เรือพยาบาล (อังกฤษ: hospital ship) เป็นเรือกำปั่นที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หลักในฐานะสถานการรักษาทางการแพทย์หรือโรงพยาบาลที่ลอยอยู่บนน้ำ ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยกองกำลังการทหาร (ส่วนใหญ่เป็นกองทัพเรือ) ในหลาย ๆ ประเทศ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในเขตสงคราม หรือใกล้เขตสงคราม[1] ในคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า เรือรบสำรองได้รับการนำมาใช้เป็นโรงพยาบาลจอดเทียบสำหรับลูกเรือ

เรือพยาบาลกองทัพเรือสหรัฐ ยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ตใน ค.ศ. 2009

อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สองห้ามมิให้มีการโจมตีทางทหารต่อเรือพยาบาล แม้ว่ากองกำลังคู่สงครามจะมีสิทธิในการตรวจสอบ และอาจนำผู้ป่วยที่บาดเจ็บฝ่ายศัตรูมาเป็นเชลยศึก[2][3]

ประวัติ แก้

ตัวอย่างตอนต้น แก้

 
แทนเจียร์ประมาณ ค.ศ. 1670 เรือพยาบาลถูกนำมาใช้ระหว่างการส่งทหารกลับด้วยท่าเรือในยุคคริสต์ทศวรรษ 1680

เรือพยาบาลอาจมีอยู่ในสมัยโบราณ กองทัพเรือเอเธนส์มีเรือชื่อเธราเปีย และกองทัพเรือโรมันมีเรือชื่ออาเอสกูลาปีอุส โดยชื่อของพวกมันบ่งบอกว่าพวกมันอาจเป็นเรือพยาบาล

เรือพยาบาลอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดอาจเป็นเรือกูดวิล ซึ่งมาพร้อมกับกองเรือรบราชนาวีในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อ ค.ศ. 1608 และได้รับการนำมาใช้เป็นโรงผู้ป่วยที่ส่งขึ้นมาจากเรือลำอื่น ๆ[4] อย่างไรก็ตาม การทดลองดูแลรักษาทางการแพทย์นี้ไม่ยืนนาน เนื่องด้วยกูดวิลได้รับมอบหมายให้ทำงานอื่น ๆ ภายในหนึ่งปี และเครื่องประกอบของผู้พักฟื้นก็ถูกทิ้งไว้ที่ท่าเรือที่ใกล้ที่สุด[5] มันไม่ใช่เรือพยาบาลจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ที่สิบเจ็ดว่าเรือราชนาวีลำใดได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการในฐานะเรือพยาบาล แล้วมีเพียงสองลำเท่านั้นตลอดทั้งกองเรือ เรือเหล่านี้เป็นทั้งเรือสินค้าที่ได้รับการว่าจ้าง หรือเรือรบหลักซิกท์เรตที่ค่อนข้างเก่า โดยนำผนังที่แบ่งเรือภายในออกเพื่อสร้างห้องเพิ่มเติม รวมถึงทางกราบซ้ายเพิ่มเติมตัดผ่านดาดฟ้าเรือและตัวเรือเพื่อเพิ่มการระบายอากาศภายใน[4]

นอกจากลูกเรือเดินเรือแล้ว เรือพยาบาลในคริสต์ศตวรรษที่สิบเจ็ดเหล่านี้ยังมีศัลยแพทย์และเพื่อนร่วมทีมศัลยแพทย์อีกสี่คน ส่วนปัญหามาตรฐานของเวชภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าพันแผล, สบู่, เข็ม และหม้อนอน ผู้ป่วยได้รับการเสนอเตียงหรือพรมเพื่อพักผ่อน และได้รับผ้าปูที่นอนที่สะอาด เรือของโรงพยาบาลในระยะแรกเหล่านี้มีไว้สำหรับการดูแลผู้ป่วยมากกว่าคนบาดเจ็บ โดยผู้ป่วยจะถูกกักกันตามอาการและผู้ติดเชื้อที่ถูกกักกันจากประชากรทั่วไปหลังแผ่นผ้าใบ ส่วนคุณภาพของอาหารแย่มาก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1690 ศัลยแพทย์บนเรือสยามได้บ่นว่าเนื้ออยู่ในสภาพการเน่าสลายขั้นสูง และขนมปังแข็งมากจนลอกหนังออกจากปากของผู้ป่วย[4]

