คุยกับผู้ใช้:Natkewalin Phensiri/กระบะทราย

ไฟล์:Giftnatkewalingift.jpg
ชื่อ : นางสาวณัฐเกวลินต์ เพ็ญศิริ
ชั้นปี : 3/4B
สาขา : ระบบสารสนเทศ
สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
อาชีพด้านคอมพิวเตอร์ที่สนใจ : IT Support เพราะอยากแก้ปัญหาทั่วไปได้ทุกอย่าง โดยเน้นด้าน PC Hardware

สถาปัตยกรรมเครือข่าย

แก้

สถาปัตยกรรมเครือข่ายรูปแบบ OSI ในปี ค.ศ. 1977 องค์กร ISO (international Oraganization for Standard)ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการศึกษาจัดรูปแบบมาตราฐาน และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่าย และใน ปี ค.ศ. 1983 องค์กร ISO ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตราฐานในชื่อของ "รูปแบบ OSI " (Open System Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตราฐานในการเชื่อมต่อระบบ คอมพิวเตอร อักษร์ "O" หรือ "Open" ก็ หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตราฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหา สู่ระหว่างกันได้ จุดมุ่งหมายของการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วย โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังต่อไปนี้

       1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นเลเยอร์ ๆ มากเกินไป
	2. แต่ละเลเยอร์จะต้องมีการทำงานแตกต่างกันทั้งขบวนการและเทคโนโลยี
	3. จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน
	4. เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จแล้ว
	5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ แก่เลเยอร์ เผื่อว่าในอนาคตถ้ามีการออกแบบเลเยอร์ใหม่ 
	6. กำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
	7. ให้มีการยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
	8. สำหรับเลเยอร์ของแต่ละเลเยอร์ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กล่าวมาใน 7 ข้อแรก
Layer Name Data Unit Device Group
7 Application Data Gateway User Support
6 Presentation Data - User Support
5 Session Data - User Support
4 Transport Segment - Transport Support
3 Network Packet Router Network Support
2 Data Link Frame Switch Network Support
1 Physical Bit Hub Network Support

หน้าที่การทำงานของเลเยอร์แต่ละชั้นในสถาปัตยกรรม OSI

	1. เลเยอร์ชั้น Physical เป็นชั้นล่างที่สุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับ เลเยอร์ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน(pin) แต่ละพินทำหน้า ที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้
	2. เลเยอร์ชั้น Data Link จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับ ข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับ สัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมุลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่ง ของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครืองผู้รับจะรับข้อ มูลได้
	3. เลเยอร์ Network เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะ ต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่ ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็น แพ็กเกจ ๆ ในชั้นนี้
	4. เลเยอร์ Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า เลเยอร์ End-to-End ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการ สื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น Transpot จะ ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นการกำ หนดตำแหน่งของข้อมูล(address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับ ข้อมูลนั้น
	5. เลเยอร์ Session ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่ง ของจุดหมายปลายทางที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการต่อไป ในเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ ชั้นเดียวกัน
	6. เลเยอร์ Presentation ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และแปลงรหัส หรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิด ขึ้นกันผุ้ใช้งานในระบบ
	7. เลเยอร์ Application เป็นเลเยอรชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอรชั้นนี้ สามารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะ มีเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น

ส่วนประกอบของเครือข่าย

แก้
    ส่วนประกอบของเครื่อข่ายจะประกอบด้วย 
  • Computer
  • Network Interface
  • Operating System
  • Network Device
ไฟล์:Computer PC.jpg
ไฟล์:Network system.jpg
ไฟล์:Operating system OS.jpg
ไฟล์:อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเครื่อข่าย.jpg





































สายสัญญาณ

แก้
              สายโคแอ็กซ์เชียล(coaxial cable) เป็นสายสัญญาณที่ใช้เป็นสื่อกลางการเดินทางของข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(computer network) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้และเป็นที่นิยมมากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายสัญญาณอีกประเภทหนึ่ง คือ สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสง ส่วนสายโคแอ็กซ์เชียลถือว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ใช้สายแบบนี้อยู่
ไฟล์:Coaxial Cable.jpg


การเข้าหัวแบบสายตรง 1.ขาว-ส้ม 2.ส้ม 3.ขาว-เขียว 4.น้ำเงิน 5.ขาว-น้ำเงิน 6.เขียว 7.ขาว-น้ำตาล 8.น้ำตาล
การเข้าหัวแบบสาายไขว้ 1ขาว-เขียว 2เขียว 3ขาว-ส้ม 4น้ำเงิน 5ขาว-น้ำเงิน 6ส้ม 7ขาว-น้ำตาล 8น้ำตาล


               สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อยเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง 
ไฟล์:สายคู่บิดเกลียว twisted pair.jpg


                สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก สายใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา สายใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก สายใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ สายใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Single-mode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM) 
ไฟล์:Fiber Optic Cable.jpg


รูปแบบการเชื่อมต่อเครื่อข่าย

แก้
                 เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer

เครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้ แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง และการดูแลไม่ยุ่งยากนัก แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีมากกว่า 10 เครื่องขึ้นไปควรจะใช้เครือข่ายแบบอื่นดีกว่า

