ โดยกองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลัง ๑ พัน.ร. (พัน.ร.๑๒) หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑ (ฉก.๑) และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ด้าน จ.ศรีสะเกษ ในห้วง ๑ ต.ค.๕๖ – ๓๐ ก.ย.๕๗ โดยมี พ.ท.จักรพงษ์ โพธิ์นาแค เป็น ผบ.พัน.ร รับผิดชอบพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ๑.๕ การจัดกำลังป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา ประจำปี ๒๕๖๐ โดยกองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลัง ๑ พัน.ร. (พัน.ร.๑๒) หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑ (ฉก.๑) และอาวุธยุทโธปกรณ์ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ด้าน จ.ศรีสะเกษ ในห้วง ๑ ต.ค.๕๙ – ๓๐ ก.ย.๖๐ โดยมี พ.ท.รัชกฤช แดงไธสง เป็น ผบ.พัน.ร รับผิดชอบพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ๒ การรักษาความมั่นคงภายใน :

  ๒.๑ การปราบปราม ผกค.ในพื้นที่จังหวัดนครพนม เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้รับมอบภารกิจให้ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ กิ่ง อ.ปลาปาก จ.นครพนม ภายใต้การนำของ พ.ท.ยรรยง หงส์ศรีทอง ผู้บังคับกองพัน และ พ.ต.วีระวิทย์ ปัญติภานุวัฒน์ รองผู้บังคับกองพัน ได้นำกำลังเคลื่อนย้ายจากที่ตั้งปกติ จ.อุดรธานี เข้าที่รวมพลชั่วคราวที่หน้า กิ่ง อ.ปลาปาก เมื่อ ๕ มกราคม ๒๕๑๐ ภารกิจในครั้งนี้ทำให้สามารถลดอิทธิพล และการเคลื่อนไหวของ ผกค.ลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ได้รับคำชมเชยจากกองทัพบกเป็นเกียรติประวัติของหน่วยสืบมา

๒.๒ การปราบปราม ผกค.ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ – ๒๕๑๖ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้จัดตั้งเป็น พัน.ร.ฉก.๑๓๑ เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งปกติไปเข้าที่รวมพลที่บ้านโคก อ.สุวรรณคูหา จ.อุดรธานี ภายใต้การนำของ พ.ต.สุบิน เป็นสุข รองผู้บังคับกองพัน ปฏิบัติภารกิจปราบปราม ผกค. และได้ริเริ่มนำไทยอาสาป้องกันชาติเข้าต่อสู้กับฝ่ายผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในเขต อ.น้ำโสม อ.สุวรรณคูหา และ อ.นากลาง จ.อุดรธานี ๒.๓ การปราบปราม ผกค.เขตงาน กจ.๗๗๗ อุดร เมื่อปี ๒๕๑๗ ต่อเนื่องกับปี พ.ศ.๒๕๑๘ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้จัดกำลังพลสมทบให้กับกรมผสมที่ ๑๓ (ในขณะนั้น) จัดตั้งเป็นหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร มีชื่อย่อว่า พตท.๑๗๑๘ มีที่ตั้งบริเวณสนามบินจังหวัดเลย โดยมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ ๓ จังหวัด คือ จ.หนองคาย ,จ.อุดรธานี และ จ.เลย ดำเนินการกวาดล้าง ผกค. เขตงาน กจ.อุดร ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บริเวณภูซางใหญ่ (รอยต่อระหว่าง อ.น้ำโสม กับ อ.สุวรรณคูหา จ.อุดรธานี ,อ.นาด้วง จ.เลย) มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๖๐๐ คน พตท.๑๗๑๘ ได้ดำเนินการต้อสู้ โดยใช้กำลังเข้ากวาดล้าง ผกค.ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๒๖ จากผลการปฏิบัติงานได้ใช้นโยบายทางการเมือง และการทหารควบคู่กันตลอดมาส่งผลให้ ผกค.ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวเข้ามอบตัวกับ เจ้าหน้าที่ ละทิ้งเขตงาน และอุดมการณ์ และเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของผู้เสียสละ จึงได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสรณ์สถานแห่งความสงบไว้ ณ บริเวณใกล้กับสนามบิน จังหวัดเลย จนถึงปัจจุบัน ๒.๔ การปราบปราม ผกค.ในพื้นที่เขตรอยต่อ ๓ จังหวัด (จ.อุดรธานี ,จ.เลย และ จ.หนองคาย) เมื่อปี ๒๕๑๙ – ๒๕๒๐ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๑๓ ได้จัดตั้ง พัน.ร.ฉก.๑๓๑ เคลื่อนย้ายกำลังจากที่ตั้งปกติไปเข้าที่รวมพลที่ บ.น้ำทรง อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี ภายใต้การนำของ พ.ท.สุบิน เป็นสุข ผู้บังคับกองพันปฏิบัติภารกิจปราบปราม ผกค.ในเขตภูซางใหญ่ รอยต่อ ๓ จังหวัด คือ จ.อุดรธานี (อ.น้ำโสม,อ.สุวรรณคูหา,อ.นากลาง) จ.เลย (อ.นาด้วง,อ.ปากชม) และ อ.สังคม จ.หนองคาย