เรือพยาบาลยังใช้สำหรับการรักษาทหารที่ได้รับบาดเจ็บที่ต่อสู้บนบก ตัวอย่างแรกเริ่มคือระหว่างปฏิบัติการของอังกฤษเพื่ออพยพแทนเจียร์ของอังกฤษใน ค.ศ. 1683 บันทึกการอพยพครั้งนี้เขียนโดยซามูเอล พีพส์ ผู้เห็นเหตุการณ์ ความกังวลหลักประการหนึ่งคือการอพยพทหารที่ป่วย "และครอบครัวจำนวนมาก รวมถึงผลกระทบที่จะต้องถูกปลด" เรือพยาบาลยูนิตี และเวลคัม ได้แล่นไปอังกฤษเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1683 โดยมีทหารทุพพลภาพ 114 นาย และเด็ก 104 คนเดินทางถึงเดอะดาวส์ในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1683[6]

จำนวนบุคลากรทางการแพทย์บนเรือพยาบาลราชนาวีเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ โดยมีกฎข้อบังคับที่ออกใน ค.ศ. 1703 กำหนดให้เรือแต่ละลำต้องบรรทุกกะลาสีเรือปีแรกหกคนเพื่อทำหน้าที่ผู้ช่วยผ่าตัด และหญิงรับจ้างซักผ้าสี่คน ครั้นปี ค.ศ. 1705 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสำหรับพยาบาลชายอีกห้าคน และข้อกำหนดจากยุคนั้นชี้ให้เห็นว่าจำนวนผ้าปูที่นอนต่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากหนึ่งเป็นสองคู่[4] ส่วนในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1798 เรือหลวงวิกตอรีที่ไม่เหมาะสำหรับประจำการในฐานะเรือรบ ได้รับคำสั่งให้เปลี่ยนเป็นเรือพยาบาลเพื่อกักขังเชลยศึกชาวฝรั่งเศสและสเปนที่บาดเจ็บ ตามที่เอ็ดเวิร์ด ฮัสเต็ด ระบุใน ค.ศ. 1798 เรือพยาบาลขนาดใหญ่สองลำ (เรียกอีกอย่างว่าแลซาเรตโต ซึ่งเป็นซากเรือปืนสี่สิบสี่ลำที่เหลือรอด) ถูกจอดอยู่ในอ่าวเล็กฮัลสโตว์ที่เคนต์ โดยอ่าวเล็กดังกล่าวเป็นทางเข้าจากแม่น้ำเมดเวย์และแม่น้ำเทมส์ ลูกเรือของเรือเหล่านี้เฝ้าดูเรือที่มาถึงอังกฤษ ซึ่งถูกบังคับให้อยู่ในลำห้วยภายใต้การกักด่าน เพื่อป้องกันประเทศจากโรคติดเชื้อรวมถึงกาฬโรค[7]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1821 ถึง ค.ศ. 1870 สมาคมโรงพยาบาลลูกเรือได้ให้บริการเรือหลวงแกรมปัส, เรือหลวงเดรดนอต และเรือหลวงแคลิโดเนีย (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นเดรดนอต) ในฐานะเรือพยาบาลต่อเนื่องที่จอดอยู่ ณ เดตเฟิร์ด ในลอนดอน[8] ส่วนใน ค.ศ. 1866 เรือหลวงแฮมาไดรแอดได้จอดอยู่ในคาร์ดิฟฟ์ในฐานะโรงพยาบาลของลูกเรือ ซึ่งแทนที่ใน ค.ศ. 1905 โดยโรงพยาบาลของลูกเรือรอยัลแฮมาไดรแอด[9] และเรือรบสำรองอื่น ๆ ได้รับการนำมาใช้เป็นโรงพยาบาลสำหรับนักโทษและเชลยศึก

เรือพยาบาลสมัยใหม่ แก้

 
เอชเอ็มเอส เมลเบิร์น ซึ่งเป็นเรือพยาบาลสมัยใหม่ลำแรก เข้าประจำการในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่สอง โดยตัดตอนเกี่ยวกับเรือมาจากดิอิลลัสเทรททิดลอนดอนนิวส์ (คลิกเพื่ออ่าน)

การจัดตั้งการใช้เรือพยาบาลโดยราชนาวีเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า ตามมาตรฐานของข้อกำหนดทางการแพทย์ที่มีอยู่ในขณะนั้นสำหรับทหารที่กำลังพักฟื้น เรือพยาบาลโดยทั่วไปแล้วเหนือกว่าในด้านมาตรฐานการบริการและการสุขาภิบาล ในช่วงสงครามไครเมียในคริสต์ทศวรรษ 1850 เรือพยาบาลสมัยใหม่เริ่มปรากฏขึ้น โรงพยาบาลทหารแห่งเดียวที่กองกำลังสหราชอาณาจักรต่อสู้บนคาบสมุทรไครเมียอยู่ที่สกูทารีใกล้ช่องแคบบอสพอรัส ซึ่งในระหว่างการล้อมเซวัสโตปอล กองทหารที่ได้รับบาดเจ็บเกือบ 15,000 นายได้รับการส่งมาจากท่าเรือที่บาลาคลาวาโดยกองเรือพยาบาลที่ได้รับการดัดแปลง[6]

