คุยกับผู้ใช้:Inx group3/กระบะทราย

Online Consumerization : Social Networks / 3G /Broadband

    การเปิดให้บริการ  3G  อย่างเต็มรูปแบบของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยจะทำให้คนไทยใช้บริการออนไลน์มากขึ้น สามาเข้าถึงบริการออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งจากข้อมูลของ TrueHits  แสดงให้เห็นว่าในป้จจุบันเรามีประชากรอินเตอร์เน็ตในประเทศจำนวน 23.86 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราส่วน 35.8% และเรายังมีการเชื่อมต่อ   Broadband  ตามบ้านถึง 4.55  ล้านหลัง หรือคิดเป็น 22.7%  ของจำนวนที่อยู่อาศัย นอกจากนี้คนไทยยังใช้งาน Social Networks ค่อนข้างสูง โดยได้เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารแบบเดิมมาสู่สังคมออนไลน์มากขึ้น โดยข้อมูลจาก ZocialRank ระบุว่าเรามีจำนวนผู้ใช้ Facebook 18.5 ล้านคน Line  18 ล้านคน และ Twitter 2 ล้านคน นอกจากนี้เรายังมีวิดีโอบน  YouTube  ในประเทศถึง 5.3 ล้านคลิป
         คนไทยกำลังเข้าสู่ยุคที่มีสี่หน้าจอต่อหนึ่งผู้ใช้หมายถึงหนึ่งคนใช้อุปกรณ์หลายอย่าง เราอาจใช้อุปกรณ์อย่างมือถือ คอมพิวเตอร์ ทีวี หรือแทปแล็ตที่ทำงานคล้ายๆกัน และ  sync   ข้อมูลต่างๆเข้าหากัน โดยเราอาจดูทีวีหรือหนังผ่านมือถือหรือแทปเล็ต และก็เป็นไปได้ที่เราอาจเล่นอินเตอร์เน็ตทางจอทีวี ข้อมูลจาก We are social  ระบุว่าคนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลา 16.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการเล่นอินเตอร์เน็ตขณะที่เราใช้เวลาในการดูทีวีโดยเฉลี่ยเพียง 10.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นอกจากนี้จากการสำรวจของ Nielsen Thailand ระบุว่า คนไทยเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์มือถือถึง 49% ขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์เพียง 36%

Social Network แก้

Social Network คืออะไร

โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ การที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว) การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้ เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้ เช่น แสดงความคิดเห็น (Comment) กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ


โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การจัดประเภทของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) นั้นสามารถแยกได้ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน


โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท

1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้ โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ ติดตาม หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น

2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter

3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์ นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้


โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น 4 ประเภท

1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network)

   เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น

2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network)

   เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน  ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้  มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  เว็บรวมนักเขียนนิยาย  เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ  เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ  ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น

3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network)

   เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน  คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น

4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online)

    เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภารกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้  โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง  เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น

พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ของคนไทย

พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มากขึ้น

ทำไมโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ถึงกลายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดยอดนิยมได้

เนื่องจากการโฆษณาผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) นั้นต้นทุนต่ำแต่มีประสิทธิผลสูง หรือหมายถึงมีประสิทธิภาพในการโฆษณาสูงมาก สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และกระจายการรับรู้ได้รวดเร็ว ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต่างให้ความสนใจ โดยระยะแรกนั้นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก มีเงินลงทุนน้อยได้ทดลองใช้งานก่อน และเมื่อประสบความสำเร็จ ก็ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องลงมาโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ควบคู่ไปกับสื่อโฆษณาที่เป็น mass marketing อื่นๆ

Boardband แก้

Broadband คืออะไร

Broadband เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ทั่วไปในการกล่าวถึงการติดต่อผ่านเครือข่ายความเร็วสูง ในที่นี้จะหมายถึงการติดต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทางเคเบิลโมเด็มและสายชนิด Digital Subscriber Line (DSL) ซึ่งนิยมเรียกว่าการติดต่ออินเทอร์เน็ตแบบ broadband โดยมีค่า "Bandwidth" จะเป็นค่าที่อธิบายถึงความเร็วสัมพัทธ์ในการติดต่อกับเครือข่าย เช่น การติดต่อผ่านโมเด็มโดยการ dial-up ที่ใช้งานทั่วไปในปัจจุบันทำงานมีค่า bandwidth 56 กิโลบิตต่อวินาที (kbps (103)) ไม่มีการกำหนดค่าที่แน่นอนไว้ว่า การติดต่อแบบ broadband จะต้องมีค่า bandwidth เท่าใด แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ค่าประมาณ 1 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps (106)) ขึ้นไป