     ๒.๕ การจัดกำลังรักษาความมั่นคงภายใน สนับสนุน ทภ.๔ ในพื้นที่ ๓ จชต.ประจำปี ๒๕๔๘ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้จัดกำลังพล ๑ กองร้อยทหารราบ สนับสนุนให้กับพัน.ร.๑๓๒ (ร.๑๓ พัน.๒) โดยมี ร.ท.นินนาท  นิลภูผา เป็น ผบ.ร้อย.ร. ปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายใน สนับสนุน ทภ.๔ ในพื้นที่ ๓ จชต. ตั้งแต่ ๑๑ ธ.ค.๔๗ ถึง ๗ ต.ค.๔๘ รับผิดชอบพื้นที่ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส

๒.๖ การจัดกำลังรักษาความมั่นคงภายใน สนับสนุน ทภ.๔ ในพื้นที่ ๓ จชต.ประจำปี ๒๕๔๙ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ จัดกำลังพล ๑ พัน.ร. (พัน.ร.๑๓๑) โดยมี พ.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เป็น ผบ.พัน.ร. ในนาม หน่วยเฉพาะกิจที่ ๓๔ (ฉก.๓๔) ตั้งแต่ ๑ เม.ย.๔๙ ถึง ๓๐ มี.ค.๕๐ มีที่ตั้งที่สำนักงานประถมศึกษาอำเภอระแงะ (ในโรงเรียนระแงะ) ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ขึ้นควบคุมยุทธการ กับ ฉก.๓ รับผิดชอบพื้นที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ๓ การปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่การสงคราม :

   จัดกำลังปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในแคว้นดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน ห้วงตั้งแต่ ๔ ธ.ค.๕๓ – ๒๘ ต.ค.๕๔ ในนาม "กกล.ฉก.๙๘๐ไทย/ดาร์ฟูร์” นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงสุดของ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ที่ได้รับเกียรติให้เป็นหน่วยหลักในการจัดกำลังเป็นกองกำลังเฉพาะกิจ ๙๘๐ ไทย/ดาร์ฟูร์ ผลัดที่ ๑ ภายใต้การนำของ พ.ท.ณรงค์ สวนแก้ว ผบ.พัน/ผบ.กกล.ฯ ซึ่งเป็นตัวแทน ของทหารไทย ในการเข้าร่วมเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพในการปฏิบัติการผสม สหประชาชาติ – สหภาพแอฟริกาในแคว้นดาร์ฟูร์ สาธารณรัฐซูดาน (UNAMID) โดยเป็นกองกำลังผสมจากนอกภูมิภาคแอฟริกาเพียงหน่วยเดียวที่ได้รับความไว้วางใจจาก สหประชาชาติ และเป็นการจัดกำลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดไปปฏิบัติภารกิจไกลที่สุด และท้าทายมากที่สุด จากที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของกองทัพไทย โดยมีบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่ปลอดภัยและสนับสนุนองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในการส่งผ่านความช่วยเหลือ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ด้วยการลาดตระเวนด้วยความเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืน ครอบคลุมทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ ประมาณ ๑๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ ยังปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทของการเป็นทหารไทย เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพ และขีดความสามารถของกองทัพบกไทย ส่งผลดีต่อประเทศชาติในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่ยอมรับในสายตาของประชาคมโลก ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชนโดยได้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองให้เกิดประโยชน์ อย่างแท้จริงต่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของประชาชนจากการปฏิบัติงานทำให้ได้รับการยอมรับ และชื่นชมอย่างมาก จากหน่วยงานของรัฐบาล และประชาชน นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากกองกำลังสหประชาชาติ (UNAMID) ว่า “THAIBATT เป็นเสมือนสัญลักษณ์ทางทหาร ที่เป็นความภาคภูมิใจของ UNAMID” นับว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงเกียรติยศอย่างน่าภาคภูมิใจ มาสู่กองทัพไทย และประเทศชาติเป็นส่วนรวม