ไฟล์:เครื่อข่ายแบบ peer-to-peer.jpg


                เครือข่ายแบบ Client/Server

เป็นรูปแบบหนึ่งของเครือข่ายแบบ server-based โดยจะมีคอมพิวเตอร์หลักเครื่องหนึ่งเป็น เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะไม่ได้ทำหน้าที่ประมวลผลทั้งหมดให้เครื่องลูกข่าย หรือไคลเอนต์ (client) เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่เก็บข้อมูลระยะไกล (remote disk) และประมวลผลบางอย่างให้กับไคลเอนต์เท่านั้น เช่น ประมวลผลคำสั่งในการดึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล (database server) เป็นต้น

ไฟล์:เครือข่ายแบบ ClientServer.jpg


LAN Technology

แก้
               Bus Topology

แบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที

ไฟล์:รูปแบบ Bus Topology.jpg


               Ring Topology

แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ

ไฟล์:การเชื่อมต่อแบวงแหวนRing Topology.png


                Star Topology

แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า

ไฟล์:รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ star Topology.jpg


                Mesh Topology

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน

ไฟล์:โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช.jpg


WAN Technology

แก้
                 Circuit switching 

เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

                  Packet switching      

เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง
หลักการทำงาน

Circuit switching

1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อนโดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection) 2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอด และไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง 3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง 4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย 5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay) 6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

Packet switching

1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป 2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง 3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE 4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้ 5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

ไฟล์:Packet-switching-vs.gif


IP Address

แก้
                  IP Address 

ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร

                 Subnet mask 

เป็น Parameter อีกตัวหนึ่งที่ต้องระบุควบคู่กับหมายเลข IP Address หน้าทีของ Subnet mask ก้คืิอ การช่วยในการแยกแยะว่าส่วนใดภายในหมายเลข IP Address เป็น Network Address และส่วนใดเป็นหมายเลข Host Address ดังนั้น ท่านจะสังเกตได้ว่า เมื่อเราระบุ IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์์ เราจำเป็นต้องระบุ Subnet mask ลงไปด้วยทุกครั้ง

                  Private IP

คอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย LAN เพื่อใช้งานตามบ้านหรือบริษัท ต่างๆ จะถูกกำหนดหมายเลข IP โดย ผู้ดูแลระบบนั้นๆ(ADMIN) เช่นหากต้องการนำคอมพิวเตอร์ 5 เครื่องมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเล็กๆ เราก้ต้องกำหนดหมายเลข IP ให้คอมพิวเตอร์ทั้ง5เครื่อง โดยแต่ละเครื่องต้องได้รับหมายเลขไอพีไม่ซ้ำกัน ซึ่งการกำหนดหมายเลข IP ในแต่ละเครื่องในเครือข่ายเรา หมายเลข IP นี้จะถูกเรียกว่า Private IP หรืออย่างง่ายๆว่า IP ปลอม

                 Public IP

ทุกครั้งที่เราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เครื่องของเราจะถูกกำหนดหมายเลข IP Address จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เราใช้งานอยู่ โดยแต่ละครั้งที่เชื่อมต่อจะได้หมายเลข IP ไม่ซ้ำกัน เช่นเมื่อเชื่อมต่อครั้งแรกอาจได้หมายเลข IP เป็น 203.113.40.130 แต่เมื่อสายหลุด แล้วทำการเชื่อมต่อใหม่จะได้รับหมายเลข IP เป็น 203.113.50.159 ซึ่งหมายเลข IP ที่ได้รับจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จะถุกเรียกว่าเป็น Public IP หรือเรียกง่ายๆ ว่า IP จริง

Routing Protocol

แก้
            หลักการทำงานของ Router

Router หน้าที่หลักคือ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมที่ทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่ายหน้าที่ของเราเตอร์คือ จัดแบ่งเครือข่ายและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อนำส่งแพ็กเก็ต เราเตอร์จะป้องกันการบรอดคาสต์แพ็กเก็ตจากเครือข่ายหนึ่งไม่ให้ข้ามมายังอีกเครือข่ายหนึ่ง เมื่อเราเตอร์รับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางแล้ว จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุดก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WANได้

