หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร (15 กันยายน พ.ศ. 2451 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตรองเลขาธิการทำเนียบนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นพี่ชายของศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แหลมฉาน หัสดินทร อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอดีตอุปนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[1]

ประวัติ แก้

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2451 ที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรของพลตรี หม่อมเจ้า ศรีใสเฉลิมศักดิ์ หัสดินทร และหม่อมลืม (สกุลเดิม จุลกะ) มีพี่น้องร่วมมารดาเเดียวกัน 7 คน

  1. หม่อมราชวงศ์แลวิไลลักษณ์ หัสดินทร (ฤทธาคนี)
  2. พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร
  3. พันเอก หม่อมราชวงศ์ล้ำเลิศ หัสดินทร
  4. หม่อมราชวงศ์ล้วนฉวี หัสดินทร (สุนทรประทม)
  5. ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แหลมฉาน หัสดินทร
  6. หม่อมราชวงศ์ลมเพย หัสดินทร
  7. หม่อมราชวงศ์รัชกมล หัสดินทร

เมื่อหม่อมเจ้าศรีไสยเฉลิมศักดิ์สิ้นชีพิตักษัยและท่านอายุได้ 13 ปี หม่อมแม่ได้นำไปถวายตัวให้อยู่ในอุปการะของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีวังสระปทุม[1]

การศึกษา แก้

หม่อมราชวงศ์ลาภได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปัจจุบัน) จนจบการศึกษาและออกรับราชการในปี 2472 หลังเข้ารับราชการแล้วได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารม้าในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2479, โรงเรียนทหารม้า พ.ศ. 2481, โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 26 พ.ศ. 2498 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 5 ในปี พ.ศ. 2505[1]

การทำงาน แก้

การรับราชการ แก้

หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภได้เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2472 และได้ไปประจำกองพันที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2473 แล้วจึงไปประจำกองร้อยรถรบ กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ แล้วไปประจำกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2476 แล้วย้ายไปสังกัดแผนกที่ 2 กรมจเรทหารบกชั่วคราว เพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนทหารม้า แล้วประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ณ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2478 แล้วประจำแผนกที่ 2 กรมจเรทหารบกในเดือนกันยายน และเป็นผู้บังคับการกองร้อยที่ 2 กรมรถรบ ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ก่อนจะเป็นผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2484 แล้วออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดในเดือนมกราคม แล้วกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้ากรมเสมียนตราในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน และออกจากราชการอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2502 เป็นเลขานุการรัฐมาตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์[2] และเป็นนายทหารคนสนิทของรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง จนพ้นจากตำแหน่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2506 แล้วดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการทำเนียบนายกนายกรัฐมนตรี[3] ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน จนลาออกจากตำแหน่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2511

ในปี พ.ศ. 2504 ได้ไปประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด จนออกจากราชการเป็นนายทหารนอกราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2508 จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2511

อนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 เป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ

ราชการพิเศษและตำแหน่งทางการเมือง แก้

  • 13 สิงหาคม พ.ศ. 2484 – ราชองครักษ์เวร[4]
  • 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2[5]
  • 13 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – ราชองครักษ์เวรสืบต่อไป[6]
  • 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 – สมาชิกพฤฒสภา[7]
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2489 – กรรมการจัดการสลากกินแบ่งรัฐบาล
  • 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – กรรมการพิจารณาระเบียบข้าราชการทหาร
  • 9 มีนาคม พ.ศ. 2506 – ราชองครักษ์เวร[8]
  • 27 กันยายน พ.ศ. 2506 – นายทหารพิเศษประจำกองพันทหารม้าที่ 1 กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์[9]
  • 15 มิถุนายน พ.ศ. 2507 – สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[10]
  • 2 ตุลาคม พ.ศ. 2507 – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ[11]
  • 9 มีนาคม พ.ศ. 2509 – ราชองครักษ์พิเศษ[12]
  • 29 มกราคม พ.ศ. 2514 – กรรมการสภาทหารผ่านศึกนอกราชการ
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2514 – กรรมการสภากาชาดไทย[13]
  • 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 – สมาชิกวุฒิสภา[14]