Broadband คือ เทคโนโลยีการส่งข้อมูลความเร็วสูง ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยีบรอดแบนด์ จะทำให้ประสบการณ์ในการท่องโลกอินเตอร์เน็ต มีชีวิตชีวาเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยประสิทธิภาพในการรับข้อมูลขนาดใหญ่ จึงทำให้ฝันของนักท่องอินเตอร์เน็ตเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ รูปภาพที่มีความละเอียดสูง เล่นเกมส์ออนไลซ์ หรือแม้กระทั่งการดูหนังฟังเพลงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Broadband ไม่เพียงแต่เป็นเทคโนโลยี่ที่มีประโยชน์มากในเชิงการค้าและการลงทุนเท่านั้น หากยังใช้อย่างแพร่หลายในทางความมั่นคงทางการทหาร Broadband สามารถเชื่อมโลกใบนี้ให้ทุกจุดบนโลกสามารถหาเจอเพียงปลายนิ้วสัมผัส

เทคโนโลยี Broadband ผ่านดาวเทียม เป็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูง 2 ด้านมาผสมผสานเพื่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม จะทำให้ข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่การให้บริการ ในลักษณะของบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตหมดไป เนื่องจากด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม ทำให้สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศ นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าว ยังสามารถนำมาประยุกต์ในการถ่ายทอดสด หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ โดยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตผ่านทางเครือข่ายดาวเทียม (IP Broadcasting via Satellite) ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับข้อมูล หรือรับชมสัญญาณภาพ และเสียงในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) ได้

การเข้าถึงผ่านเคเบิลโมเด็มคืออะไร

เคเบิลโมเด็มเป็นการติดต่อที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง (หรือแต่ละเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางเครื่องข่ายเคเบิลของโทรทัศน์ การทำงานของเคเบิลโมเด็มมีลักษณะคล้ายกับเครือข่าย Ethernet LAN (Local Area Network) และมีความเร็วในการทำงานสูงสุดถึง 5 Mbps แต่ความเร็วขณะที่ใช้งานจริงมักจะได้ค่าที่น้อยกว่าค่าสูงสุดนี้ เนื่องมาจากสายเคเบิล ที่ใช้งานถูกลากผ่านบริเวณใกล้เคียงเกิดเป็นเครือข่าย LANs ซึ่งทำการแบ่งการใช้งาน bandwidth ที่ได้ทั้งหมดของสาย ด้วยสาเหตุของรูปแบบการเชื่อมต่อที่ "แบ่งใช้งานตัวกลางการติดต่อ" ผู้ใช้งานเคเบิลโมเด็มบางรายจึงประสบปัญหาว่า ในบางครั้งการเข้าถึงเครือข่ายทำได้ช้ามาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก นอกจากนี้ เคเบิลโมเด็มยังมีจุดอ่อนด้านความเสี่ยงต่อการถูกดักจับ packet และอันตรายจากการแชร์ทรัพยากรบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์มากกว่าการติดต่อด้วยวิธีอื่นๆ

การเข้าถึงผ่านสายชนิด DSL คืออะไร

การติดต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Digital Subscriber Line (DSL) แตกต่างจากการติดต่อแบบเคเบิลโมเด็ม โดยผู้ใช้แต่ละคนที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายจะได้รับ bandwidth คงที่ อย่างไรก็ตามค่า bandwidth สูงสุดที่ผู้ใช้ได้รับจากการใช้งานสายชนิด DSL ต่ำกว่าค่า bandwidth สูงสุดที่ผู้ใช้ได้รับจากการใช้งานสายเคเบิลโมเด็ม เนื่องจากเทคโนโลยีที่นำมาใช้ต่างกัน นอกจากนั้น ค่า bandwidth ที่ผู้ใช้แต่ละคนได้รับเป็นค่าการใช้งานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านกับศูนย์ของผู้ให้บริการ DSL เท่านั้น ผู้ให้บริการจะไม่ให้การรับรองหรืออาจจะให้การรับรองน้อยมากสำหรับ bandwidth ที่ใช้ในการติดต่อออกไปยังอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อแบบ DSL ไม่มีจุดอ่อนต่อการถูกดักจับ packet เหมือนกับการใช้งานเคเบิลโมเด็ม แต่ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอื่นๆ ยังคงมีผลต่อทั้งการติดต่อแบบ DSL และเคเบิลโมเด็ม

