ฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์

ฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ (อังกฤษ: Harland & Wolff) เป็นบริษัทต่อเรือและการผลิตของอังกฤษ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงลอนดอน โดยมีที่ตั้งในเบลฟาสต์, อาร์นิช, แอปเปิลดอร์ และเมทิล ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการซ่อมเรือ, การต่อเรือ และการก่อสร้างนอกชายฝั่ง ฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ มีชื่อเสียงในด้านการสร้างเรือเดินสมุทรส่วนใหญ่ให้กับไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line) ซึ่งรวมถึงเรือเดินสมุทรชั้นโอลิมปิก (Olympic-class ocean liner) ซึ่งประกอบด้วยเรืออาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (RMS Olympic), อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) และเอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก (HMHS Britannic) [1] ประวัติอย่างเป็นทางการของฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ อยู่ในหนังสือชื่อ "Shipbuilders to the World" ตีพิมพ์ในปี 1986[2]

บริษัท ฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์กรุปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
Harland & Wolff Group Holdings plc
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
การซื้อขาย
LSEHARL
อุตสาหกรรม
ก่อตั้ง
ผู้ก่อตั้งเซอร์ เอ็ดเวิร์ด เจมส์ ฮาร์แลนด์,
กุสตาฟ วิลเฮล์ม วูลฟฟ์
สำนักงานใหญ่ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
บุคลากรหลัก
จอห์น วู้ด (CEO),
Arun Ramun (CFO)
พนักงาน
800 (2023)
เว็บไซต์www.harland-wolff.com
รูปปั้นของเซอร์เอ็ดเวิร์ด เจมส์ ฮาร์แลนด์ (Sir Edward James Harland) ในบริเวณศาลาว่าการเมืองเบลฟัสต์

ปัจจุบัน บริษัทให้ความสำคัญกับการสนับสนุน 6 ภาคส่วน ได้แก่ กลาโหม พลังงาน เรือสำราญ และ เรือข้ามฟาก พลังงานทดแทน และการพาณิชย์ รวมถึงให้บริการด้านเทคนิค การแปรรูปและการก่อสร้าง การซ่อมแซมและบำรุงรักษา การสนับสนุนระหว่างบริการ การแปลงสภาพและการรื้อถอน

ช่วงแรก แก้

 
คนงานออกจากอู่ต่อเรือที่ถนนควีนส์เมื่อต้นปี 1911 โดยมีอาร์เอ็มเอส ไททานิก อยู่ข้างหลัง

ฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1861 โดย เซอร์เอ็ดเวิร์ด เจมส์ ฮาร์แลนด์ (Sir Edward James Harland; 1831–1895) และกุสตาฟ วิลเฮล์ม วูลฟฟ์ (Gustav Wilhelm Wolff; 1834–1913) เกิดในฮัมบูร์ก เยอรมัน และเดินทางมายังสหราชอาณาจักรเมื่ออายุ 14 ปี ในปี 1858 ฮาร์แลนด์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้จัดการทั่วไป ได้ซื้ออู่ต่อเรือเล็กๆ บนเกาะควีนส์จากโรเบิร์ต ฮิกสัน (Robert Hickson) นายจ้างของเขา

 
สำนักงานเขียนแบบของฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ ในเบลฟาสต์ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20

หลังจากซื้ออู่ต่อเรือจากฮิกสันแล้ว ฮาร์แลนด์ได้แต่งตั้งให้วูลฟฟ์ ผู้ช่วยของเขาเป็นหุ้นส่วนในบริษัท วูล์ฟฟ์เป็นหลานชายของกุสตาฟ ชวาบ (Gustav Schwabe) ซึ่งลงทุนมหาศาลในสายการเดินเรือบิ๊บบี้ (Bibby Line) และเรือสามลำแรกของสายการเดินเรือถูกสร้างโดยอู่ต่อเรือนี้ ฮาร์แลนด์ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้วยนวัตกรรมหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนวัสดุตัวเรือส่วนบนที่ทำจากไม้มาเป็นเหล็กซึ่งเพิ่มความแข็งแกร่งของเรือ และทำให้ตัวเรือมีส่วนล่างที่เรียบขึ้นและมีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งสามารถเพิ่มความจุของเรือให้มากขึ้น

เมื่อฮาร์แลนด์ถึงแก่กรรมในปี 1895 วิลเลียม เจมส์ เพียร์รี (William James Pirrie)ได้กลายเป็นประธานบริษัทจนกระทั่งถึกแก่กรรมในปี 1924 โทมัส แอนดรูว์ส (Thomas Andrews) ได้เป็นผู้จัดการทั่วไปและหัวหน้าแผนกเขียนแบบในปี 1907 ในช่วงเวลานี้เองที่บริษัทได้สร้างเรืออาร์เอ็มเอส โอลิมปิก และอีกสองลำในชั้นเดียวกันคือไททานิก และบริแทนนิก ระหว่างปี 1909 ถึง 1914 และได้มอบหมายให้บริษัทเซอร์ วิลเลียม อาร์รอล จำกัด (Sir William Arrol & Co.) สร้างทางเลื่อนคู่ขนาดใหญ่และโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่สำหรับการสร้างเรือในโครงการนี้

