โรงเรียนดรุณสิกขาลัย

ดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (อังกฤษ: Darunsikkhalai School for Innovative Learning) เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในกำกับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 และเปิดทำการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2544 โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือระหว่าง MIT Media Lab มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มูลนิธิศึกษาพัฒน์ และมูลนิธิไทยคม[2] โดยมีหลักสูตรหลักที่ชื่อว่า "ชั้นเรียนโครงงาน" หรือ Project-based Learning เพื่อฝึกฝนและพัฒนาทักษะ รวมถึงกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อตามอัธยาศัย สอดคล้องตามวัยและความพร้อมของตัวผู้เรียน[3]

โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
แผนที่
ดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140

ประเทศไทย
พิกัด13°39′01″N 100°29′42″E / 13.650149°N 100.495017°E / 13.650149; 100.495017
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนสาธิตในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา[1]
สถาปนา20 กรกฎาคม 2000
(23 ปีก่อน)
 (2000-07-20)
การกำกับดูแลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผู้อำนวยการนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
2544-ปัจจุบัน
ระดับชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เพศโรงเรียนสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่โรงเรียนได้จัดสอน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
สี
  •   สีแสด
  •   สีเทา
เว็บไซต์e-school.kmutt.ac.th
 

ในปี พ.ศ. 2539 คณะศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ได้รวมตัวกันก่อตั้งมูลนิธิ FREE โดยมี ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ เป็นประธานมูลนิธิ และในปีเดียวกันได้รับพระราชทานนามใหม่ให้ว่า “มูลนิธิศึกษาพัฒน์” โดยมี นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ แบงกอก เชาว์ขวัญยืน ร่วมเป็นกรรมการและคณะผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ร่วมกันพัฒนาการศึกษาแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อการเรียนการสอน จึงได้ประสานงานติดต่อกับ MIT Media Lab และนำเอาทฤษฎี “Constructionism” มาปรับใช้ภายใต้โครงการความร่วมมือ Lighthouse Project ของมูลนิธิศึกษาพัฒน์ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และวิธีการบริหารจัดการ ตลอดจนวิธีคิด ในขณะนั้น เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถนำวิธีการ Constructionism ไปขยายผลในโรงเรียนได้ดีเท่าที่ควร จึงมีแนวคิดว่า ควรต้องมีโรงเรียนตัวอย่างของตัวเอง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2543 นายพารณได้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี ดร.หริส สูตะบุตร เป็นอุปนายกสภา และนายแบงกอกเป็นกรรมการสภา ได้ร่วมกันเสนอสภามหาวิทยาลัยให้พิจารณาการจัดตั้งโรงเรียนต้นแบบตามแนวคิดข้างต้น สภามหาวิทยาลัยจึงมีมติเห็นควรให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นภายในมหาวิทยาลัย โดยมีสถานะเทียบเท่าภาควิชาหนึ่งของมหาวิทยาลัยและมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระโดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ[4]

สำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ แก้

โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
(โครงการห้องเรียนวิศว์-วิทย์)
 
 
 
ชั้น 6 สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน เลขที่ 49 ซอยเทียนทะเล 25 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม. 10150

ประเทศไทย
พิกัด13°34′38″N 100°26′29″E / 13.577361°N 100.441502°E / 13.577361; 100.441502
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนสาธิตในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
การกำกับดูแลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผู้อำนวยการดร. ก้องกาญจน์ วชิรพนัง
(รักษาการ)
ระดับชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เพศโรงเรียนสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่โรงเรียนได้จัดสอน
  ภาษาไทย
  ภาษาอังกฤษ
  ภาษาญี่ปุ่น[note 1]
สี
เว็บไซต์gifted.kmutt.ac.th
 

ในปีการศึกษา 2551 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินงานโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน จึงได้เลือกมหาวิทยาลัยที่มีคณะและภาควิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความพร้อมมาทั้งสิ้น 4 แห่งเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี - โรงเรียนดรุณสิกขาลัย[5] ต่อมาหลังจากลงนามร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ตั้งสถาบันไทยโคเซ็น (Thai KOSEN) จำนวน 2 สถาบัน คือ สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ สถาบันโคเซ็นแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[6]

สำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการทางการศึกษา 2 โครงการ ในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คือ โครงการ วมว. และ สถาบันโคเซ็น (KOSEN)

โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย แก้

โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (วมว.) เป็นโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการ การเรียนการสอนของโครงการ วมว. ดรุณสิกขาลัย ยึดแนวคิดเดียวกันกับโรงเรียนดรุณสิกขาลัยในการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติหลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนในโครงการฯ ตั้งอยู่บนแนวคิดแบบ Story Based Learning หรือร้อยเรียงเรื่องราวเพื่อการเรียนรู้ และประยุกต์ทฤษฎี Constructionism เข้ากับหลักสูตรแกนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างนักคิดนักประดิษฐ์ที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม โดยการเรียนนั้นจะไม่แบ่งรายวิชาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรหัสวิชาแยกเป็นของตนเอง

นักเรียนทุกคนถือว่าเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลและไม่จำเป็นในการเสียค่าบำรุงการศึกษา โดยจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีละ 200,000 บาท รวมถึงไม่ต้องมีการชดใช้ทุนคืนหลังจบการศึกษา[7] และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคนจะได้รับ iPad 1 เครื่องสำหรับการศึกษา โดยคืนเมื่อเรียนจบ

KOSEN KMUTT แก้

 
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และ 3 กำลังนำเสนอผลงานในงาน Thai KOSEN Fair 2023

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 อนุมัติ "โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค" จัดตั้ง 2 สถาบันไทยโคเซ็น คือ KOSEN-KMITL และ KOSEN-KMUTT โดย KOSEN-KMUTT เป็นสถาบันไทยโคเซนแห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยมีหลักสูตรการเรียนที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และทักษะวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านแนวคิด Story-based learning โดยหลักสูตรที่นำสอนมิใช่การยกหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นมาทั้งหมด แต่เป็นการนำมาปรับเพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตของนักศึกษาไทยและเพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมของประเทศได้[8] เริ่มเปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 ในหลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ (Automation Engineering) ส่วนหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ (Bio Engineering) เริ่มทำการสอนในปีการศึกษา 2565[9] และหลักสูตรวิศวกรรมเกษตร (Agri Engineering) จะเปิดต่อมาในปีการศึกษา 2567[10] โดยมีคณะอาจารย์จากประเทศญี่ปุ่นร่วมทำการสอน ดังนั้นการเรียนในบางรายวิชาจึงเรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก การเรียนนั้นจะไม่แยกรายวิชาตามหลักกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกับโครงการวมว. รวมถึงมีหลักสูตรทางวิศวกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น นั่นรวมถึงมีการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักศึกษาด้วย

เมื่อถึงชั้นปีที่ 2 หรือ เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 5 นักศึกษามีสิทธิที่จะเข้ารับการทดสอบทั้งสิ้น 3 ขั้นตอนเพื่อเข้าศึกษาต่อโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น เริ่มจากการสอบคัดเลือกนักศึกษาให้เหลือ 4 คนต่อหนึ่งห้อง ต่อมาเป็นการทำข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นเทียบเท่าระดับ N3 และการสอบสัมภาษณ์จากโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่นเป็นขั้นตอนสุดท้าย[note 2][11] โดยจำนวนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งการสอบและการสัมภาษณ์นั้นจะขึ้นอยู่กับปีนั้น ๆ นั่นรวมถึงโอกาสที่จะไม่มีคนผ่านย่อมที่จะเกิดขึ้นได้

