ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น

ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เป็นหนังสือแต่งโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา มีเนื้อหาทั้งทางวิทยาศาสตร์และหลักการทางพุทธศาสนา จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อมรินทร์ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2549

ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น  
หน้าปกหนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น
ผู้ประพันธ์สม สุจีรา
ชื่อเรื่องต้นฉบับศาสนาแห่งจักรวาล
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ชุดปรัชญา
ฉบับที่
1
หัวเรื่องวิทยาศาสตร์ พุทธศาสนา
พิมพ์10 บท
สำนักพิมพ์อมรินทร์, สนพ.
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2549
ชนิดสื่อปกแข็งและปกอ่อน
หน้า200 หน้า
ISBN978-616-18-0906-5
OCLC9789749985854
294.3375
LC Classb ส-อ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

หนังสือได้รับการพิมพ์ซ้ำถึง 40 ครั้ง ยอดพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 100,000 เล่ม ต่อมา ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้ท้วงติงเนื้อหาที่ผิดพลาดในเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น จักรวาลวิทยา (cosmology) ในหน้า 31 ทฤษฎีสตริง (string theory) ในหน้า 39 ทฤษฎีเคออส (chaos theory) ในหน้า 128 และทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relativity) ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในเล่มเมื่อกล่าวถึงแสงและเวลา เป็นต้น[1]

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ออกมาทักท้วงว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาไม่ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์หลายจุด[2]

เนื้อหา แก้

แบ่งออกได้เป็น 10 บท [3]

  • บทที่ 2 “จักรวาลกับพุทธศาสนา” พุทธศาสนาบอกไว้ว่า เรื่องความเร้นลับของจักรวาลเป็นเรื่องอจินไตยไม่ควรคิด แต่ความรู้ทางพุทธศาสนามีเรื่องราวที่ตรงกับการค้นพบและการพิสูจน์ของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
  • บทที่ 3 “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ” เรื่องความเร็วของแสงที่คงที่เสมอ แต่แสงก็ตกอยู่ภายใต้กฎของแรงโน้มถ่วง ดังนั้นจึงเดินทางเป็นเส้นโค้งได้ ตามแรงโน้มถ่วงของดวงดาว ไอน์สไตน์พิสูจน์ให้เห็นว่า เวลาสามารถยืดหด และเดินช้า เดินเร็วได้ ขึ้นอยู่กับสถานที่แต่ละแห่ง เช่นเวลาของคนที่อยู่บนยานอวกาศที่เดินทางด้วยความเร็วสูงจะเดินช้ากว่าเวลาของคนอาศัยอยู่บนโลก
  • บทที่ 4 “ความว่างภายในอะตอม” เนื้อหากล่าวถึงทฤษฎีควอนตัมซึ่งทฤษฎีนี้ช่วยอธิบายส่วนที่เล็กที่สุดที่บรรจุอยู่ภายในอะตอม อันเป็นการช่วยยืนยันว่า ไม่มีสิ่งใดคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ
  • บทที่ 5 “พุทธกับวิทยาศาสตร์” มีการเปรียบเทียบความรู้และคำสอนทางพุทธศาสนาที่ต่างกันเพียงวิทยาศาสตร์พยายามค้นคว้าและพิสูจน์ในทางวัตถุหรือรูปธรรม แต่พุทธศาสนาได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งรวมไปถึงเรื่องทางนามธรรมหรือเรื่องราวของจิตด้วย
  • บทที่ 6 “ปัญญาญาณ” ความรู้ ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดขึ้นจากการค้นคว้าเสมอไป แต่การรวมจิตให้เป็นหนึ่งก็สามารถทำให้เกิดความรู้ในเรื่องราวที่ลึกซึ้งได้เหมือนกัน
  • บทที่ 7 “ความมหัศจรรย์ของจิต” กล่าวถึงความลึกลับซับซ้อนของจิต ที่พระพุทธเจ้าได้สอนเรื่องของจิตนี้มาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว และเป็นความจริงที่จริงแท้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และจิตเป็นสิ่งที่เร็วกว่าแสงมาก
  • บทที่ 8 “เกิด-ดับ” ทุกสิ่งมีการเกิดดับ ไม่เว้นแม้แต่จักรวาล รวมไปถึงทฤษฎีความรู้ต่างๆ ของนักวิทยาศาสตร์ซึ่งเมื่อความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น ทฤษฎีเก่าก็ล้าสมัยไป ต่างจากสัจธรรมของพระพุทธเจ้าที่ยังคงจริงแท้ตลอดมา
  • บทที่ 9 “มิติที่ 4 มิติของเวลา” ไอน์สไตน์ยืนยันว่านอกจากเวลาจะยืดหด เวลายังย้อนกลับได้ด้วย ตรงกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทางพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อรวมอารมณ์ให้เป็นหนึ่งเดียว มีสมาธิแน่วแน่แล้ว สามารถย้อนเวลาไปหาอดีต หรือล่วงรู้เรื่องราวในอนาคตได้ หรือ มิติที่ 4 เรื่องเวลานี้สามารถเปรียบได้กับนิพพานซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยาก
  • บทที่ 10 “ความสุขและความจริงแท้” สรุปเนื้อหาพุทธศาสนามีความรู้ที่ครอบคลุมมากกว่าวิทยาศาสตร์ และนอกจากความรู้แล้วยังนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตอีกด้วย

อ้างอิง แก้