การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2562–2563

การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2562–2563 หรือมีอีกชื่อว่า พฤศจิกาเลือด (เปอร์เซีย: آبان خونین) เป็นกลุ่มการประท้วงของพลเมืองทั่วประเทศอิหร่าน แรกเริ่มเกิดขึ้นจากการเพิ่มราคาค่าเชื้อเพลิงขึ้น 50%–200%[11][12][13][14] และ (ในบางพื้นที่) นำไปสู่การเรียกร้องการล้มเลิกรัฐบาลและผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี[15][16]

การประท้วงในประเทศอิหร่าน พ.ศ. 2562–2563
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในประเทศอิหร่าน (พ.ศ. 2559–2564) และวิกฤติอ่าวเปอร์เซีย (พ.ศ. 2562–2564)
วันที่15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
สถานที่ใน 29 จังหวัด, 104 เมือง และ 719 ที่ในประเทศอิหร่าน [1]
สาเหตุ
  • การฉ้อโกงของรัฐบาล
  • การขึ้นราคาเชื้อเพลิง
  • ความยากจน
  • การละเมิดสิทธิมนุษยชนชน
  • ต่อต้านประธานาธิบดีแฮแซน โรว์ฮอนี และผู้นำสูงสุดแอลี ฆอเมเนอี
  • ต่อต้านสาธารณรัฐอิสลาม
  • ต่อต้านการมีส่วนร่วมของอิหร่านในความขัดแย้งในภูมิภาค
เป้าหมาย
วิธีการเดินขบวน, จลาจล, เข้านั่งฟังปราศัย, ดื้อแพ่ง, ประท้วงหยุดงาน, กิจกรรมออนไลน์, วางเพลิง
คู่ขัดแย้ง
ผู้ประท้วง
ผู้นำ
ไม่ทราบ
จำนวน
ป. 200,000 คน[4][5]
ความสูญเสีย
ธนาคาร 731 แห่งและสถานที่ราชการ 140 แห่งถูกวางเพลิง[10]

การประท้วงแรกเริ่มนั้นเป็นการชุมนุมโดยสันติในเย็นวันที่ 15 พฤศจิกายน 2019 แต่ภายในไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ขยายออกไปยังเมืองต่าง ๆ 21 เมือง มีวิดีโอต่าง ๆ ถูกอัปโหลดขึ้นออนไลน์มากมาย[17][18][19][20][21] ในท้ายที่สุดการประท้วงนี้ได้กลายเป็นการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลที่รุนแรงและร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ประเทศอิหร่านเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบสาธารณรัฐอิสลามเมื่อปี 1979[22][23][24]

รัฐบาลได้มีการตัดอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของข้อมูลการชุมนุมและยอดผู้เสียชีวิตบนอินเตอร์เน็ต ในท้ายที่สุดได้นำไปสู่การตัดอินเตอร์เน็ตเกือบหมดเป็นเวลาเกือบหกวัน[25][26][27][28]

ข้อมูลจากแอมเนสตี อินเตอร์แนชันแนลระบุว่ารัฐบาลอิหร่านมีการสั่งให้ยิงผู้ชุมนุมเสียชีวิตจากบนหลังคา เฮลิคอปเตอร์ ที่ระดับใกล้เคียงกับระดับของการยิงปืนแมชชีน (machine gun fire) เพื่อสงบการชุมนุม นอกจากนี้ นิวยอร์กไทมส์ ระบุว่าได้มีการเคลื่อนย้ายศพผู้ชุมนุมที่ถูกสังหารออกไปไว้ในที่ห่างไกลเพื่อปกปิดปริมาณผู้เสียชีวิตแท้จริงจากการโจมตีของรัฐบาลขณะชุมนุม แอมเนสตีระบุอีกว่าความพยายามเพื่อปกปิดความรุนแรงของรัฐบาลยังรวมถึงข่มขู่ครอบครัวและญาติผู้เสียชีวิตไม่ให้จัดพิธีศพหรือพูดคุยกับสื่อ[24][29]

มีผู้ประท้วงชาวอิหร่านมากถึง 1,500 รายที่ถูกสังหาร[8][30][31] การโจมตีผู้ชุมนุมได้นำไปสู่การที่ผู้ชุมนุมบุกทำลายธนาคารรัฐ 731 แห่ง รวมถึงธนาคารกลางอิหร่าน, ฐานทัพของรัฐบาล 50 แห่ง, ศูนย์ศาสนาอิสลาม 9 แห่ง, การฉีกทำลายป้ายประกาศต่อต้านอเมริกา และการทำลายภาพ โปสเตอร์ และรูปปั้นของผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี

