โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย

โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย (อังกฤษ: Phuket Wittayalai School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทสหศึกษา ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้งขึ้นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2440 เดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาไทยอยู่ในบริเวณวัดมงคลนิมิตร (จังหวัดภูเก็ต) นับว่าเป็นโรงเรียนสอนหนังสือแห่งแรกในมณฑลภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่ 23 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 6 หลัง

โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
Phuket Wittayalai School
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา
บัณฑิต​ ย่อมฝึกตน
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นภ.ว./PKW
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
สถาปนาพ.ศ. 2440 (127 ปี 116 วัน)
เขตการศึกษาพังงา-ภูเก็ต-ระนอง
รหัส1004830101
ผู้อำนวยการดร.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน
จำนวนนักเรียน3,076 คน
(พ.ศ. 2566)
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน • ไทย
 • อังกฤษ
 • จีน
สี   ฟ้า-ขาว
เพลงมาร์ชภูเก็ตวิทยาลัย
เว็บไซต์www.pkw.ac.th

ประวัติ แก้

โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ตั้งขึ้นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2440 เดิมเป็น โรงเรียนสอนภาษาไทยอยู่ใน บริเวณวัดมงคลนิมิตร ในสมัยที่พระยาทิพโกษา เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล พระเทวพรหมาบดี เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลภูเก็ต นับว่าเป็นโรงเรียนสอนหนังสือแห่งแรกในมลฑลภาคใต้ฝั่งตะวันตกมี พระวิสุทธิวงศาจารย์ สังฆปาโมกข์ (เพรา พุทธสโร) เป็นผู้ดำเนินการ (ครูใหญ่) ท่านผู้นี้ได้สร้างความเจริญ ในด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนเป็นอย่างมาก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบูรพาจารย์ท่านแรกของโรงเรียน ปัจจุบันโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย เปิดการเรียนการสอนมายาวนานกว่า 125 ปี

ปี
พ.ศ. 2440 เดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาไทยอยู่ในบริเวณวัดมงคลนิมิตรในสมัยพระยาทิพโกษาเป็น ข้าหลวงเทศาภิบาลพระเทวพรหมาบดีเป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลภูเก็ตนับว่าเป็นโรงเรียนสอน หนังสือแห่งแรกในมณฑลภาคใต้ฝั่งตะวันตกมี พระวิสุทธิวงศาจารย์สังฆปาโมกข์ (เพราพุทฺธสโร) เป็นผู้ดำเนินการ (ครูใหญ่) ท่านผู้นี้ได้สร้างความเจริญในด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนเป็นอย่าง มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบุรพาจารย์องค์แรกของโรงเรียน
พ.ศ. 2442 ในสมัยพระยาวรสิทธิ์ เสรีวัตร มารับตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต จึงได้ตั้งชื่อ

โรงเรียนนี้ว่า" โรงเรียนวรสิทธิ์ วัดมงคลนิมิตร" จัดการศึกษาในระดับประถมสำหรับ นักเรียนชายแต่มีนักเรียนหญิงที่สนใจเรียนอยู่ด้วย

พ.ศ. 2452 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และหลวงอุปการศิลป

เสริฐ (อั๋น ชัชกุล) เป็นธรรมการมณฑลภูเก็ต มีบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทั่วไป บริจาคเงินเพื่อบำรุงการศึกษา จึงได้สร้างโรงเรียน 2 โรง คือโรงเรียนปลูกปัญญาอยู่ใน วัดมงคลนิมิตรสอนในระดับประถมศึกษาสำหรับนักเรียนหญิงและชายรุ่นเล็กและโรงเรียนตัวอย่าง มณฑลภูเก็ต (ตั้งอยู่ ในบริเวณโรงเรียนสตรีภูเก็ตปัจจุบัน) สอนนักเรียนชายในระดับประถม และ มัธยมสอนชั้นสูงสุดเพียงมัธยมปีที 5 เท่านั้น มีนายชุ่ม ชินะเตมีย์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ต่อมา ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระประมูลวิชาเพิ่ม

พ.ศ. 2456 ได้เปิดสอนนักเรียนชั้นฝึกหัดครู รับนักเรียนในจังหวัดต่างๆ ในมณฑลภูเก็ต
พ.ศ. 2460 เปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนตัวอย่างมณฑลภูเก็ต" มาเป็น "โรงเรียนประจำมณฑลภูเก็ต

