วรรณกรรมล้อ

(เปลี่ยนทางจาก การล้อเลียน)

วรรณกรรมล้อ (Parody) เป็นชิ้นงานที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบ ล้อเลียน หรือออกความเห็นต่อชิ้นงานดั้งเดิม ประเด็น ผู้เขียน รูปแบบ หรือเป้าหมายอื่น ๆ โดยจะเป็นการเลียนแบบเชิงเสียดสีหรือแฝงนัย นักทฤษฎี ลินดา ฮัตเชียน ให้ความหมายว่า "วรรณกรรมล้อ คือการเลียนแบบ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นการล้อเลียนข้อความเสมอไป" นักวิจารณ์อีกท่านหนึ่ง ไซมอน เด็นทิธ นิยามวรรณกรรมล้อว่า "การประกอบกิจใด ๆ เชิงวัฒนธรรมที่เลียนแบบ พาดพิงอีกผลงานหรือการประกอบกิจหนึ่งอย่างมีศิลปะ"[1] วรรณกรรมล้อพบได้ในศิลปะหรือวัฒนธรรม รวมถึง วรรณกรรม ดนตรี (แม้ว่าก่อนหน้านี้ "วรรณกรรมล้อ" ในดนตรีจะมีความหมายแตกต่างออกไป) แอนิเมชัน วิดีโอเกม และภาพยนตร์

นักแสดงตลก ชาร์ลี แชปลิน แสดงเป็นฮิตเลอร์ ในบทบาทเบาสมอง ในภาพยนตร์เสียดสีเรื่อง เดอะเกรตดิกเทเตอร์ (1940)

นักเขียนและนักวิจารณ์ จอห์น โกรส สังเกตในหนังสือ Oxford Book of Parodies ของเขาว่าวรรณกรรมล้อดูจะเฟื่องฟูในดินแดนระหว่าง แพสติช ("ผลงานอีกแบบของศิลปิน โดยไม่มีเนื้อหาเสียดสี") และ เบอร์เลสก์ (ซึ่งหลอกเกี่ยวกับชิ้นงานวรรณกรรมชั้นสูงและดัดแปลงให้ดูต่ำลง)[2] ขณะเดียวกับ หนังสือ Encyclopédie ของเดอนี ดีเดอโร แยกความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมล้อกับเบอร์เลสก์ว่า "วรรณกรรมล้อที่ดีคือการขบขันที่ทำให้บุคคลที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและไร้มลทินรู้สึกสนุกสนานได้ ส่วนเบอร์เลสก์เป็นการเล่นตลกร้ายที่ทำให้คนรู้สึกพอใจเท่านั้น"[3] จากประวัติศาสตร์ เมื่อสูตรสำเร็จเริ่มน่าเบื่อ อย่างเช่นในกรณีละครประโลมโลกเกี่ยวกับศีลธรรมในยุค 1910 ยังคงเป็นได้แค่วรรณกรรมล้อ ดังที่เรื่องสั้นของบัสเตอร์ คีตันเคยล้อเลียนไว้[4]

อ้างอิง แก้

  1. Dentith (2000) p.9
  2. J.M.W. Thompson (May 2010). "Close to the Bone". Standpoint magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-16. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. "Parody." The Encyclopedia of Diderot & d'Alembert Collaborative Translation Project. Translated by Colt Brazill Segrest. Ann Arbor: Michigan Publishing, University of Michigan Library, 2007. Web. [1 Apr. 2015]. <http://hdl.handle.net/2027/spo.did2222.0000.811>. Trans. of "Parodie," Encyclopédie ou Dictionnaire raisonné des sciences, des arts et des métiers, vol. 12. Paris, 1765.
  4. Balducci, Anthony (2011) The Funny Parts: A History of Film Comedy Routines and Gags p.231