การให้บริการแบบ broadband แตกต่างจากการให้บริการแบบ dial-up ที่ใช้งานโดยทั่วไปอย่างไรการให้บริการแบบ dial-up ที่ใช้งานโดยทั่วไปอาจเรียกได้ว่าเป็นการให้บริการแบบ "ติดต่อเมื่อต้องการใช้งาน" นั่นคือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเมื่อต้องการจะส่งข้อมูล เช่น e-mail หรือต้องการดาวน์โหลดเว็บเพจ หลังจากไม่มีข้อมูลที่ต้องการส่ง หรือหลังจากไม่มีการส่งข้อมูลเป็นระยะเวลาหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์จะตัดการติดต่อ นอกจากนี้ การติดต่อแต่ละครั้งโดยทั่วไปจะเป็นการขอเข้าใช้งานเครื่องรับโมเด็ม 1 เครื่องจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเครื่องรับโมเด็มแต่ละเครื่องจะมี IP address ที่แตกต่างกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะรับเอา IP address นั้นมาใช้งาน ทำให้แต่ละเครื่องมี IP address ต่างกันออกไป วิธีการดังกล่าวนี้ทำให้เป็นการยาก (แต่ยังมีความเป็นไปได้) ที่ผู้บุกรุกจะตรวจหาช่องโหว่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ แล้วนำไปใช้เพื่อลักลอบเข้าไปควบคุมเครื่อง


การให้บริการแบบ broadband อาจเรียกได้ว่าเป็นการให้บริการแบบ "ติดต่อตลอดเวลา" เนื่องจากเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง ไม่จำเป็นจะต้องเริ่มต้นการติดต่อใหม่ คอมพิวเตอร์จะติดต่อกับเครือข่ายตลอดเวลา และพร้อมที่จะรับส่งข้อมูลผ่านทาง Network Interface Card (NIC)

3G (Third Generation)[1] แก้

เทคโนโลยี 3G คือ

3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อ เนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง แล ะ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

* ยุค 1G เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมองดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้ การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงติดขัดเรื่องการ ขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่ ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณ เพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้ ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น
  • ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือ เพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่ง การเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว
  • ยุค 2.5G การสื่อสารไร้สายยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี ในระดับ 2G แต่มีประสิทธิ - ภาพด้อยกว่ามาตรฐาน การสื่อสารไร้สายยุค 3G โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล แบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G
  • ยุค 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้ และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคง ใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า WCDMA


นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น 3G เป็นแบบ CDMA เช่นกัน แต่เรียกว่า CDMA2000 กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก IS95 ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง (HDR-High Data Rate) การพัฒนาในยุคที่สาม นี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 1G และ 2G โดยเรียกรูป แบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า GPRS – General Packet Radio Service ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่ 9.06, 13.4, 15.6 และ 21.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยในการพัฒนาต่อจาก GPRS ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า EDGE - (Enhanced Data Rate for GSM Evolution)


เทคโนโลยีในยุคที่ 3 เรื่องความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia ได้อย่าง สมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ - ส่ง File ขนาดใหญ่, การใช้บริการ Video Conference, Download เพลง, ดู TV ในลักษณะแบบ Streaming เป็นต้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้โลกในทุกวันนี้กลายเป็นโลกไร้พรมแดน ซึ่งทุกคนในทุกประเทศสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย โดยสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การสื่อสารนั้นเป็นเรื่องก็คือ เทคดนโลยีสื่อสารไร้สายยุค 3G สำหรับประเทศไทยใน ปี 2549 เป็นปีที่เริ่มเข้าสู่ยุค 3G แต่สำหรับในส่วนของประเทศที่ใช้ 3G มานานแล้วเขามองว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบ 4G กันแล้วซึ่งเลยยุค 3G มาแล้ว เหมือนกับการสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ 10 ปี โดยการเชื่อมต่อแบบเคลื่อนไหวไร้รอยต่อ 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิลทำให้การเชื่อมต่อเสมือนจิงมากขึ้นในรูปแบบสามมิติ

ความเป็นมา

มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม(Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สอง หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานอยู่ทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือ

  • มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Service) เป็นมาตรฐานที่ ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G ไปสู่ ยุค 3G อย่างเต็มตัวโดยเทคโนโลยีหลักที่มีการยอมรับการใช้งานทั่วโลกคือ W-CDMA (Wideband Code Division Multiple Access )
  • มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนาเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่ศักยภาพเทียบเท่า มาตรฐาน W-CDMA

โดยเปิดโอกาสให้ผู้ช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานที่ใดๆก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวและยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัยและเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น บริการส่งข้อความแบบสั้น(ShortMessageServiceหรือSMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรกโดยมาตรฐาน GSMและCDMA

ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด9,600บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบด้วยอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็ม ในเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน

  1. http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/3g/what%203g.html
กลับไปที่หน้าผู้ใช้ของ "Inx group3/กระบะทราย"