เรือลำแรกที่ติดตั้งการอำนวยความสะดวกในการรักษาพยาบาลแท้จริงคือเรือกลไฟ เอชเอ็มเอส เมลเบิร์น และเอชเอ็มเอส มอริเชียส ซึ่งจัดคณะทำงานโดยเหล่าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และให้บริการแก่คณะเดินทางของสหราชอาณาจักรไปยังจีนใน ค.ศ. 1860 เรือดังกล่าวเอื้ออำนวยที่ค่อนข้างกว้างขวางสำหรับผู้ป่วย และติดตั้งห้องผ่าตัด ส่วนเรือพยาบาลลำแรกอีกลำคือยูเอสเอส เรดโรเวอร์ ในคริสต์ทศวรรษ 1860 ซึ่งช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บของทั้งสองฝ่ายในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา[6]

ในช่วงสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1877–1878) กาชาดสหราชอาณาจักรได้จัดหาเรือโครงเหล็กพร้อมอุปกรณ์การผ่าตัดที่ทันสมัย รวมทั้งคลอโรฟอร์ม และยาชาอื่น ๆ ตลอดจนกรดคาร์บอลิกสำหรับการระงับเชื้อ เรือที่คล้ายกันนี้ได้ติดตามการบุกครองอียิปต์ของสหราชอาณาจักรเมื่อ ค.ศ. 1882 และช่วยเหลือบุคลากรชาวอเมริกันในช่วงสงครามสเปน–อเมริกา ค.ศ. 1898[6]

ในช่วงที่โรคฝีดาษระบาดในลอนดอนเมื่อ ค.ศ. 1883 คณะกรรมการสถานสงเคราะห์มหานคร (MAB) ได้เช่าเรือเหมาลำและจัดซื้อต่อมาจากกองทัพเรือสองลำ ได้แก่ เอชเอ็มเอส แอตลัส และเอชเอ็มเอส เอนดีเมียน รวมทั้งเรือโดยสารใบพัดด้านข้างอย่างพีเอส คาสตาเลีย ซึ่งจอดอยู่ในแม่น้ำเทมส์ที่ลองรีช ใกล้ดาร์ตฟอร์ด[10][11] และยังคงให้บริการจนถึง ค.ศ. 1903[10][12]

นอกจากนี้ ได้มีการใช้เรือพยาบาลโดยทั้งสองฝ่ายในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1904–1905 การพบเห็นเรือพยาบาลรัสเซียที่ชื่อโอเรลโดยชาวญี่ปุ่น ซึ่งส่องสว่างตามข้อบังคับสำหรับเรือพยาบาล ได้นำไปสู่ยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะที่ชี้ขาดทางเรือ เรือโอเรลถูกยึดหน่วงไว้ในฐานะทรัพย์เชลยหลังยุทธนาวีดังกล่าว

สงครามโลก แก้

 
อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย ในฐานะเรือพยาบาลเอชเอ็มเอชเอส มอริเทเนีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการนำเรือพยาบาลขนาดใหญ่มาใช้เป็นครั้งแรก เรือโดยสารหลายลำได้รับการดัดแปลงเพื่อใช้เป็นเรือพยาบาล ซึ่งอาร์เอ็มเอส แอควิเทเนีย และเอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก เป็นสองตัวอย่างที่มีชื่อเสียงของเรือที่ให้บริการในตำแหน่งนี้ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพเรือสหราชอาณาจักรมีเรือประเภทนี้จำนวน 77 ลำประจำการ และในระหว่างการทัพกัลลิโพลี ได้มีการนำเรือพยาบาลมาใช้เพื่ออพยพกำลังพลที่ได้รับบาดเจ็บกว่า 100,000 นายไปยังประเทศอียิปต์

ประเทศแคนาดาดำเนินการเรือพยาบาลในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เรือเหล่านี้รวมถึงเอสเอส ลิทีชา (I) และเอชเอ็มเอชเอส แลนเดอเวอรีคาสเซิล ซึ่งถูกจมอย่างจงใจโดยเรืออูของเยอรมันที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จะมีสถานะที่ทำเครื่องหมายไว้ชัดเจนของเรือพยาบาลก็ตาม ส่วนในสงครามโลกครั้งที่สอง ทางประเทศแคนาดาได้ดำเนินการเรือพยาบาลอาร์เอ็มเอส เลดีเนลสัน และเอสเอส ลิทีชา (II)[13]

