คลื่นความร้อนในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2558

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ประเทศอินเดียประสบกับคลื่นความร้อนขนาดใหญ่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,500 คน และส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ของประเทศ[1][2] คลื่นความร้อนนี้ก่อตัวขึ้นในช่วงฤดูร้อน ซึ่งโดยปกติฤดูร้อนของประเทศอินเดียจะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม และสิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคม[3] แต่เนื่องด้วยคลื่นความร้อน ทำให้ฤดูร้อนของประเทศอินเดียในปี พ.ศ. 2558 จะสิ้นสุดลงปลายเดือนตุลาคม มีเพียงมรสุมเท่านั้นที่เป็นการคลายความร้อนได้[4] คลื่นความร้อนนี้ยังทำให้ประเทศอินเดียมีอุณหภูมิสูงสุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2538[5]ด้านประเทศปากีสถาน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,200 ราย[6]

คลื่นความร้อนในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2558
คลื่นความร้อนในประเทศอินเดีย พ.ศ. 2558ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
คัมมัม 48 องศาเซลเซียส (118 องศาฟาเรนไฮต์)
คัมมัม 48 องศาเซลเซียส (118 องศาฟาเรนไฮต์)
อัลลอฮาบาด 47 องศาเซลเซียส (117 องศาฟาเรนไฮต์)
อัลลอฮาบาด 47 องศาเซลเซียส (117 องศาฟาเรนไฮต์)
ไฮเดอราบาด 46 องศาเซลเซียส (115 องศาฟาเรนไฮต์)
ไฮเดอราบาด 46 องศาเซลเซียส (115 องศาฟาเรนไฮต์)
เดลี 45.5 องศาเซลเซียส (113.9 องศาฟาเรนไฮต์)
เดลี 45.5 องศาเซลเซียส (113.9 องศาฟาเรนไฮต์)
จาสุกุดา 45.4 องศาเซลเซียส (113.7 องศาฟาเรนไฮต์)
จาสุกุดา 45.4 องศาเซลเซียส (113.7 องศาฟาเรนไฮต์)
แผนที่บริเวณที่ได้รับผลกระทบ
วันที่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558
ที่ตั้งประเทศอินเดีย
ความสูญเสีย
มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,500 คน (ถึงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558)[1]

สาเหตุ แก้

คลื่นความร้อนส่วนใหญ่เกิดจากฝนที่ตกเบาบางในช่วงก่อนมรสุม ซึ่งนำความชื้นมาสู่พื้นที่น้อยกว่าปกติ ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของอินเดียแห้งแล้ง ฝนก่อนมรสุมสิ้นสุดอย่างกะทันหัน ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ไม่ปกติในอินเดีย มีส่วนทำให้เกิดคลื่นความร้อน[7][8] นอกจากนี้ ฤดูมรสุมมาช้าและร่องมรสุมอยู่ทางใต้มากกว่าปกติ[9] รูปแบบสภาพอากาศนี้ ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งมักเพิ่มอุณหภูมิในเอเชีย รวมกันได้สร้างอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มผลกระทบของอุณหภูมิที่มีต่อผู้อาศัยในพื้นที่[10] ลมแห้งที่พัดมาจากปากีสถานและอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งมีชื่อว่า ลู (The Loo) ก็มีส่วนทำให้อุณหภูมิในอินเดียเพิ่มสูงขึ้น[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Respite from heat likely from today". The Hindu (ภาษาอังกฤษ). 27 พฤษภาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2015.
  2. "Hospitals in India struggle to cope with an influx of patients after heatwave claims more than 1,700 lives". ABC News.
  3. "Число жертв жары в Индии превысило 60 человек" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 2015-05-22. สืบค้นเมื่อ 2015-05-24.
  4. Singh, Sarina (15 September 2010). Lonely Planet India. Lonely Planet. p. 21. ISBN 978-1-74220-347-8.
  5. "Hospitals overwhelmed as India heatwave deaths near 1,500". Channel NewsAsia. 2015-05-28. สืบค้นเมื่อ 2015-05-28.
  6. Indo-Asian News Service, บ.ก. (24 June 2015). "Heatwave in Pakistan kills over 1,200". Deccan Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-09.
  7. Harmeet Shah Singh; Rishabh Pratap; Ravi Agrawal (26 May 2015). "Heat wave kills more than 1,100 in India". CNN. สืบค้นเมื่อ 26 May 2015.
  8. "Heatwave claims over 1,100 across country, temperatures soaring". Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-28. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
  9. "Press Release: Current status of southwest monsoon 2015 and forecasts" (PDF). Press Release - Weekly Press. Government of India, Earth System Science Organization, Ministry of Earth Sciences, India Meteorological Department. 4 June 2015. สืบค้นเมื่อ 4 June 2015.
  10. "Blazing sun bakes large parts of India, heat wave claims dozens of lives; El Nino effect emerges". Hindustan Times. 22 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-23. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015.
  11. Fantz, Ashley (29 May 2015). "India's scorcher: What's behind the heat wave and when will it end?". CNN. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.