กระสุนยาง เป็นกระสุนที่ใช้ปราบจลาจลชนิดหนึ่ง หรือเรียกรวมกันว่ากระสุนตะบอง (baton round) คำว่า "ยาง" อาจทำให้เข้าใจผิดได้ เพราะจริง ๆ มีแกนเป็นโลหะหุ้มด้วยยาง หรือผสมระหว่างโลหะกับยางเป็นเนื้อเดียวกันโดยมีองค์ประกอบส่วนน้อยเป็นยาง มีอานุภาพทำให้ตายน้อยกว่ากระสุนโลหะล้วน แต่ก็ยังอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรง เช่น ตาบอด ทุพพลภาพถาวร และเสียชีวิตได้[1][2]

กระสุนยาง 37 มม. "กลม ปราบจลาจล ตะบอง 1.5นิ้ว" ของกองทัพบกบริติชที่ใช้ในไอร์แลนด์เหนือ

กระสุนยางอาจใช้ในระยะใกล้และการควบคุมสัตว์ แต่ส่วนใหญ่ใช้กับการปราบจลาจลและใช้สลายการชุมนุม[3][4][5]

กระทรวงกลาโหมบริติชใช้ปราบผู้ก่อจลาจลในไอร์แลนด์เหนือระหว่างเดอะทรับเบิลส์ (The Troubles)[6] และใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 1970[7] แต่นับแต่นั้น กระสุนยางได้ถูกเปลี่ยนมาใช้วัสดุอื่นแทน เพราะยางมักเด้งอย่างควบคุมไม่ได้[8]

องค์ประกอบและสมบัติกายภาพ แก้

การวิเคราะห์องค์ประกอบของกระสุนยางที่ตำรวจชิลีใช้ พบว่าร้อยละ 80 ผลิตขึ้นจากสสารแข็ง ซึ่งได้แก่ ซิลิกาและแบเรียมซัลเฟตเป็นหลัก และยางประกอบเป็นร้อยละ 20 เท่านั้น ความแข็งที่วัดได้เท่ากับ 96.5 ชอร์เอ (พอ ๆ กับล้อสเก็ตบอร์ด)[9] จึงเป็นสาเหตุที่อธิบายได้ว่า ทำให้เบ้าตาระเบิด (ruptured globe) ได้[9]

การใช้ แก้

กระสุนยางใช้ในการปราบจลาจลเป็นส่วนใหญ่ บริเตนพัฒนากระสุนยางใน ค.ศ. 1970 สำหรับใช้ในไอร์แลนด์เหนือ มีความเร็วปากลำกล้องประมาณ 60 เมตรต่อวินาที และระยะสูงสุดประมาณ 100 เมตร โดยทั่วไปใช้ยิงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งโดยไม่เจาะจงเป้าหมายเพื่อให้เกิดอาการเจ็บ แต่ไม่ใช่การบาดเจ็บ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้งานจะใช้ยิงโดยตรงก็ได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ใช้[10][11][12] การใช้ยิงบุคคลในระยะใกล้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและได้รับบาดเจ็บรุนแรงอีกมาก[7] ใน ค.ศ. 1975 จึงมีการเปลี่ยนไปใช้กระสุนพลาสติกแทน

ใน ค.ศ. 2013 เอกสารของกระทรวงกลาโหมบริติชที่หมดชั้นความลับแล้วเปิดเผยว่า กระสุนยางอันตรายมากกว่าที่เปิดเผยต่อสาธารณะ โดยมีข้อแนะนำทางกฎหมายให้กระทรวงกลาโหมยอมจ่ายเงินชดเชยให้เด็กที่ตาบอดแทนการไปขึ้นศาลซึ่งจะเป็นการเปิดโปงปัญหาเกี่ยวกับตัวกระสุน รวมทั้งการทดสอบกินเวลาสั้นกว่าที่ควร และอาจเป็นอันตรายถึงตายและบาดเจ็บรุนแรงได้[13]

กระสุนยางที่ผลิตในอิสราเอลมีสองประเภทหลัก ประเภทแรกที่เก่ากว่าคือกระสุนยางมาตรฐาน เป็นทรงกลมทำจากเหล็กกล้าแล้วห่อด้วยยางบาง ๆ หนัก 14 กรัม ส่วนประเภทปรับปรุงที่เริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1989 เป็นกระบอกโลหะเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.7 ซม. ห่อด้วยยาง หนัก 15.4 กรัม[14] ซึ่งในบรรดาการบาดเจ็บถึงตายจากกระสุนชนิดนี้ส่วนใหญ่มาจากการถูกยิงที่ศีรษะ[14]

กระสุนยางขนาดเล็กกว่าที่ใช้กับลูกซองปราบจลาจลนั้นมีอยู่หลายประเภท ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งใช้ผลิตกระสุนตะกั่วยาง (rubber buckshot round) ประกอบด้วยลูกยางเส้นผ่านศูนย์กลาง 8.3 มม. จำนวน 15 ลูกต่อหนึ่งปลอก และกระสุนตะบองยาง ซึ่งมีโปรเจกไทล์ 4.75 กรัมลูกโดด[15]

อ้างอิง แก้

  1. Millar, R.; Rutherford, W. H.; Johnston, S.; Malhotra, V. J. (1975). "Injuries caused by rubber bullets: A report on 90 patients". British Journal of Surgery. 62 (6): 480–486. doi:10.1002/bjs.1800620613. PMID 1148650. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-06.
  2. Haar RJ; Iacopino V; Ranadive N (2017). "Death, injury and disability from kinetic impact projectiles in crowd-control settings: a systematic review". BMJ Open. 7 (12): e018154. doi:10.1136/bmjopen-2017-018154. PMC 5736036. PMID 29255079.
  3. Emily Yoffe (October 4, 2000). "What Are Rubber Bullets?". Slate.com.
  4. WILLIAM D. CASEY. "Meister Bullets, Inc. Purchases 'X-Ring' Primer powered rubber bullet company". Officer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-29.
  5. Anthony G Williams. "Less-lethal Ammunition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
  6. New Scientist – 3 February 1983. p.292
  7. 7.0 7.1 A Chronology of the Conflict - August 1970. Conflict Archive on the Internet (CAIN).
  8. Hogg, Ian V. (1985). The Illustrated Encyclopedia of Ammunition. London: The Apple Press. ISBN 1-85076-043-8.
  9. 9.0 9.1 "Investigación U. de Chile comprueba que perdigones usados por Carabineros contienen solo 20 por ciento de goma". Universidad de Chile (ภาษาสเปน). November 18, 2019. สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
  12. Hogg (1985) p67
  13. "Rubber bullets: Army kept real dangers in NI hidden". BBC. 11 June 2013. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
  14. 14.0 14.1 T. Lavy, S. Abu Asleh (2003). "Ocular rubber bullet injuries". Eye. Nature. 17 (7): 821–824. doi:10.1038/sj.eye.6700447. PMID 14528243.
  15. "Fiocchi Munizioni 12 gauge riot control ammunition (Italy), RIOT CONTROL EQUIPMENT". Jane's Police and Homeland Security Equipment. Jane's Information Group. 2005.