หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์

พลเรือตรี นายแพทย์ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ (29 ธันวาคม พ.ศ. 2426 — 7 เมษายน พ.ศ. 2483) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ประสูติแต่หม่อมกลีบ (สกุลเดิม ฌูกะวิโรจน์) เสกสมรสกับ หม่อมหลวงคลอง ไชยันต์ (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์)

หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์
ประสูติ29 ธันวาคม พ.ศ. 2426
สิ้นชีพิตักษัย7 เมษายน พ.ศ. 2483 (56 ปี)
ศิษย์เก่าโรงพยาบาลกายส์ฮอสปีตัล
อาชีพแพทย์ทหาร, ตุลาการ
หม่อมหม่อมหลวงคลอง สนิทวงศ์
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลไชยันต์
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
พระมารดาหม่อมกลับ ไชยันต์ ณ อยุธยา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพเรือไทย
ประจำการพ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2475
ชั้นยศพลเรือตรี
บังคับบัญชากรมแพทย์ทหารเรือ

การศึกษา แก้

หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ เป็นนักเรียนหลวงทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปศึกษาวิชาแพทย์ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2439 ทรงสำเร็จการศึกษา หลักสูตรอายุรศาสตร์ โรคเมืองร้อน (L.C.R.) และ ศัลยศาสตร์ (M.R.C.S.) เมื่อปี พ.ศ. 2457 จากโรงพยาบาลกายส์ฮอสปีตัล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การทรงงาน แก้

หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์แล้ว หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ได้เข้ารับราชการเป็นแพทย์ทหารเรือ และดำรงตำแหน่งนายแพทย์ประจำพระองค์ รวมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ กระทรวงทหารเรือ พ.ศ. 2460 – พ.ศ. 2475 (ปัจจุบันคือตำแหน่งเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ)[1]

- นายแพทย์ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2460

- ประธานตุลาการศาล กรมบัญชาการทหารเรือ พ.ศ. 2469

- องคมนตรี ตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470

- องคมนตรี พ.ศ. 2474 - 2476[2]

- นายกอำนวยการจัดประชุมสมาคมเวชกรรมเมืองร้อนแห่งบูรพเทศ พ.ศ. 2473

ในทางทหารเรือได้มีบันทึกถึงกิจการที่ท่านได้วางรากฐานและพัฒนาไว้ ได้แก่ การสร้างสถานบริการแพทย์ไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย การจัดการศึกษานักเรียนพยาบาลเป็นหลัก การจัดงานแผนกต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเรียบร้อย ได้จัดการปราบโรคเหน็บชาในกองทัพเรือจนสิ้นเชิง ได้จัดอาสารักษาอหิวาตกโรคสำหรับพลเมืองทั่วไปกับทหาร ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ ท่านได้ยกวิทยฐานะของแพทย์ผู้ประกอบโรคศิลปะทั้งหมดที่มีอยู่ในการแพทย์ทหารเรือให้เท่าเทียมกัน ให้ทุกคนมีสิทธิเสรีในการรักษาพยาบาลตามที่ตนเห็นชอบ ไม่กำหนดตามแบบเดิมที่ว่า แพทย์ประจำหมวดเรือหรือแพทย์ประจำแผนก ไม่มีสิทธิ์จะตั้งตำหรับยารักษาโรค ไม่มีสิทธิทำการักษาคนไข้โดยอิสระ ดำเนินการรักษาโดยลำพังไม่ได้ต้องมีหัวหน้าแพทย์ควบคุม พฤติการณ์ที่ท่านทรงกระทำนี้ นับว่าท่านได้ส่งเสริมวิทยฐานะของแพทย์ให้มีสิทธิเสรีอย่างน่าสรรเสริญยิ่ง ต่อมาท่านได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนจ่าพยาบาลขึ้นในกรมแพทย์ทหารเรือสอนและอบรมจนกระทั่งสภาการแพทย์รับจดทะเบียนเป็นแพทย์ชั้น 2 ได้[3]

ในระหว่างทรงประกอบวิชาชีพแพทย์ทหารเรือ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ ทรงเป็นครูสอนวิชาแพทย์ ครูวิชาโรคผิวหนัง และบรรณาธิการวารสารการแพทย์ ทรงนิพนธ์ตำราแพทย์และคู่มือแพทย์หลายเล่มด้วยกัน อาทิเช่น คู่มือแพทย์ประจำครอบครัว รวมถึงได้ร่วมประชุมก่อตั้งแพทยสมาคมฯ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2464 โดยครั้งแรกได้จดทะเบียนเป็น “สมาคม” มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่ตึกอำนวยการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งแต่ก่อนที่จะมีสมาคมนี้ขึ้น ได้มีการประชุมของแพทย์ชั้นผู้ใหญ่ เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2464 เป็นครั้งแรก[4]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งกรรมการสภาองคมนตรี ตามพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470[5]

พลเรือตรี นายแพทย์ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2483 สิริชันษา 56 ปี

ภายหลังจากสิ้นชีพิตักษัย สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทยได้ยกย่อง พลเรือตรี นายแพทย์ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ เป็นคนดีศรีแพทย์ทหาร สาขาแพทย์ทหารและการบริการสังคม

พระเกียรติยศ แก้

พลเรือตรี หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

พระยศ แก้

พระยศทหาร แก้

  • 23 เมษายน พ.ศ. 2463: นายนาวาเอก[17]
  • 5 กันยายน พ.ศ. 2467: โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมุรธาธรส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทาน[18]
  • 27 มีนาคม พ.ศ. 2467: นายพลเรือตรี[19]

พระยศพลเรือน แก้

  • 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2469: มหาเสวกตรี[20]

อ้างอิง แก้

  1. แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
  2. ประกาศตั้งกรรมการองคมนตรี พ.ศ. 2474 - 2476 ราจกิจจานุเบกษา วันที่ 15 มีนาคม 2473http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/A/433.PDF
  3. สมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย
  4. ประวัติแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  5. พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 กันยายน 2470http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/A/205.PDF
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๘, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๕, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๑๖, ๖ ธันวาคม ๒๔๖๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๙, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๒, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๓๔, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๙๙, ๑๐ มกราคม ๒๔๗๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง ให้ตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๑๘, ๒๐ มกราคม ๒๔๗๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๘, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๙, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
  17. พระราชทานยศทหารเรือ
  18. ส่งสัญญาบัตรยศทหารเรือไปพระราชทาน
  19. พระราชทานยศทหารเรือ
  20. พระราชทานยศ