คายตรีมนตร์ (เทวนาครี: गायत्री मन्त्र; Gāyatrī Mantra) หรือ สาวิตรีมนตร์ (เทวนาครี: सावित्री मन्त्र; Sāvitri Mantra) เป็นมนตร์ที่ได้รับการเคารพสูง มีที่มาจากฤคเวท (มณฑล 3.62.10)[1] ซึ่งอุทิศแด่เทวีพระเวท สาวิตร[1][2] คายตรีเป็นนามของเทวีที่ประจำจังหวะพระเวทของกวีบทที่มีมนตร์นี้[3] การสวดมนตร์นี้ตามธรรมเนียมจะเริ่มต้นด้วยคำว่า โอม และคำกล่าวตามพิธี ภูรฺ ภุวะ สฺวะ (bhūr bhuvaḥ svaḥ) ซึ่งรู้จักในชื่อ มหาวฺยาหฤติ (mahāvyāhṛti) หรือ "เสียงเปล่งมนตร์อันยิ่งใหญ่" มีการกล่าวอ้างถึงคายตรีมนตร์อยู่อย่างแพร่หลายในเอกสารของศาสนาฮินดู เช่น รายชื่อมนตร์ในพิธีสวดเศราตะ และในเอกสารคลาสสิกของฮินดู เช่น ภควัทคีตา,[4][5] หริวงศ์[6] และ มนูสมฤติ[7] ทั้งมนตร์นี้และรูปจังหวะ (metric form) ที่เกี่ยวข้องยังปรากฏในศาสนาพุทธ[8] มนตร์นี้เป็นส่วนสำคัญของพิธีอุปนยายนะ ขบวนการปฏิรูปศาสนาฮินดูยุคใหม่ได้เผยแพร่การปฏิบัติมนตร์นี้ไปสู่ทุกคน ปัจจุบันมนตร์นี้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย[9][10]

คายตรีมนตร์ เขียนด้วยอักษรเทวนาครี

เนื้อหา แก้

มนตร์หลักปรากฏอยู่ในเพลงสวด RV 3.62.10. ซึ่งขณะการสวด เพลงสวดนี้จะมีคำว่า โอม นำหน้า และมีคำกล่าวตามพิธีว่า ภูรฺ ภุวะ สฺวะ (bhūr bhuvaḥ svaḥ, भूर् भुवः स्वः) ในไตตติริยอรัญกะ (2.11.1-8) ระบุยืนยันว่ามนตร์นี้ควรนำโดยคำว่า โอม ตามด้วยบท วยหฤตี (Vyahrtis) และคายตรี[11]

คยาตรีมนตร์และสวารัส[11] รูปอักษรเทวนาครี คือ

ॐ भूर्भुव॒ स्सुवः॑
तत्स॑ वि॒तुर्वरे᳚ण्यं॒
भर्गो॑ दे॒वस्य॑ धीमहि
धियो॒ यो नः॑ प्रचो॒दया᳚त् ॥

หรือในรูป IAST ได้ว่า

oṃ bhūr bhuvaḥ suvaḥ
tat savitur vareṇyaṃ
bhargo devasya dhīmahi
dhiyo yo naḥ pracodayāt[12]

และในรูปอักษรไทยได้ว่า

โอํ ภูรฺ ภุวะ สุวะ
ตตฺ สวิตุรฺ วเรณฺยํ
ภรฺโค เทวสฺย ธีมหิ
ธิโย โย นะ ปฺรโจทยาตฺ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Rig Veda: Rig-Veda, Book 3: HYMN LXII. Indra and Others". www.sacred-texts.com. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
  2. "Gayatri Mantra". OSME.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Staal, Frits (June 1986). "The sound of religion". Numen. 33 (Fasc. 1): 33–64. doi:10.1163/156852786X00084. JSTOR 3270126.
  4. Rahman 2005, p. 300.
  5. Radhakrishnan 1994, p. 266.
  6. Vedas 2003, p. 15–16.
  7. Dutt 2006, p. 51.
  8. Shults, Brett (May 2014). "On the Buddha's Use of Some Brahmanical Motifs in Pali Texts". Journal of the Oxford Centre for Buddhist Studies. 6: 119.
  9. Rinehart 2004, p. 127.
  10. Lipner 1994, p. 53.
  11. 11.0 11.1 Carpenter, David Bailey; Whicher, Ian (2003). Yoga: the Indian tradition. London: Routledge. p. 31. ISBN 0-7007-1288-7.
  12. Guy L. Beck (2006). Sacred Sound: Experiencing Music in World Religions. Wilfrid Laurier University Press. p. 118. ISBN 978-0-88920-421-8.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้