ตารางเทียบอายุกับระดับชั้นการศึกษาโคเซ็น[12][13]
อายุ (ปี) สายสามัญ สายอาชีพ KOSEN ภาษาญี่ปุ่น
16 มัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 1 ปี 1 高専一年生
17 มัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 2 ปี 2 高専二年生
18 มัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 3 ปี 3 高専三年生
อุดมศึกษาและเทียบเท่า
อายุ (ปี) สายตรงทั่วไป สายอนุปริญญา KOSEN ภาษาญี่ปุ่น
19 บัณฑิตปี 1 อนุปริญญาปี 1 ปี 4 高専四年生
20 บัณฑิตปี 2 อนุปริญญาปี 2 ปี 5 高専五年生
21 บัณฑิตปี 3 ต่อเนื่องปี 1 หลักสูตรขั้นสูงปี 1[k 1] 専攻科
- บัณฑิตปี 4-6 ต่อเนื่องปี 2-4 หลักสูตรขั้นสูงปี 2
- บัณฑิต (ปริญญาตรี) 学士
- มหาบัณฑิต (ปริญญาโท) 修士
- ดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) 博士
หมายเหตุ
  1. เป็นหลักสูตร 2 ปี (Advanced Course) โดยต้องผ่านการสอบ JLPT N2 รวมทั้งการวัดระดับทางวิชาการอื่น ๆ ที่กำหนด หากผ่านการคัดเลือกต้องทำสัญญาเพิ่มเติม เพิ่มระยะเวลาการชดใช้ทุนเป็น 7 ปี

นักศึกษาเมื่อเรียนจบ 5 ปีแล้วนั้น จะได้วุฒิการศึกษา ม.6 และ อนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงควรมีความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นในระดับเทียบเท่า N3 ในการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (JLPT) หรือมากกว่า โดยสามารถเข้ารับการทำงานได้ทันที หรือ เรียนต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่าก็ได้[14] แต่เมื่อเรียนจบแล้ว จำเป็นต้องมีการใช้ทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนไป โดยทำงานในหน่วยงานชดใช้ทุนตามที่สัญญาทุนกำหนดไว้ ในระหว่างเข้ารับการศึกษา นักศึกษาไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงการศึกษา และจะได้รับเงินสำหรับใช้จ่ายส่วนตัวในทุก ๆ เดือน รวมถึงการที่มีหลักสูตรที่แตกต่างจากวมว. นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หรือ เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคนจึงจะได้รับแล็ปท็อปจำนวน 1 เครื่อง เพื่อใช้ในการศึกษาและใช้โปรแกรมต่าง ๆ จำพวก Tinkercad, SolidWorks ฯลฯ และคืนเมื่อจบการศึกษา

หมายเหตุ แก้

  1. เฉพาะโครงการ KOSEN-KMUTT
  2. ขั้นตอนอาจไม่เหมือนกันในแต่ละปี

อ้างอิง แก้

  1. โรงเรียนสาธิตในกำกับสกอ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2564
  2. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย. แนวคิดการจัดการเรียนการสอน เก็บถาวร 2021-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2564
  3. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย. หลักสูตร เก็บถาวร 2021-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
  4. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย. ความเป็นมาในการก่อตั้งโรงเรียน เก็บถาวร 2021-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
  5. โครงการ วมว. . ความเป็นมาของโครงการ เก็บถาวร 2021-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2564
  6. Techsauce Team. (2018). ครม.เห็นชอบตั้งสถาบัน Thai KOSEN ที่ สจล. และ มจธ. สร้างคนทำงานด้าน Sci-Tech. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2564
  7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. โครงการวมว. ดรุณสิกขาลัย. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2564
  8. แนวหน้า. (2563). KOSEN KMUTT ไม่ใช่เป็นการยกระบบ KOSEN ญี่ปุ่น เป็นรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์การสร้างกำลังคนของประเทศ. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
  9. กรุงเทพธุรกิจ. (2563). KOSEN KMUTT ผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ เคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564
  10. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). Fact Sheet Thai KOSEN. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
  11. KOSEN KMUTT. 21 มกราคม 2565. คุยกับตัวแทนนักเรียน KOSEN KMUTT คนแรก. (facebook.com). สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565
  12. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น(Facebook). สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
  13. Kobe City College of Technology. (2562). 高専とは?. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2564
  14. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2563). โคเซ็น มจธ. (KOSEN KMUTT). สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2564

แหล่งข้อมูลอื่น แก้