อ้างอิง แก้

  1. https://www.hra-news.org/periodical/a-70/ خبرگزاری هرانا، جمع‌بندی از اعتراضات خونین ۹۸، نسخه دوم، ۱۳۹۸/۹/۱۲
  2. "Tehran launches pro-government protests in Iran | 25.11.2019". DW.COM. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2019. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
  3. "Iran summons British ambassador Rob Macaire as anti-UK protests break out". Sky News.
  4. "Iran says 200,000 took to streets in anti-government protests". 27 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2019. สืบค้นเมื่อ 28 November 2019.
  5. "Iran admits 200,000 took part in recent anti-government protests, 731 banks torched". 28 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2019. สืบค้นเมื่อ 28 November 2019.
  6. "وزیر کشور ایران می‌گوید بیش از ۲۰۰ نفر در جریان اعتراضات آبان کشته شدند". BBC News فارسی.
  7. Amnesty (20 May 2020). "iran details of 304 deaths in crackdown on november 2019 protests" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-10. สืบค้นเมื่อ 2020-07-22.
  8. 8.0 8.1 "Special Report: Iran's leader ordered crackdown on unrest – 'Do whatever it takes to end it'". 23 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2019. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
  9. "Iran arrests 7,000 fuel protesters in one week". 27 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2019. สืบค้นเมื่อ 28 November 2019.
  10. "Iran says hundreds of banks were torched in 'vast' unrest plot". Reuters. 27 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 9 December 2019.
  11. "Iran gasoline rationing, price hikes draw street protests". Reuters. 15 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2019. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019. the price of a liter of regular gasoline was increased to 15,000 rials (12.7 U.S. cents) from 10,000 rials and the monthly ration for each private car was set at 60 litres. Additional purchases would cost 30,000 rials per liter.
  12. Fassihi, Farnaz; Gladstone, Rick (15 November 2019). "Iran Abruptly Raises Fuel Prices, and Protests Erupt". Iran Watch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2019. The changes increased the price of gas to 15,000 rials per liter (approximately 13 cents) from 10,000 rials, while limiting private cars to 60 liters per month with a price of 30,000 rials per liter for additional purchases.
  13. "Iran begins gasoline rationing, raises prices". Press TV. 15 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2019. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019. The National Iranian Oil Products Distribution Company (NIOPDC) said in a statement late Thursday that the price of a liter of regular gasoline had gone up to 15,000 rials (12.7 US cents) from 10,000 rials and the monthly ration for each private automobile was set at 60 liters per month. Additional purchases would cost 30,000 rials per liter.
  14. "Iran starts gasoline rationing, price hikes". IranOilGas. 16 November 2019. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019. According to the report, the price of one liter of regular gasoline jumped to Rials 15,000 from Rials 10,000, while the monthly ration for each private car has been set at 60 liters per month. Additional purchases would cost Rials 30,000 per liter.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "گسترش اعتراض‌ها به افزایش قیمت بنزین: یک معترض در سیرجان با شلیک ماموران کشته شد". Iran International (ภาษาเปอร์เซีย). 15 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2019. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019.
  16. "Protests erupt over Iran petrol rationing". 16 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2019. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019.
  17. "Amnesty International: Over 100 Killed in 21 Cities in Iran Protests". Haaretz. 19 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2019. สืบค้นเมื่อ 25 November 2019.
  18. "Hikes in the cost of petrol are fuelling unrest in Iran". The Economist. 17 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.
  19. "افزایش قیمت بنزین؛ شهرهای مختلف ایران صحنه اعتراضات شد". رادیو فردا. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2019. สืบค้นเมื่อ 15 November 2019.
  20. Fassihi, Farnaz (19 November 2019). "Iran's 'Iron Fist': Rights Group Says More Than 100 Protesters Are Dead". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2019. สืบค้นเมื่อ 21 November 2019.
  21. Fassihi, Farnaz (21 November 2019). "Iran Declares Protests Are Over, but the Evidence Suggests Otherwise". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 November 2019.
  22. "Iranian security forces are using lethal force to crush protests". Amnesty International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2019. สืบค้นเมื่อ 21 November 2019.
  23. CASCHETTA, A.J. "Iranian protests were not about the price of gas". The Hill. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2019. สืบค้นเมื่อ 4 December 2019.
  24. 24.0 24.1 Gladstone, Rick. "With Brutal Crackdown, Iran Is Convulsed by Worst Unrest in 40 Years". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2019. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.
  25. "Internet disrupted in Iran amid fuel protests in multiple cities". 15 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2019. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.
  26. NetBlocks.org (23 November 2019). "Confirmed: Internet access is being restored in #Iran after a weeklong internet shutdown amid widespread protests; real-time network data show national connectivity now up to 64% of normal levels as of shutdown hour 163". @netblocks. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2019. สืบค้นเมื่อ 24 November 2019.แม่แบบ:Primary source inline
  27. Ensor, Josie; Vahdat, Ahmed (23 November 2019). "Iranian officials 'stealing bodies' from morgues to hide true scale of government crackdown". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2019. สืบค้นเมื่อ 24 November 2019.
  28. "Mysterious Disappearances: Is Iran Stealing Bodies From Morgues to Disguise Crackdown on Protesters?". Al Bawaba. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 24 November 2019.
  29. Swert, Mia. "Amnesty says at least 208 killed in Iran protests". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2019. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.
  30. Williams, Abigail. "U.S. says Iran may have killed up to 1,000 protesters". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2019. สืบค้นเมื่อ 6 December 2019.
  31. McKenzie, Sheena. "One of the worst crackdowns in decades is happening in Iran. Here's what we know". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2019. สืบค้นเมื่อ 3 December 2019.