ฉบับร่าง:ไทยคม 1

(เปลี่ยนทางจาก ไทยคม 1)
ไทยคม 1A
ประเภทภารกิจดาวเทียมสื่อสาร
ผู้ดำเนินการไทย บมจ. ไทยคม
COSPAR ID1993-078B
SATCAT no.22931
ระยะภารกิจ15 ปี
ข้อมูลยานอวกาศ
BusHS-376
ผู้ผลิตHuge space aircraft
มวลขณะส่งยาน1,080 kg (2,380 lb)
กำลังไฟฟ้า800 วัตต์
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น18 ธันวาคม พ.ศ.2536
จรวดนำส่งสหภาพยุโรป Ariane4 (44L)
ฐานส่งฝรั่งเศส kourou ELA-2
ผู้ดำเนินงานฝรั่งเศส Ariane space
สิ้นสุดภารกิจ
ปิดการทำงานพ.ศ.2551
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงโลกเป็นศูนย์กลาง
ระบบวงโคจรวงโคจรค้างฟ้า
วันที่ใช้อ้างอิงมิถุนายน พ.ศ.2540
อุปกรณ์ส่งสัญญาณ
ความถี่12,36 MHz C band
3,54~MHz Ku band
พื้นที่ครอบคลุมไทย ไทย

ลาว ลาว
กัมพูชา กัมพูชา
ประเทศพม่า เมียนมาร์
มาเลเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม เวียดนาม
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น

จีน จีน(ฝั่งตะวันออก)
ไทยคม 2 →
 

ไทยคม 1 (อังกฤษ: Thaicom 1) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทย โดยมีผู้รับจ้างเป็น บริษัท แอเรียน สเปซ จำกัด(ฝรั่งเศส) ปล่อยสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2536 ที่ประเทศฝรั่งเศส และเป็นดาวเทียมดวงแรกในดาวเทียมไทยคม

การส่งขึ้นสู่วงโคจร แก้

ดาวเทียมไทยคม 1A ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโลกจากฐานส่งของบริษัท แอเรียนสเปซ (Arianespace) ที่เมืองคูรู (Kourou) ประเทศเฟรนช์เกียนา (French Guiana) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2536 เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ในเอเชีย และต่อมาในวันที่ 8 ตุลาคม 2537 จึงได้มีการส่งดาวเทียมไทยคม 2 ขึ้นสู่วงโคจร ดาวเทียมไทยคม 1A และไทยคม 2 ให้บริการย่านความถี่ C-Band ครอบคลุมประเทศไทย สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน และให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ครอบคลุมประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน โดยไทยคมถือเป็นผู้ประกอบการดาวเทียมรายแรกในภูมิภาคที่ให้บริการส่งสัญญาณออกอากาศรายการโทรทัศน์ในย่านความถี่ KU-Band รวมถึงบริการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมถึงผู้รับตามบ้าน (Direct-to-Home) และยังเป็นผู้บุกเบิกนำเทคโนโลยีบีบอัดสัญญาณ MPEG-2/DVB มาใช้เป็นรายแรกของโลก

การครอบคลุม แก้

 
แผนที่แสดงการให้บริการของไทยคม 1A

ดาวเทียมไทยคม 1A ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา ประเทศเมียนมาร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

1.ดาวเทียมไทยคมสืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2024

2.Thaicom 1สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2024

แหล่งข้อมูลอื่น แก้