อักษรเทงกวาร์

(เปลี่ยนทางจาก Tengwar)

อักษรเทงกวาร์ (อังกฤษ: Tengwar) เป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏใช้อยู่ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ สำหรับใช้เขียนภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาเควนยา และภาษาซินดาริน นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในการเขียนภาษาอื่นได้อีก เช่น ภาษาอังกฤษ (ตัวอย่างการเขียนประโยคด้วยอักษรเทงกวาร์ของโทลคีน ส่วนใหญ่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ) คำว่า tengwar เป็นคำเควนยาในรูปพหูพจน์ หมายถึง 'ตัวอักษร' รูปเอกพจน์เรียกว่า tengwa

อักษรเทงกวาร์
คำว่า "เทงกวาร์"ที่เขียนโดยใช้อักษรเทงกวาร์
ชนิด
ผสม
ทั้งอักษรสระประกอบ หรือ อักษร ตาม "แบบ"
ผู้ประดิษฐ์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
ช่วงยุค
ทศวรรษที่ 1930s – ปัจจุบัน
ทิศทางLeft-to-right Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาประดิษฐ์ของโทลคีน, เควนยา, ซินดาริน และอังกฤษ
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
อักษรซาราติ
  • อักษรเทงกวาร์
ISO 15924
ISO 15924Teng (290), ​Tengwar
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ
ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่เขียนด้วยอักษรเทงกวาร์

ในวรรณกรรม แก้

ในปกรณัมของโทลคีน ผู้ประดิษฐ์อักษรเทงกวาร์คือ เฟอานอร์ เจ้าชายเอลฟ์ชาวโนลดอร์ ในยุคสมัยแห่งพฤกษา ก่อนหน้านั้นพวกเอลฟ์ใช้อักษรที่เรียกว่า ซารัต (sarat, พหูพจน์ - ซารัตติ sarati) ผลงานประดิษฐ์ของรูมิล ครูตำนานแห่งวาลินอร์ เฟอานอร์ปรับปรุงรูปแบบอักษรเหล่านั้นจนมีรูปแบบที่ดีขึ้น และตั้งชื่อว่า เทงกวา (tengwa, พหูพจน์ - เทงกวาร์ tengwar) ต่อมาอักษรเทงกวาร์กลายเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุดในหมู่เอลฟ์

อักษรเทงกวาร์ประกอบด้วยตัวอักษรที่เป็นเสียงพยัญชนะ และเสียงสระ ซึ่งเรียกว่า โอมาเทคทาร์ (ómatehtar) เมื่ออักษรเทงกวาร์แพร่หลายมาถึงแผ่นดินเบเลริอันด์ มันถูกแปลงเป็นภาษาซินดาริน เรียกว่า tîw (เอกพจน์ têw) ส่วนอักษรดั้งเดิมที่ใช้กันในเบเลริอันด์เรียกว่า เคียร์ธ (cirth, เอกพจน์ certh มีรากกำเนิดมาพร้อมกับ ซารัตติ) หรือในภาษาเควนยาเรียกว่า certar (เอกพจน์ certa)

อ้างอิง แก้