ในปี 1912 เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในไอร์แลนด์ บริษัทได้ซื้ออู่ต่อเรืออีกแห่งที่โกแวน ในเมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งได้ซื้ออู่ต่อเรือใหม่ของมิดเดิลตันแอนด์โกแวน (Middleton and Govan) ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหม่ของ London & Glasgow Engineering & Iron Shipbuilding Co. ในโกแวน และโกแวนโอลด์ยาร์ด ของแม็กกี้แอนด์ทอมสัน (Mackie & Thomson) ซึ่งเคยเป็นของวิลเลียม เบียร์ดมอร์ แอนด์ คอมปานี (William Beardmore and Company) มาก่อน อู่ต่อเรือทั้ง 3 แห่ง ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันและพัฒนาใหม่เพื่อให้มีท่าเทียบเรือทั้งหมด 7 แห่ง, อู่แห้งสำหรับตกแต่งเรือ และโรงงานที่กว้างขวาง อู่ต่อเรือเอ. แอนด์ เจ. อิงกลิส (A. & J. Inglis) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงก็ถูกซื้อโดยฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ ในปี 1919 พร้อมกับถือหุ้นในเดวิด โคลวิลล์ แอนด์ ซันส์ (David Colville & Sons) ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของบริษัท ฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ ยังได้ก่อตั้งอู่ต่อเรือที่บูเทิล ในลิเวอร์พูล,[3] นอร์ทวูลวิช ในลอนดอน[4] และเซาแทมป์ตัน[5] อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1960 อู่ต่อเรือเหล่านี้ก็ถูกปิดตัวทั้งหมด เมื่อบริษัทเลือกที่จะรวมการดำเนินงานในเบลฟาสต์

ช่วงสงคราม แก้

 
คนงานทำงานตอนกลางคืน บนดาดฟ้าเรือที่ลานต่อเรือในลิเวอร์พูล ของฮาร์แลนด์แอนด์ลูวฟฟฺ (27 ตุลาคม 1944)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ฮาร์แลนด์แอนด์วูลฟฟ์ ได้สร้างเรือรบขนาดเล็กชั้นอเบอร์ครอมบี้ (Abercrombie-class monitors) และเรือลาดตระเวน รวมถึงเรือลาดตระเวนเบาขนาดใหญ่ เอชเอ็มเอส กลอเรียส (HMS Glorious)

ในปี 1918 บริษัทได้เปิดอู่ต่อเรือแห่งใหม่บนฝั่งตะวันออกของช่องแคบมัสเกรฟ ซึ่งมีชื่อว่า "ลานตะวันออก" (East Yard) ลานนี้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเรือจำนวนมากที่มีการออกแบบมาตรฐานซึ่งพัฒนาขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 1

ในช่วงทศวรรษที่ 1920 คนงานคาทอลิกถูกไล่ออกจากงานในอู่ต่อเรือเป็นประจำ[6][7]

ในปี 1936 บริษัทได้ก่อตั้งบริษัทสาขาการผลิตเครื่องบินร่วมกับชอร์ต บราเธอร์ส (Short Brothers) ชื่อว่า ชอร์ตแอนด์ฮาร์แลนด์ จำกัด (Short & Harland Limited) คำสั่งซื้อครั้งแรกคือ เครื่องบินทิ้งระเบิดแฮนลีย์ เพจ เฮียร์ฟอร์ด (Handley Page Hereford) จำนวน 189 ลำ ที่สร้างขึ้นภายใต้ใบอนุญาตจากบริษัทแฮนด์ลีย์ เพจ (Handley Page) สำหรับกองทัพอากาศสหรสชอาณาจักร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานแห่งนี้ได้สร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดชอร์ตสเตอร์ลิง (Short Stirling bombers) เมื่อเฮียร์ฟอร์ดถูกปลดประจำการ

อู่ต่อเรือวุ่นวายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสร้างเรือบรรทุกอากาศยาน 6 ลำ เรือลาดตระเวน 2 ลำ เรือเดินทะเล 131 ลำ และซ่อมแซมเรือกว่า 22,000 ลำ นอกจากนี้ยังผลิตชิ้นส่วนรถถัง และปืนใหญ่ อีกด้วย ในช่วงเวลานี้เองที่พนักงานของบริษัทมียอดสูงสุดที่ประมาณ 35,000 คน อย่างไรก็ตาม เรือจำนวนมากที่สร้างขึ้นในช่วงนี้ได้รับการว่าจ้างทันทีเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากฮาร์แลนด์แอน์วูลฟฟ์มุ่งเน้นไปที่การซ่อมแซมเรือในช่วง 3 ปีแรกของสงคราม ลานต่อเรือบนเกาะควีนส์ถูกกองทัพอากาศเยอรมันทิ้งระเบิดอย่างหนักในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 1941 ระหว่างเบลฟาสต์บลิทซ์ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในการต่อเรือและทำลายโรงงานผลิตเครื่องบิน

อ้างอิง แก้

  1. "Titanic – Home". nmni.com. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2018.
  2. Moss, M; Hume, J.R. (1986). Shipbuilders to the World: 125 years of Harland and Wolff, Belfast 1861–1986. Belfast: Blackstaff Press. pp. xvii, 601 p. ISBN 0-85640-343-1.
  3. Weston, Alan (18 กุมภาพันธ์ 2013). "Former Liverpool head office of Titanic builders Harland & Wolff to be demolished". liverpoolecho.
  4. "Britain From Above – The Harland and Wolff Ltd Works at Gallions Point, North Woolwich, 1947". britainfromabove.org.uk.
  5. "Britain From Above – Harland & Wolff Ltd Shipbuilding and Engineering Works and the docks, Southampton, 1947". britainfromabove.org.uk.
  6. "Sectarianism and the shipyard". The Irish Times.
  7. "BELFAST RIOTS. (Hansard, 31 July 1912)". api.parliament.uk.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

54°36′29″N 5°54′03″W / 54.6080°N 5.9008°W / 54.6080; -5.9008