 
เอชเอ็มเอชเอส แอควิเทเนีย ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นเรือพยาบาล

เรือพยาบาลลำแรกที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะในกองทัพเรือสหรัฐยูเอสเอส รีลีฟ[14] ซึ่งเข้าประจำการใน ค.ศ. 1921 ครั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งกองทัพเรือและกองทัพบกสหรัฐได้ดำเนินการเรือพยาบาลด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน[15] เรือพยาบาลกองทัพเรือเป็นสถานพยาบาลที่มีเครื่องมือครบครันซึ่งออกแบบมาเพื่อรับผู้บาดเจ็บโดยตรงจากสนามรบ และยังให้การสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงแก่ทีมแพทย์แนวหน้าที่ขึ้นฝั่ง[15] ส่วนเรือพยาบาลของกองทัพบกโดยพื้นฐานแล้วเป็นการขนส่งในสถานพยาบาลที่มีจุดประสงค์และมีเครื่องมือครบครันเพื่อพาผู้ป่วยจากสถานพยาบาลของกองทัพบกส่วนหน้าไปยังสถานพยาบาลในพื้นที่ด้านหลัง หรือจากสถานพยาบาลเหล่านั้นไปยังสหรัฐ และไม่มีอุปกรณ์หรือบุคลากรเพื่อรองรับการบาดเจ็บล้มตายจากการรบโดยตรงจำนวนมาก[15] ทั้งนี้ เรือพยาบาลของกองทัพเรือสามลำ ได้แก่ ยูเอสเอส คอมฟอร์ต, ยูเอสเอส โฮป และยูเอสเอส เมอร์ซี มีเครื่องมือครบครันน้อยกว่าเรือพยาบาลของกองทัพเรือลำอื่น ๆ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ของกองทัพบก และมีวัตถุประสงค์คล้ายกับแบบจำลองของกองทัพบก[15]

อ้างอิง แก้

  1. Hospital Ship เก็บถาวร 2020-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (definition via WordNet, Princeton University)
  2. "Convention (II) for the Amelioration of the Condition of Wounded, Sick and Shipwrecked Members of Armed Forces at Sea: Commentary of 2017, Article 22 : Notification and protection of military hospital ships". International Committee of the Red Cross. 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2019.
  3. "Convention (II) for the Amelioration of the Condition of Wounded, Sick and Shipwrecked Members of Armed Forces at Sea. Commentary of 2017, Article 31 : Right of control and search of hospital ships and coastal rescue craft". International Committee of the Red Cross. 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2019.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Sutherland Shaw, J.J. (1936). "The Hospital Ship, 1608–1740". The Mariner's Mirror. 22 (4): 422–426. doi:10.1080/00253359.1936.10657206.
  5. Oppenheim, M. (1896). A History of the Administration of the Royal Navy and of Merchant Shipping in Relation to the Navy. Vol. 1. The Bodley Head. p. 188. OCLC 506062953.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Jack Edward McCallum (2008). Military Medicine: From Ancient Times to the 21st Century. ABC-CLIO. pp. 150–152. ISBN 9781851096930.
  7. Hasted, Edward (1799). "Parishes". The History and Topographical Survey of the County of Kent. Institute of Historical Research. 6: 34–40. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-07. สืบค้นเมื่อ 28 February 2014.
  8. "Research guide A6: Greenwich and the National Maritime Museum". Royal Museums Greenwich. สืบค้นเมื่อ 12 February 2017.
  9. Phil Carradice (2013), The Ships of Pembroke Dockyard (e-book), Amberley Publishing, pp. 52–53, ISBN 978-1-4456-1310-9
  10. 10.0 10.1 "Hospital Ships: Introduction". Dartford Hospital Stories. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
  11. "The Long Reach Hospital Ships - Ghosts of the Dartford Marshes". Remote London. 28 November 2019. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
  12. "Smallpox Hospital Ships in London". Historic UK. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
  13. Douglas N. W. Smith, "Bringing Home the Wounded", Canadian Rail Passenger Yearbook 1996–1997 Edition, Trackside Canada, Ottawa, p. 49-64.
  14. "Modern Hospital Sails With U.S. Fleet." Popular Science Monthly, August 1927, p. 35.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Condon-Rall, Mary Ellen; Cowdrey, Albert E. (1998). The Technical Services—The Medical Department: Medical Service In The War Against Japan. United States Army In World War II. Washington, DC: Center Of Military History, United States Army. pp. 258, 388–389. LCCN 97022644.

แม่แบบ:DANFS

แหล่งข้อมูลอื่น แก้