นอกจากนี้เคยดำรงตำแหน่ง เลขานุการกิตติมศักดิ์ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2497 และ พ.ศ. 2498 ผู้จัดการบริษัทไทยบริติชพาณิชย์ จำกัด พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2502 และก่อนถึงแก่อนิจกรรมดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท อิสเอเชียติก จำกัด คณะกรรมการธนาคารเอเชียทรัสต์ จำกัด กรรมการบริษัทเอเชียทรัสต์ ประกันภัย จำกัด กรรมการบริษัทไฟแนนซิ่ง แอนด์ ทรัสต์ จำกัด รองประธานบริษัทไทยทีวีสีช่อง 3[1]

ยศ แก้

ยศทหาร แก้

  • 2 ธันวาคม พ.ศ. 2473 – นายร้อยตรี[15]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 – นายร้อยโท[16]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 – นายร้อยเอก[17]
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – นายพันตรี[18]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 – นายพันโท[19]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2488 – พันเอก[20]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 – พลตรี[21]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 – พลโท[22]

ชีวิตครอบครัว แก้

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร ได้สมรสกับนุกูล ปราการะนันท์ บุตรีร้อยเอก หลวงหิรัญสุจริต (แก้ว ปราการะนันท์) กับลูกจันทร์ หิรัญสุจริต เมื่อปี พ.ศ. 2474 มีบุตรธิดาร่วมกัน 8 คน[1]

  1. หม่อมหลวงสิงหรา หัสดินทร
  2. หม่อมหลวงลาวัณย์ หัสดินทร (ศรีชัย)
  3. หม่อมหลวงไชยณรงค์ หัสดินทร
  4. หม่อมหลวงนลินี หัสดินทร (วัฒนสุข)
  5. หม่อมหลวงจีรานันท์ หัสดินทร
  6. หม่อมหลวงทนงศักดิ์ หัสดินทร
  7. หม่อมหลวงลักษณเลิศ หัสดินทร
  8. หม่อมหลวงนารีรัตน์ หัสดินทร (ศิริวงศ์)

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ เป็นผู้ที่มีพลานามัยสมบูรณ์จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2510 แพทย์พบน้ำตาลและไขมันในเลือดรวมทั้งความดันโลหิตสูง จึงได้ทำการรักษาและอยู่ในควบคุมของแพทย์เป็นประจำ แต่ไม่เคยเจ็บป่วยจึงเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล จนกระทั่งในคืนวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ระหว่างเตรียมตัวเข้านอนตามปกติมีอาการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอและไหล่ซ้ายพร้อมทั้งหายใจไม่สะดวก ได้นำส่งสถานีอนามัย อำเภอหัวหิน แพทย์ไม่อาจช่วยเหลือได้ทันจึงถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 22.10 น. ด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตัน สิริอายุได้ 68 ปี 2 เดือน 20 วัน[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลโท ม.ร.ว.ลาภ หัสดินทร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 19 มีนาคม 2520. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย. 1977. p. 133-136.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๓๔ ง หน้า ๘๖๐, ๑๗ มีนาคม ๒๕๐๒
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๓ หน้า ๒๘๑๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๔๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๔๘๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ แทนตำแหน่งที่ว่าง, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๑๕๑๖, ๑ สิงหาคม ๒๔๘๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๗๐๘, ๒๙ สิงหาคม ๒๔๘๗
  7. วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์เวร, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๑๐๐, ๙ เมษายน ๒๕๐๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๒๒๘๐, ๘ ตุลาคม ๒๕๐๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการประกาศ ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๕๓ ก หน้า ๕๒๔, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๐๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๘ ง หน้า ๒๕๖๗, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๕ เมษายน ๒๕๐๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสภากาชาดไทย เรื่อง ตั้งกรรมการและรายนามกรรมการเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๕๗ ง หน้า ๑๖๖๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๗๑ ก หน้า ๕, ๔ กรกฎาคม ๒๕๑๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๓๒, ๗ ธันวาคม ๒๔๗๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๘, ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๑, ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๘๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศหทาร, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๔๗, ๑๙ มิถุนายน ๒๔๘๔
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๗๐ ง หน้า ๒๗๘๗, ๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๕
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๗๗ ง หน้า ๙๗๐, ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๘๘
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๗ มกราคม ๒๕๐๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๐๘
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๖
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  27. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๙, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๗, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๙๐ ง หน้า ๒๖๔๔, ๒๖ กันยายน ๒๕๑๐
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๒๕, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๒๔๔๗, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๐
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๒, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
  33. 33.0 33.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๐ ง หน้า ๒๔๕๑, ๒๒ กันยายน ๒๕๐๗
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๑๐