            เร้าติ้งเทเบิ้ล Routing Table

จะประกอบด้วยเรคอร์ดหลายๆเรคอร์ดที่มีฟิลด์สำคัญต่างๆ เรคอร์ดนี้จะคล้ายกับเรคอร์ดในฐานข้อมูล แต่ในเชิงวิชาเน็ตเวิร์กจะเรียกเรคอร์ดนี้ว่า เร้าติ้งเอ็นทรี (Routing entry) ภายในตารางเร้าติ้งเทเบิลจะประกอบด้วย เร้าติ้งเอ็นทรีอยู่หลายบรรทัดเรียงต่อกัน ซึ่งมีฟิลด์สำคัญต่างๆดังนี้ 1.แหล่งที่มาของเร้าติ้งเอ็นทรี ว่าเรียนรู้มาจากเร้าติ้งโปรโคคอลใด หรือมาจากการเพิ่มเร้าติ้งโดยผู้ดูแลระบบ 2.เป้าหมายปลายทาง ซึ่งเป็นได้ทั้งเน็ตเวิร์กแอดเดรสในคลาสหลักและในคลาสย่อย เช่น เน็ตเวิร์กแอดเดรส 10.0.0.0 ซึ่งป็นเน็ตเวิร์กแบบเต็มคลาส A และ 10.10.1.0/24 ซึ่งเป็นซับเน็ตแอดเดรสที่ซอยย่อยมาจากเน็ตเวิร์กคลาส A 3.Administrative Distance (AD) เป็นตัวเลขบอกถึงลำดับความสำคัญหรือความน่าเชื่อถือของเร้าติ้งเอ็นทรีนี้ (trustworthiness) 4.ค่าเมตริกหรือเรียกอีกอย่างว่าค่า Cost ของเส้นทางนี้ ซึ่งแต่ละเร้าติ้งโปรโตคอลจะมีหลักการกำหนดค่า Cost แตกต่างกัน 5.แอดเดรสของเร้าเตอร์ตัวถัดไป (Next Hop Router) เพื่อส่งแพ็กเก็ตไปยังซับเน็ตแอดเดรสปลายทาง 6.อินเตอร์เฟซของเร้าเตอร์ที่ใช้เป็นทางออกไปยังเร้าเตอร์ตัวถัดไป หรือไปยังซับเน็ตแอดเดรสปลายทาง เรียกว่า Outgoing Interface 7.เร้าติ้งนี้ถูกสร้างมานานแค่ไหน

             Static Routing Protocol

การกำหนดค่าแบบค่งที่เข้าไปในตัวเร้าเตอร์ เพื่อบอกให้เร้าเตอร์ทราบว่าหากต้องการจะส่งแพ็กเก็ตไปยังซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจะต้องส่งไปหาเร้าเตอร์ตัวถัดไป(Next Hop Address) ตัวไหน หรือจะให้เร้าเตอร์ส่งออกไปทางอินเตอร์เฟซใด ซึ่งวิธีการนี้หากมีเร้าเตอร์จำนวนมากและมีซับเน็ตแอดเดรสต่างๆจำนวนมาก ผู้ดูแลเน็ตเวิร์กก็จะต้องใช้เวลามากในการค่อยๆเพิ่ม Static Route เข้าไปในเร้าติ้งเทเบิลของเร้าเตอร์ทุกตัวด้วยตัวเอง แต่วิธีการนี้ค่า AD หรือค่าลำดับความสำคัญสูงกว่าแบบ ไดนามิกเร้าติ้ง คือ จะพิจารณาสแตติกเร้าก่อนพิจารณาเส้นทางจากไดนามิกเร้า

              Dynamic Routing Protocol

เป็นการสั่งให้รันเร้าติ้งโปรโตคอลขึ้นมา จะช่วยลดภาระของผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กและทำให้การจัดการเน็ตเวิร์กเป็นไปได้อย่างง่ายดาย เมื่อรันเร้าติ้งโปรโตคอลขึ้นบนเร้าเตอร์แล้วทำกำหนดการเร้าติ้งโปรโตคอลไปยังอินเตอร์เฟซใดของเร้าเตอร์บ้าง จากนั้นเร้าเตอร์แต่ละตัวจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำให้ฐานความรู้ในเร้าติ้งเทเบิลมีความสมบูรณ์ และที่สำคัญเร้าติ้งโปรโตคอลยังสามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงต่างๆในเน็ตเวิร์กโทโพโลยี และปรับปรุงเร้าติ้งเทเบิลให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเน็ตเวิร์กโทโพโลยีโดยอัติโนมัติ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น เร้าเตอร์เพื่อนบ้านดาวน์ลง อินเตอร์เฟซของเร้าเตอร์ดาวน์ หรือ WAN Link ในเน็ตเวร์กมีปัญหา ซึ่งเป็นความสามารถที่หาไม่ได้ในการใช้งานสแตติกเร้าต์ การปรับตัวเองอย่างทันท่วงทีนี้จึงเป็นที่มาของ ไดนามิกเร้าต์

อ้างอิงแหล่งข้อมูล

แก้

http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/datacom/CAI/part3-2.htm http://551178bkcn.blogspot.com/2012/09/network.html http://guru.sanook.com/2291/ http://www.krumontree.com/ebook4/files/pg7_9.htm http://www.ncsnetwork.com/tips_details.php?xid=12 http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_nettype10.htm http://network34.blogspot.com/2012/07/lan-topology.html https://chansuk54.wordpress.com/mesh-topology/ http://nooplemonic.exteen.com/20090706/circuit-switching-packet-switching http://www.mindphp.com/ http://www.rightsoftcorp.com/?name=news&file=readnews&id=14 http://29052534.blogspot.com/2013/05/public-ip-private-ip.html https://sites.google.com/site/ten2kread6/router-wireless-access-ponti-2/hladkarthangankhxngrouter https://www.gotoknow.org/posts/306794 https://www.gotoknow.org/posts/306793

กลับไปที่หน้าผู้ใช้ของ "Natkewalin Phensiri/กระบะทราย"