การอภิปรายไม่ไว้วางใจอิมราน ข่าน
ในวันที่ 8 มีนาคม 2022 ผู้แทนพรรคฝ่ายค้านในปากีสถานยื่นญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี อิมราน ข่าน ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติปากีสถาน พรรคฝ่ายค้านซึ่งเป็นพันธมิตรกันภายใต้ชื่อขบวนการประชาธิปไตยปากีสถาน (PDM) เสาะหาหนทางในการเอาข่านออกจากตำแหน่ง และกล่าวหาระบบการปกครองแบบผสมของข่านว่าล้มเหลวในการบริหารราชการ, ทำการล่าหัวนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม[1] และล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจกับนโยบายต่างประเทศ[2][3][4] ข่านกล่าวโทษสหรัฐว่าอยู่เบื้องหลัง "เรื่องลวงเรื่องการต่างประเทศ" เพื่อที่จะขับไล่เขาและเปลี่ยนแปลงการปกครอง พร้อมระบุว่าเขามีหลักฐานลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างนี้ ในขณะที่สหรัฐปฏิเสธข้อกล่าวหาทุกประการ[5][6]

การตัดสินใจส่งญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจมีขึ้นในการประชุมของพรรคฝ่ายค้าน[7][8][9] ผู้นำฝ่ายค้าน เชห์บาซ ชารีฟ ระบุแก่สื่อว่าการเสนอญัตตินี้เป็นผลมาจากความล้มเหลวของรัฐบาลในการบริหารเศรษฐกิจและตัวชี้วัดทางสังคมต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาสี่ปีในการดำรงตำแหน่งของข่าน[4] ทางฝั่งรัฐบาลโต้กลับโดยระบุว่าฝ่ายค้านได้รับการหนุนหลังโดยต่างประเทศ และได้รับเอกสารลับผ่านทางสถานทูต ลงวันที่ 7 มีนาคม 2022[10] ซึ่งมีการระบุ "ภัยคุกคาม" โดยสหรัฐ และประสงค์จะเห็นข่านลงจากรัฐบาล รวมถึงมีการวางข้อแลกเปลี่ยนว่าสหรัฐจะ "ให้อภัย" ถ้าการอภิปรายไม่ไว้วางใจสำเร็จ[11][12][13][14] รวมถึงมีการกล่าวโทษว่าสหรัฐไม่พึงพอใจมากต่อนโยบายต่างประเทศและการเดินทางเยือนรัสเซียของข่าน[11]
ในวันที่ 3 เมษายน 2022 ญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจถูกปฏิเสธด้วยเสียงเอกฉันท์ โดยกาซีม ข่าน ซูรี รองประธานสภาแห่งชาติ โดยอ้างว่าญัตตินี้เป็น "การแทรกแซงจากต่างชาติ"[15] ข่านเสนอแก่ประธานาธิบดีอารีฟ อัลวี ให้ยุบสภาและให้จัดการเลือกตั้งทั่วไป[16] ส่งผลให้ศาลสูงปากีสถานยื่นคำร้องแก่ตน (suo moto) เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญนี้[17] ผลการลงคะแนนจากศาลสูงเป็นเอกฉันท์ที่คะแนน 5–0 ให้การปฏิเสธการนำญัตติเข้าสภาที่รองประธานสภาทำนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ญัตติการอภิปรายสามารถเข้าสภาได้ในวันที่ 10 เมษายน 2022 ผลการลงคะแนนไม่ไว้วางใจอิมราน ข่าน อยู่ที่ 174 เสียง จาก 342 ที่นั่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่งผลให้อิมราน ข่าน ต้องออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากสมาชิกสภาลงเสียงไม่ไว้วางใจ[18][19] ข่านเป็นนายกรัฐมนตรีปากีสถานคนแรกที่ต้องออกจากตำแหน่งหลังถูกสภาลงเสียงไม่ไว้วางใจ[20]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Pakistan PM alleges 'foreign' plot against him at Islamabad rally". TRT World. 27 March 2022. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
- ↑ "What led to Pakistan PM Imran Khan's downfall". BBC News. 9 April 2022.
- ↑ Shahzad, Asif (8 March 2022). "Pakistani opposition moves no-confidence motion to seek PM Khan's ouster". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
- ↑ 4.0 4.1 "No-trust move submitted for Pakistan's betterment: Shahbaz". www.geo.tv.
- ↑ "PM Imran Khan discloses name of US official who sent 'threat letter'". Geo News. 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
- ↑ "'Threat letter' to be shared with CJP, Senate chairman, NA speaker after cabinet's approval". www.thenews.com.pk.
- ↑ Khan, Nadir Guramani | Sanaullah (8 March 2022). "Opposition submits no-trust motion against PM Imran". DAWN.COM.
- ↑ "Opp submits no-confidence motion against PM Imran in NA". The Express Tribune. 8 March 2022.
- ↑ Shahzad, Asif (8 March 2022). "Pakistani opposition moves no-confidence motion to seek PM Khan's ouster". Reuters.
- ↑ "A parliamentary wolf in democratic sheep's clothing". Daily Sabah. 11 April 2022. สืบค้นเมื่อ 11 April 2022.
- ↑ 11.0 11.1 Syed, Baqir Sajjad (10 April 2022). "'Cablegate' lands foreign service in knotty predicament". Dawn. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
- ↑ Meer Baloch, Shah (31 March 2022). "Imran Khan claims US threatened him and wants him ousted as Pakistan PM". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
- ↑ "Threatening letter came from US: PM Imran Khan". The News International. 1 April 2022. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
- ↑ "'One-million gathering to be referendum against opposition'". www.thenews.com.pk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 March 2022.
- ↑ "Khan Throws Pakistan Into Chaos With Disputed Call for Election". Bloomberg. 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 11 April 2022.
- ↑ "Pakistan's PM Khan calls for fresh elections after no-confidence vote blocked". France24. 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.
- ↑ Bhatti, Haseeb (3 April 2022). "CJP takes suo motu notice of situation in country after dissolution of NA". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ "LIVE: Pak crisis: Parliament begins voting on no-confidence motion against PM Imran Khan after speaker resigns". WION (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.
- ↑ Chaudhry, Fahad (9 April 2022). "Imran Khan loses no-trust vote, prime ministerial term set for unceremonious end". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.
- ↑ "Imran Khan ousted as Pakistan's PM after vote". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 10 April 2022. สืบค้นเมื่อ 10 April 2022.