สุริยุปราคา 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สุริยุปราคาวงแหวนจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาวงแหวนเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมปรากฏของดวงจันทร์ มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงส่วนมากจากดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงอาทิตย์มีลักษณะเหมือนแผ่นวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวนจะปรากฏสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

สุริยุปราคา 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566
แผนที่
ประเภท
ประเภทวงแหวน
แกมมา0.3753
ความส่องสว่าง0.9520
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา317 วินาที (5 นาที 17 วินาที)
พิกัด11°24′N 83°06′W / 11.4°N 83.1°W / 11.4; -83.1
ความกว้างของเงามืด187 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน15:03:38
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด16:09:59
บดบังมากที่สุด17:59:21
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด19:48:53
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน20:55:06
แหล่งอ้างอิง
แซรอส134 (44 จาก 71)
บัญชี # (SE5000)9560

การมองเห็น แก้

อุปราคาครั้งนี้มองเห็นได้ในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ โดยแนวคราสผ่านรัฐออริกอน รัฐเนวาดา ตอนบนสุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐยูทาห์ ตอนบนของรัฐแอริโซนา รัฐนิวเม็กซิโก และรัฐเท็กซัส สหรัฐ จากนั้นผ่านอ่าวเม็กซิโก รัฐกัมเปเช รัฐยูกาตัง รัฐกินตานาโร ประเทศเม็กซิโก ประเทศเบลีซ ประเทศฮอนดูรัส ประเทศนิการากัว ตามแนวชายฝั่งประเทศคอสตาริกา ประเทศปานามา ผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก เข้าสู่ประเทศโคลอมเบีย ป่าแอมะซอน ประเทศบราซิล และแนวคราสไปสิ้นสุดบริเวณนอกชายฝั่งรัฐปารานา ประเทศบราซิล ในมหาสมุทรแอตแลนติก

 
ภาพเคลื่อนไหวแสดงแนวคราส

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง แก้

อุปราคาในปี พ.ศ. 2566 แก้

สุริยุปราคา พ.ศ. 2565–2568 แก้

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[1]

ชุดอนุกรมสุริยุปราคา ระหว่าง พ.ศ. 2565–2568
โหนดขึ้น   โหนดลง
119 30 เมษายน 2565
 
บางส่วน
124 25 ตุลาคม 2565
 
บางส่วน
129 20 เมษายน 2566
 
ผสม
134 14 ตุลาคม 2566
 
วงแหวน
139 8 เมษายน 2567
 
เต็มดวง
144 2 ตุลาคม 2567
 
วงแหวน
149 29 มีนาคม 2568
 
บางส่วน
154 21 กันยายน 2568
 
บางส่วน

แซรอส 134 แก้

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 134 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 71 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วน (ครั้งที่ 1–10) ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 1791 (ค.ศ. 1248) สุริยุปราคาเต็มดวง (ครั้งที่ 11–18) เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 1971 (ค.ศ. 1428) จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2097 (ค.ศ. 1554) สุริยุปราคาผสม (ครั้งที่ 19–34) เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2116 (ค.ศ. 1573) จนถึงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1843) สุริยุปราคาวงแหวน (ครั้งที่ 35–64) เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) จนถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2927 (ค.ศ. 2384) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกครั้ง (ครั้งที่ 65–71) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 3053 (ค.ศ. 2510) ซึ่งเป็นเหตุการณ์อุปราคาครั้งที่ 71 ของชุดแซรอสนี้ คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 1971 (ค.ศ. 1428) ที่ระยะเวลา 1นาที 30 วินาที ส่วนคราสวงแหวนนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2711 (ค.ศ. 2168) ที่ระยะเวลา 10 นาที 55 วินาที ทุกอุปราคาในชุดแซรอสนี้เกิดชึ้นที่โหนดลงของดวงจันทร์[2]

ชุดเมตอน แก้

อุปราคาเหล่านี้เป็นสมาชิกของชุดออคตอนอุปราคา ประกอบด้วยอุปราคา 21 ครั้ง เกิดขึ้นประมาณทุก ๆ 4 ปี ตั้งแต่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ถึง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2608[3]

อ้างอิง แก้

  1. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  2. http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros134.html
  3. Freeth, Tony. "Note S1: Eclipses & Predictions". plos.org. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
20 เมษายน 2566
(  สุริยุปราคาผสม)
  สุริยุปราคา 14 ตุลาคม พ.ศ. 2566   สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
8 เมษายน 2567
(  สุริยุปราคาเต็มดวง)
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งก่อนหน้า:
10 มิถุนายน 2564
 
สุริยุปราคาวงแหวน
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งถัดไป:
2 ตุลาคม 2567