เจ้าพระยาปราบหงสาวดี

(เปลี่ยนทางจาก เจ้าพระยาไชยานุภาพ)

เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เดิมชื่อ พลายภูเขาทองมีบางบันทึกบอกว่ามีชื่อเดิมว่า "พลายมิ่งเมือง" ในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียก "พลายพุทรากระแทก") เป็นช้างคู่พระบารมีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากขึ้นระวางแล้ว ได้บรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าพระยาไชยานุภาพ" ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า "เจ้าพระยา​ปราบหงสาวดี" ในครั้งที่ชนะศึกยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 (ซึ่งในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 18 มกราคม) ณ ตำบลท่าคอย (ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี) ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดาร เชื่อกันว่าเป็นช้างที่มีความจงรักภักดี และมีความกล้าหาญเสียสละช่วยกอบกู้ชาติให้แผ่นดิน มีลักษณะทางคชลักษณ์ที่ดี ส่วนหนึ่งได้แก่หลังที่โค้งลาด คล้ายก้านกล้วย จึงถูกตั้งชื่อในภาพยนตร์แอนิเมชันว่า "ก้านกล้วย"

เจ้าพระยาปราบหงสาวดี
(พลายภูเขาทอง)
ฉายาอื่น ๆเจ้าพระยาไชยานุภาพ
พลายพุทรากระแทก
พลายพุทรากระทืบ
พลายมิ่งเมือง
สปีชีส์ช้าง
สายพันธุ์ช้างอินเดีย
เพศผู้
เกิดพลายภูเขาทอง
ไม่ทราบ
ตายพ.ศ. 2139
อาณาจักรอยุธยา
เป็นที่รู้จักสำหรับช้างทรงในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยศเจ้าพระยา
เจ้าของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้อาณาจักรอยุธยา
แผนก/สังกัดกองทัพกรุงศรีอยุธยา
การยุทธ์สงครามยุทธหัตถี

ชื่อ "พลายพุทรากระแทก" หรือ "พลายพุทรากระทืบ" ได้มาจากในพงศาวดาร ซึ่งระบุว่า ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตัวเล็กกว่า "พลายพัทธกอ" ของพระมหาอุปราชา สู้แรงไม่ได้แต่อาศัยยันโคนต้นพุทรา ทำให้แบกร่างได้ สมเด็จพระนเรศวรใช้พระแสงของ้าวฟันต้องพระอังสาของพระมหาอุปราชาจนสิ้นพระชนม์กับคอช้าง

จากจดหมายเหตุของ de Coutre ระบุว่าเจ้าพระยาปราบหงสาวดี ล้มลงในปี ค.ศ. 1596 (พ.ศ. 2139) หลังศึกยุทธหัตถี 4 ปี สมเด็จพระนเรศวรโปรดได้มีการสร้างเมรุ พระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติยศเจ้าพระยา มีงานมหรสพถึง 7 วัน 7 คืน

ชื่อ "ไชยานุภาพ" ได้กลายมาเป็นชื่อชุดแข่งขันของฟุตบอลทีมชาติไทยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 โดยวาริกซ์สปอร์ต เป็นชุดเหย้าสีดำล้วน คู่กับ "ปราบไตรจักร" ช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งเป็นชุดเยือนสีขาวล้วน

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • ดนัย ไชยโยธา, นามานุกรมประวัติศาสตร์, โอเดียนสโตร์, 2548, ISBN 974-971-297-8