การกดขี่ข่มเหงกลุ่มคนรักร่วมเพศในนาซีเยอรมนี

ก่อนปี 1933 กฎหมายว่าด้วยเรื่องรักร่วมเพศถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญา มาตรา 175 อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ได้ถูกบังคับใช้ในทางปฏิบัติ เป็นไปตามการรวมกลุ่มของเกย์ตามเมืองใหญ่ของประเทศเยอรมนี หลังจากการยึดอำนาจในปี 1933, ขบวนการเรียกร้องกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์, องค์กร, สาธารณะชนถูกจำกัดลง หลังจากการล้มล้างอำนาจของเริห์มในปี 1934 มีการกวาดล้างครั้งใหญ่ต่อคนรักร่วมเพศโดยรัฐตำรวจ ต่อมาในปี 1935 มีการแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 175 ให้มีบทลงโทษหนักขึ้น และให้อำนาจในการกวาดล้างรักร่วมเพศ ส่งผลให้มีการจับกุมและดำเนินคดีเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬาร การกวาดล้างถึงจุดสูงสุดในช่วงหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และขยายออกไปยังพื้นที่ที่เยอรมนียึดครอง รวมถึงออสเตรีย, ดินแดนเช็ก, และอาลซัส-ลอแรน

เอลโดลาโด (ภาพในปี พ.ศ. 2475) สถานที่นิยมรวมกันของเกย์ในเยอรมนี[1]

ระบอบการปกครองนาซีถือว่าหนึ่งในเป้าหมายการกำจัดรักร่วมเพศในเยอรมนีให้หมดไป ผู้ชายถูกจับกุมหลังจากการประณาม การบุกค้นของตำรวจ และการเปิดเผยข้อมูลระหว่างการสอบสอนคู่รักร่วมเพศ ผู้ที่ถูกจับกุมถูกสันนิษฐานว่ามีความผิด และถูกสอบสวนและทรมานอย่างหนักเพื่อให้การรับสารภาพ ระหว่างปี 1933 ถึง 1945 มีผู้ชายประมาณ 100,000 คนถูกจับในข้อหารักร่วมเพศ ประมาณ 50,000 คนในจำนวนนี้ถูกตัดสินโดยศาลพลเรือน โดยศาลทหาร [de] 6,400 ถึง 7,000 คน และอีกจำนวนหนึ่งไม่ทราบจำนวนโดยศาลชำนัญพิเศษ อัตราการเสียชีวิตของผู้ต้องขังเหล่านี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าผู้ต้องขังกลุ่มอื่น ผู้ชายจำนวนน้อยถูกตัดสินประหารชีวิตหรือถูกสังหารที่ค่ายการุณยฆาตนาซี การกดขี่ข่มเหงรักร่วมเพศของนาซีเยอรมนีถือเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงที่มีเป้าหมายเป็นชนกลุ่มน้อยทางเพศ

หลังสงคราม ในตอนแรกรักร่วมเพศไม่ถูกนับว่าเป็นเหยื่อของลัทธินาซี เพราะการรักร่วมเพศยังคงเป็นเรื่องผิดกฎหมายในรัฐสืบเนื่องของนาซีเยอรมนี เหยื่อไม่กี่รายออกมาพูดคุยถึงประสบการณ์จากการกดขี่ข่มเหงได้รับความสนใจจากสาธารณชนในวงกว้างขึ้นในช่วงการเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยชาวเกย์ในทศวรรษที่ 1960 และสามเหลี่ยมชมพูถูกนำมาใช้ใหม่ในฐานะสัญลักษณ์ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ

อ้างอิง แก้

  1. Whisnant 2016, p. 92.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม แก้

  • Herzog, Dagmar (2011). Sexuality in Europe: A Twentieth-Century History. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-87096-2.
  • Longerich, Peter (2011). Heinrich Himmler: A Life (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-161705-8.
  • Lorenz, Gottfried (2018). Todesurteile und Hinrichtungen wegen homosexueller Handlungen während der NS-Zeit: Mann-männliche Internetprostitution. Und andere Texte zur Geschichte und zur Situation der Homosexuellen in Deutschland [Death sentences and executions for homosexual acts during the Nazi era, male-male internet prostitution, and other texts on the history and situation of homosexuals in Germany] (ภาษาเยอรมัน). LIT Verlag. ISBN 978-3-643-13992-4.
  • Marhoefer, Laurie (2015). Sex and the Weimar Republic: German Homosexual Emancipation and the Rise of the Nazis (ภาษาอังกฤษ). University of Toronto Press. ISBN 978-1-4426-1957-9.
  • Newsome, W. Jake (2022). Pink Triangle Legacies: Coming Out in the Shadow of the Holocaust (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. ISBN 978-1-5017-6549-0.
  • Snyder, David Raub (2007). Sex Crimes Under the Wehrmacht (ภาษาอังกฤษ). University of Nebraska Press. ISBN 978-0-8032-0742-4.
  • Storkmann, Klaus (2021). Tabu und Toleranz: Der Umgang mit Homosexualität in der Bundeswehr 1955 bis 2000 [Taboo and Tolerance: Homosexuality and the Bundeswehr 1955 to 2000] (ภาษาเยอรมัน). De Gruyter. ISBN 978-3-11-073290-0.
  • Vendrell, Javier Samper (2020). Seduction of Youth: Print Culture and Homosexual Rights in the Weimar Republic (ภาษาอังกฤษ). University of Toronto Press. ISBN 978-1-4875-2503-3.
  • Wachsmann, Nikolaus (2015) [2004]. Hitler's Prisons: Legal Terror in Nazi Germany (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. ISBN 978-0-300-22829-8.
  • Weindling, Paul (2015). Victims and Survivors of Nazi Human Experiments: Science and Suffering in the Holocaust (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Academic. ISBN 978-1-4411-7990-6.
  • Whisnant, Clayton J. (2016). Queer Identities and Politics in Germany: A History, 1880–1945 (ภาษาอังกฤษ). Columbia University Press. ISBN 978-1-939594-10-5.
  • Wünschmann, Kim (2015). Before Auschwitz: Jewish Prisoners in the Prewar Concentration Camps (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-96759-5.
  • Zinn, Alexander (2018). Aus dem Volkskörper entfernt?: Homosexuelle Männer im Nationalsozialismus [Removed from the national body? Homosexual men under National Socialism] (ภาษาเยอรมัน). Campus-Verlag [de]. ISBN 978-3-593-50863-4.
  • Steinweis, Alan E. (2017). Art, Ideology, and Economics in Nazi Germany (ภาษาอังกฤษ). University of North Carolina Press. ISBN 9780807864791.

แหล่งข้อมูลสื่อ แก้