ภูเก็ตวิทยาลัย" มี หลวงโหรกิตยานุพัทธ์ (อี๋ โหตรกิตย์) เป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2476 เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนประจำจังหวัด ภูเก็ตวิทยาลัย"
พ.ศ. 2477 ม.ล.ตุ้ยชุมสาย มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนได้รับการพัฒนาอย่างมากท่านได้ขยาย

การศึกษาถึงชั้นมัธยมปลาย ( ม. 7, ม.8) หรือชั้นอุดมศึกษาเป็นครั้งแรก เปิดรับนักเรียนหญิงที่ จบชั้น ม.6 จากโรงเรียนสตรีมาเรียนในระดับมัธยมปลาย นับเป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับ มัธยมปลายเป็นสมัยแรกนอกจากนั้นท่านยังเป็นต้นคิดใช้ ข้อทดสอบแบบปรนัย นับเป็นสถาบัน แรกในประเทศไทยที่ใช้ข้อสอบแบบปรนัย มีการจัดสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ ภาษาที่สองควบคู่กับภาษาอังกฤษ

พ.ศ. 2480 อาคารเรียนเดิมทรุดโทรมจนไม่อาจซ่อมแชมได้ กระทรวงศึกษาธิการให้งบประมาณจำนวน

150,000 บาท มาปลูกสร้างอาคารใหม่ บริเวณสนามชุมพล เป็นอาคาร 2 ชั้นก่ออิฐ เป็นอาคาร ที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน

พ.ศ. 2485 ดร. สาโรช บัวศรี ศิษย์เก่าของโรงเรียนได้มาดำรงตำแหน่งครู ใหญ่ ได้ดำเนินการพัฒนา

โรงเรียนจนมีชื่อเสียง มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เปิดสอนตั้งแต่ ม.1 - ม.6 ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479

พ.ศ. 2496 โรงเรียนประจำจังหวัดภูเก็ต ได้เปิดสอนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือชั้นเตรียมอุดม

ศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ และแผนกวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2498 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่สอง จำนวน 289,000 บาท เป็นอาคาร 2 ชั้น

12 ห้องเรียน ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง (ปัจจุบันรื้อแล้ว)

พ.ศ. 2500 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร 3 จำนวน 1,500,000 บาทและขุนเลิศโภคารักษ์ได้บริจาคเงิน

45,000 บาทสร้างอาคารห้องสมุด "เลิศโภคารักษ์" เป็นอาคารเอกเทศ ปัจจุบันเป็นอาคารพยาบาล

ทำเนียบผู้บริหาร แก้

ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2440 ถึงปัจจุบัน โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยมีผู้บริหารทั้งหมด 34 ท่าน

ลำดับ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1 พระวิสุทธิวงศ์ศาจารย์ญาณมุนีสังฆปาโมกข์ (พระภิกษุเพรา พุทธสโร) พ.ศ. 2440 - 2445
2 อำมาตย์เอกพระยาอุปการศิลปเสริฐ (อั๋น ชัชกุล) พ.ศ. 2445 - 2446
3 พระวิสณฑ์ดรุณการ ไม่ปรากฏหลักฐาน
4 พระประมูลวิชาเพิ่ม ( ชุ่ม ประมูลวิชาเพิ่ม หรือ ชินะเตมีย์ ) พ.ศ. 2456 - พ.ศ.ใดไม่ปรากฏหลักฐาน
5 หลวงโหตรกิตยานุพัทธ์ (อี่ โหตรกิตย์) พ.ศ.ไม่ปรากฏหลักฐาน - 2460
6 ขุนมานพานุศาสน์ ไม่ปรากฏหลักฐาน
7 ขุนวิทยาวุฒิ ไม่ปรากฏหลักฐาน
8 ขุนวิจักษ์จรรยา ไม่ปรากฏหลักฐาน
9 ขุนวิศิษฐ์จรรยา พ.ศ. 2469 - 2471
10 ขุนจรรยาวิทูร พ.ศ. 2471 - 2472
11 นายกอง วิสุทธารมณ์ พ.ศ. 2472 - 2473
12 นายชวน อังศุละโยธิน พ.ศ. 2473 - 2476
13 นายพร้อม จิตรศิริ พ.ศ. 2476 - 2477
14 หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย พ.ศ. 2477 - 2479
15 หม่อมเจ้าศิวากร วรวรรณ พ.ศ. 2479 - 2481
16 นายพงศ์อินทร์ ศุขขจร พ.ศ. 2481 - 2485
17 ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี พ.ศ. 2485 - 2489
18 นายครอบ นรบาล พ.ศ. 2489 - 2513
19 ว่าที่ร้อยตรีนิยม เสรีรัตน์ พ.ศ. 2513 - 2514
20 นายครอบ นรบาล พ.ศ. 2514 - 2516
21 นายสมบูรณ์ ศรีสุทธิ์ พ.ศ. 2516 - 2520
22 นายบัญญัติ บูรณะหิรัญ พ.ศ. 2520 - 2523
23 นายสนั่น ชุมวรฐายี พ.ศ. 2523 - 2525
24 นายสุเทพ ภัทรปกรณ์ พ.ศ. 2525 - 2537
25 นายพะยงค์ อุบลขาว พ.ศ. 2537 - 2539
26 นายสุวิชช์ ศรีทิพยราช พ.ศ. 2539 - 2542
27 นายนิกร ธีระจามร พ.ศ. 2542 - 2547
28 นายสาธร ลิกขะไชย พ.ศ. 2547 - 2550
29 นายนิกร ธีระจามร พ.ศ. 2550 - 2552
30 นางสาวสดศรี ตันสุธัญลักษณ์ พ.ศ. 2553 - 2555
31 นายณชัย เขมนิพัทธ์ พ.ศ. 2555 - 2557
32 นายอุเทน จิตต์สำรวย พ.ศ. 2557-2559
33 ดร.โกศล ใสขาว พ.ศ. 2559 - 2562
34 ดร.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