ประวัติหลวงปู่องค์ดำ (พระพุทธรูปประจำหน่วย) หลวงปู่องค์ดำเป็นชื่อพระพุทธรูปที่มีมาตั้งแต่สมัยเชียงรุ้ง ปรางมารวิชัย (เป็นสมัยศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศลาวโดยแท้จริง) นับว่าเป็นศิลปะคู่บ้านคู่เมืองของประเทศลาว ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร และขนาดความสูง ๑๓๓ เซนติเมตร พระพุทธรูปเป็นเนื้อทองเหลืองสัมฤทธิ์โดยแท้ (ถ้าขัดจะมีสีทอง) ข้อสังเกต เศียรเป็นปุ่มขนุน ยอดเป็นเกลียว รูปทรงพระพุทธรูป ไหล่จะเรียวลู่ ช่างที่หล่อเป็นผู้มีฝีมือ อยู่ในระดับต้นของประเทศลาว ผู้ที่จะหล่อพระพุทธรูปแบบนี้จะต้องเป็นข้าราชการระดับสูงของประเทศลาวในสมัยนั้น มีมุขอยู่ที่ท้อง จำนวน ๔ เม็ด มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ มีกลุ่มข้าราชการในประเทศลาว แขวงหลวงพระบางได้เดินทางข้ามมาในประเทศไทย (จ.เลย) เพื่อมาพบกับ พลตรี อาทิตย์ กำลังเอก ผบ.พตท.๑๗๑๘ (ณ ขณะนั้น) ที่ พตท.๑๗๑๘ บ้านนาดินดำ ตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย แต่ ผบ.พตท.๑๗๑๘ ติดราชการจึงได้มอบหมายให้ พันเอก จุลเลขา ชาญเลขา เสนาธิการ พตท.๑๗๑๘ เป็นผู้แทน ต้อนรับกลุ่มข้าราชการประเทศลาวดังกล่าวนั้น จากการเดินทางมาเยี่ยมได้นำพระพุทธรูปสมัยเชียงรุ้ง ปรางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร และขนาดความสูง ๑๓๓ เซนติเมตร ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศลาว นำมามอบให้ เพื่อจะได้ปกปักษ์รักษาพี่น้องชาวไทย-ลาว และทหาร-ตำรวจ ที่ปฏิบัติภารกิจปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่จังหวัดเลย, จังหวัดเพชรบูรณ์ (พื้นที่ พตท.๑๗๑๘) พตท.๑๗๑๘ จึงได้มอบเงินเป็นค่าตอบแทนให้กับกลุ่มข้าราชการเหล่านั้น เป็นจำนวนเงิน ๑ แสนบาท จึงได้นำพระพุทธรูปนั้นเป็นพระประธานประดิษฐานประจำที่ พตท.๑๗๑๘ เพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของกำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจที่ พตท.๑๗๑๘ ตั้งแต่นั้นตลอดมา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ พตท.๑๗๑๘ ได้ยุบกำลังกลายมาเป็น พตท.๒๑ ในขณะนั้น พันเอก จุลเลขา ชาญเลขา ได้มารับตำแหน่งใหม่เป็น ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑๓ ค่ายประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และได้นิมนต์ อันเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวนั้นมาด้วย นำมาไว้ ที่กองบังคับการกรมทหารราบที่ ๑๓ ค่ายประจักษ์ศิลปาคม และในปีเดียวกัน ได้มีคำสั่ง ผบ.ทบ. หนังสือ ยก.ทบ.ที่ กห ๐๓๑๗/๓๙๒ ลง ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ ให้หน่วย กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งปกติค่ายประจักษ์ศิลปาคม ตำบลหนองขอนกว้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ไปเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ " ค่ายรามสูร " ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ได้เคลื่อนย้ายกำลังพลอาวุธยุทโธปกรณ์ (ตามคำสั่งกองทัพบก) มายังค่ายรามสูร พลตรี บุญชัย ดิษกุล ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๓ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ได้มีดำริให้นำพระพุทธรูปหลวงปู่องค์ดำ ที่ตั้งอยู่กองบังคับการกรมทหารราบที่ ๑๓ ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ให้นิมนต์ย้ายที่ประดิษฐานมากับ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ ในครั้งแรกประดิษฐานที่ กองบังคับการกองพัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ กำลังพลได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารพุทธสถาน บริเวณเส้นทางเข้าค่ายรามสูร พร้อมกับได้อันเชิญพระพุทธรูปหลวงปู่องค์ดำมาประดิษฐานที่พุทธสถาน กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ เมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ โดยมี พันเอก จุลเลขา ชาญเลขา ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑๓ เป็นประธานในพิธีฯ ขณะนั้น พันโท จิระ ผาสุก เป็น ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๓ และมี พันตรี อุโฆษ คบกลาง เป็น รองผู้บังคับกองพัน ทำให้พระพุทธรูปหลวงปู่องค์ดำเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวค่ายฯ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กลับไปที่หน้าผู้ใช้ของ "Ramasun131/ทดลองเขียน"