การวิจารณ์ศาสนา

การวิจารณ์ศาสนาเป็นการวิจารณ์มโนทัศน์ ลัทธิ ความสมเหตุสมผลและ/หรือการปฏิบัติศาสนา ซึ่งรวมถึงการส่อความทางการเมืองและสังคมที่สัมพันธ์[1]

การวิจารณ์ศาสนามีประวัติศาสตร์ยาวนาน ในกรีซโบราณ การวิจารณ์ศาสนาสืบย้อนไปได้อย่างน้อยถึงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลโดยไดอะโกรัส "ดิเอธิสต์" แห่งเมลอส (Diagoras "the Atheist" of Melos) ในโรมโบราณ ตัวอย่างที่ทราบแรก ๆ คือ ว่าด้วยธรรติของสิ่ง (De rerum natura) ของลูครีชัส (Lucretius) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล การวิจารณ์ศาสนายุ่งยากขึ้นจากข้อเท็จจริงว่ามีนิยามและมโนทัศน์ศาสนาหลายอย่างในวัฒนธรรมและภาษาต่าง ๆ ด้วยการมีศาสนาหลายหมวดหมู่ เช่น เอกเทวนิยม พหุเทวนิยม สรรพเทวนิยม nontheism (ไม่เชื่อในพระเจ้าที่เป็นบุคคล) และศาสนาจำเพาะต่าง ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ยูดาย อิสลาม เต๋า พุทธ และอื่น ๆ ไม่ชัดเจนเสมอไปว่าการวิจารณ์ศาสนานี้มุ่งไปยังศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือใช้กับศาสนาอื่นได้มากน้อยเพียงใด

ทุกศาสนาบนโลกซึ่งสนับสนุนการอ้างความจริงหนึ่งเดียวจำต้องปฏิเสธการอ้างความจริงของศาสนาอื่น ผู้วิจารณ์ศาสนาโดยรวมมักพาดพิงศาสนาว่าล้าสมัย เป็นภัยต่อปัจเจกบุคคล เป็นภัยต่อสังคม เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ แหล่งของการกระทำหรือจารีตประเพณีผิดศีลธรรม และเป็นเครื่องมือทางการเมืองสำหรับการควบคุมทางสังคม

อ้างอิง แก้

  1. Beckford, James A. (2003). Social Theory and Religion. Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 2. ISBN 0-521-77431-4.