ชีวิต

สถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ต

ชีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต

The various levels of the scientific classification system.สปีชีส์สกุลวงศ์อันดับชั้นไฟลัมส่วนอาณาจักรโดเมนชีวิต
The various levels of the scientific classification system.

แปดลำดับขั้นสำคัญ ๆ ของการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์  ตามแผนภาพไม่ได้แสดงลำดับขั้นที่อยู่อื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างนี้

ชีวิต
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 4280–0Ma
ต้นไม้ในทิวเขารูเวนโซรี, ยูกันดา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
เขต และอาณาจักร

ชีวิตบนโลก:

ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้

  1. ลักษณะเฉพาะในการจัดการของระบบร่างกาย (specific oganization)
  2. มีกระบวนการสันดาป (metabolism)
    1. กระบวนการสลาย หรือ แคแทบอริซึม (catabolism)
    2. กระบวนการสร้าง หรือ แอแนบอริซึม (anabolism)
  3. มีการสืบพันธุ์ (reproduction)
  4. มีการเจริญและการเติบโต (Development and growth)
  5. มีการเคลื่อนไหว (movement)
  6. มีความรู้สึกตอบสนอง (irritability)
  7. มีการปรับตัวและวิวัฒนาการ (adaptation and evolution)
  8. มีภาวะธำรงดุล (homeostasis)

โครงสร้างสิ่งมีชีวิต แก้

ทุกชีวิตมีประกอบด้วยส่วนที่เล็กสุดเรียกว่าเซลล์ บางสิ่งมีชีวิตก็มีเพียง เซลล์เดียว(สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว) บางสิ่งมีชีวิตก็ประกอบด้วยหลายๆเซลล์มารวมกัน(สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์) เพื่อให้มีหน้าทีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง กลุ่มของเซลล์ที่มารวมๆกันเป็นกลุ่มของเซลล์เรียกว่าเนื้อเยื่อ และในสัตว์จะเราจะแบ่งกลุ่มเนื้อเยื้อเป็นสี่ประเภทหลักๆ คือ กลุ่มเนื้อเยื่อบุผิว , กลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน , กลุ่มเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ , กลุ่มเนื้อเยื่อประสาท กลุ่มเนื้อเยื้อบางส่วนจะทำงานร่วมกัน เป็นอวัยวะ ที่มีหน้าที่เฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น ( หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือด หรือผิวหนังที่ทำหน้าทีปกป้องเราจากสภาพแวดล้อมภายนอก ) การร่วมตัวของกลุ่มเนื้อเยื้อรวมกันเป็นระบบอวัยวะของร่างกาย เช่น ระบบสืบพันธุ์ , ระบบย่อยอาหาร ซึ่งร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต

เซลล์ แก้

การค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เริ่มต้นจากปี ค.ศ.1655 รอเบิร์ต ฮุก(Robert Hook) ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบที่มีลำกล้องป้องกันแสงจากภายนอกรบกวน แล้วนำไปส่องดูชิ้นไม้คอร์คที่ฝานบาง ๆ ได้พบโครงสร้างที่มีรูปร่างเป็นช่องเหลี่ยมเล็ก ๆ จึงเรียกว่า เซลล์(Cell) ตามฮุกก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้พบและตั้งชื่อเซลล์เป็นคนแรก

ทฤษฎีเซลล์ ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1838 โดย Schleiden ซึ่งเป็นนักชีววิทยาชาวเยอรมัน ได้ศึกษาเซลล์ของพืชชนิดต่าง ๆ แล้วสรุปว่า พืชทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ ต่อมาในปี ค.ศ.1839 Schwann ซึ่งเป็นนักชีววิทยาชาวเยอรมันได้ศึกษาเซลล์ของสัตว์ แล้วสรุปว่า เนื้อเยื่อของสัตว์ประกอบด้วยเซลล์ ในปีนี้เอง Schleiden และ Schwan ได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory) มีสาระสำคัญ คือ “สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ประกอบด้วย เซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์” และในปี ค.ศ.1855 Rudolf Virchow ได้ศึกษาการเจริญเติบโตของเซลล์และการเพิ่มจำนวนเซลล์จากเซลล์ที่เจริญเติบโต จึงเพิ่มเติมทฤษฎีเซลล์ว่า “เซลล์ทุกชนิดย่อมมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีอยู่ก่อน” ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของชีววิทยาสมัยใหม่ มีสาระสำคัญคือ

  1. สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์
  2. เซลล์ที่เกิดใหม่ย่อมต้องมาจากเซลล์เดิมเท่านั้น
  3. เซลล์ทุกชนิดมีส่วนประกอบพื้นฐานและกระบวนการสร้างและสลาย (Metabolism) เหมือนกัน
  4. พฤติกรรม กิจกรรม และกระบวนการต่าง ๆ ที่ดำเนินอยู่ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานร่วมและประสานกันของกลุ่มเซลล์

อย่างไรก็ตามเซลล์ถูกแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ เซลล์ยูแคริโอต ( Eukaryotic cell ) และเซลล์โพรแคริโอต ( prokaryotic cell) เซลล์ยูแคริโอต คือเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงพบนิวเคลียสในเซลล์ มีสารพันธุกรรมอยู่ภายในนิวเคลียส ได้แก่ เซลล์สิ่งมีชีวิตทั่วไปที่นอกเหนือจากพวกโพรแคริโอต เช่น โพรทิสต์ เห็ดรา พืช และสัตว์ ส่วน เซลล์โพรแคริโอต คือเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงไม่เห็นว่ามีนิวเคลียส สารพันธุกรรม(ดีเอ็นเอ)กระจายอยู่ในไซโทพลาสซึม ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae) สิ่งมีชีวิตพวก โพรแคริโอต ถูกจำแนกอยู่ในอาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera) เท่านั้น

สิ่งมีชีวิตนอกโลก แก้

โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เรารู้ได้ในขณะนี้ ถึงแม้ว่าจะมีทฤษฎีที่อธิบายการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต แต่ทฤษฎีเหล่านั้นยังคงไม่สามารถอธิบายการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตบนโลกและนอกโลกได้อย่างชัดเจน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • การค้นพบและทฤษฎีของเซลล์ [1]
  • Kauffman, Stuart. The Adjacent Possible: A Talk with Stuart Kauffman. Retrieved Nov. 30, 2003 from [2]
  • Walker, Martin G. LIFE! Why We Exist...And What We Must Do to Survive (Book Page เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) (Web Site เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), Dog Ear Publishing, 2006, ISBN 1-59858-243-7
  • Nealson KH, Conrad PG (December 1999). "Life: past, present and future". Philos. Trans. R. Soc. Lond., B, Biol. Sci. 354 (1392): 1923–39. doi:10.1098/rstb.1999.0532. PMC 1692713. PMID 10670014.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน