การคว่ำบาตรธุรกิจชาวยิวของนาซี

การคว่ำบาตรธุรกิจชาวยิว ในนาซีเยอรมนี เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี ค.ศ. 1933 ฝ่ายพรรคนาซีอ้างว่าการคว่ำบาตรครั้งนี้เป็นมาตรการตอบโต้การคว่ำบาตรสินค้าเยอรมันของพวกยิว[1][2] จากการที่พวกยิวได้เริ่มพากันคว่ำบาตรสินค้าเยอรมันในเดือนมีนาคม 1933[3] การคว่ำบาตรธุรกิจของชาวยิวครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเลย ชาวเยอรมันไม่ค่อยสนใจกับคำรณรงค์ซักเท่าไหร่ ประชากรเยอรมันส่วนใหญ่ยังคงซื้อและใช้สินค้าจากธุรกิจของพวกยิวอย่างตามปกติ เป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้พรรคนาซีวางแผนถอนรากถอนโคนชาวยิวในเยอรมัน[4]

เจ้าหน้าที่หน่วยเอ็สเอด้านติดป้ายประกาศหน้าร้านค้าแห่งหนึ่งว่า: "ชาวเยอรมันเอ๋ย! เพื่อปกป้องตัวท่าน! จงอย่าซื้อของจากยิว!"

การคว่ำบาตรครั้งนี้ถือเป็นมาตรการแรกๆที่รัฐบาลนาซีได้ใช้ต่อชาวยิวในเยอรมัน ก่อนที่จะนำไปสู่การออกมาตรการขั้นรุนแรงที่เรียกว่า "การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย" ในปี 1941 การคว่ำบาตรในครั้งนี้ถือเป็นมาตรการของรัฐที่มีการใช้ความรุนแรง, การจับกุม, การชิงทรัพย์, การขู่เข็ญให้ชาวยิวขายธุรกิจของตัวเอง ซึ่งแค่เฉพาะในกรุงเบอร์ลินมีธุรกิจของชาวยิวอยู่กว่า 50,000 แห่ง[5] มีการรณรงค์ให้ชาวเยอรมันงดซื้อสินค้าจากธุรกิจของยิวโดยการปิดประกาศต่างๆ อาทิ "อย่าซื้อของจากยิว!", "พวกยิวคือเคราะห์ภัยของเรา!", "กลับปาเลสไตน์ไปซะ!"

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. "Boycott of Jewish Businesses". Holocaust Encyclopedia. USHMM.
  2. The History Place (2 July 2016), “Triumph of Hitler: Nazis Boycott Jewish Shops”
  3. Berel Lang (2009). Philosophical Witnessing: The Holocaust as Presence. UPNE. pp. 131–. ISBN 978-1-58465-741-5.
  4. Pauley, Bruce F (Mar 1 1998), "From Prejudice to Persecution: A History of Austrian Anti-Semitism", University of North Carolina Press, pp 200-203
  5. Kreutzmüller, Christoph (2012). Final Sale – The Destruction of Jewish Owned Businesses in Nazi Berlin 1930–1945. Metropol-Verlag. ISBN 978-3-86331-080-6.