การเรียนการสอน แก้

โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย มีแผนการจัดชั้นเรียน มีดังนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แก้

  • ห้องเรียนโครงการพิเศษส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (Gifted : SMP)
  • ห้องเรียนโครงการพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท. Intensive Science Mathematics and Technology (Intensive : SMT)
  • ห้องเรียนโครงการพิเศษเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ English Program (EP)
  • ห้องเรียนโครงการพิเศษส่งเสริมความเป็นเลิศด้าวยภาษาจีน ภาษาอังกฤษ Intensive Chinese and English Program (Gifted : ICE)
  • ห้องเรียนพหุปัญญา(ทั่วไป) MIP

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แก้

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์

  • โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (ภาคสมทบ)(เป็นโครงการจัดห้องเรียนพิเศษจำนวน 207 แห่งทั่วประเทศที่กำกับติดตามโดย สสวท.)
  • การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต ทั่วไป)

แผนการเรียนศิลปศาสตร์

  • โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ (ศิลป์คำนวณพิเศษ)
  • การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ (ศิลป์คำนวณ)

การจัดการศึกษาทางด้านศิลปศาสตร์ (ศิลป์ภาษา)

  • การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส
  • การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
  • การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น
  • การจัดการศึกษาภาษาอาหรับ

กิจกรรม แก้

  1. ประเพณีการรับน้องใหม่ เรียกวันรับน้องใหม่ว่า วันเพาะกล้าชงโค
  2. การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนงานกีฬาสี
  3. งานแสดงมุทิตาจิต ต่อคุณครูที่เกษียณอายุราชการและคุณครูที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ
  4. การแข่งขันกีฬา กรีฑา นักเรียน นักศึกษาและประชาชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยดำเนิน การแปรอักษร มากว่า 30 ปี
  5. การแข่งขัน กีฬาประเพณีไตรภาคี เป็นการแข่งขันกีฬาร่วมกันระหว่าง3โรงเรียนในจังหวัดภูเก็ต คือ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โรงเรียนสตรีภูเก็ต และ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ภูเก็ต
  6. การแข่งขันกีฬาประเพณีฟุตซอลีกในระดับชั้น ม.5
  7. วันเปิดประตูสู่สถานศึกษาภูเก็ตวิทยาลัย Open House
  8. การแข่งขันกีฬาฟุตบอลประเพณีอำลาคัพ ซึ่งแข่งขันกันในระดับชั้น ม.3 และ ม.6
  9. ประเพณี วันพี่อำลาน้อง จัดขึ้นในระดับ ม.6 เพื่อให้รุ่นพี่ชั้น ม.6อำลารุ่นน้อง ซึ่งเป็นวันเปิดเรียนวันสุดท้ายของชั้น ม.6
  10. งานปัจฉิมนิเทศ จัดขึ้นเพื่อแสดงความสำเร็จแก่นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 เรียกว่า วันชงโคปัจฉิมนิเทศ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

7°53′35″N 98°23′19″E / 7.89296°N 98.388737°E / 7.89296; 98.388737