การลงประชามติอธิปไตยหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ พ.ศ. 2556

การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพทางการเมือง จัดขึ้นในหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2556[1][2][3][4] ชาวหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ถูกถามว่า สนับสนุนการต่อสถานภาพเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรหรือไม่ จากการที่อาร์เจนตินาเรียกร้องให้เจรจาเรื่องอธิปไตยของหมู่เกาะดังกล่าว[5]

หากชาวหมู่เกาะปฏิเสธการต่อสถานภาพปัจจุบันของเขา อาจมีการลงประชามติครั้งที่สองว่าด้วยทางเลือกที่เป็นไปได้[5] ผลปรากฏว่า มีผู้มาลงคะแนน 91% ในจำนวนนี้ 99.8% ออกเสียงคงเป็นดินแดนของอังกฤษต่อไป โดยมีเสียงคัดค้านเพียงสามเสียง[6] แบรด สมิธ ผู้นำกลุ่มสังเกตการณ์นานาชาติ ประกาศว่า การลงประชามติดังกล่าวเสรีและเป็นธรรม ตลอดจนดำเนินการตามมาตรฐานและกฎหมายระหว่างประเทศ[7]

ผลการลงประชามติ แก้

การลงประชามติอธิปไตยหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ พ.ศ. 2556
ทางเลือก คะแนนเสียง %
  เห็นชอบ 1,513 99.8%
ไม่เห็นชอบ 3 0.2%
บัตรดี 1,516 99.9%
บัตรเสียหรือไม่ลงคะแนน 1 0.1%
คะแนนเสียงทั้งหมด 1,517 100.00%
อัตราการลงคะแนน 90.7%
จำนวนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน 1,672
แหล่งอ้างอิง: BBC

อ้างอิง แก้

  1. "Falkland Islands to hold referendum on political future". Penguin News. 12 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 12 June 2012.
  2. "Electoral Commission to assist with Falklands referendum". Penguin News. 30 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
  3. "Falklands' March 10/11 referendum, a democratic exercise of self-determination". MercoPress, South Atlantic News Agency. 26 November 2012. สืบค้นเมื่อ 27 November 2012.
  4. "Executive Council Confidential" (PDF). Falkland Islands Government. 21 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-27. สืบค้นเมื่อ 27 November 2012.
  5. 5.0 5.1 "Falkland Islands referendum question proposed". Penguin News. 1 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 1 November 2012.
  6. Falklands referendum: Voters choose to remain UK territory BBC News, 12 March 2013
  7. "Falklands Vote 98.8% Yes". Falkland Islands News Network. 12 March 2013. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.