ความส่องสว่างของอุปราคา


ความส่องสว่างของอุปราคา คือ เศษส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวคราส ทั้งสุริยุปราคาและจันทรุปราคา ระหว่างอุปราคาบางส่วนและวงแหวน ค่าความส่องสว่างของอุปราคาจะอยู่ระหว่าง 0.0 ถึง 1.0 ขณะที่ระหว่างอุปราคาเต็มดวง ค่าความส่องสว่างจะอยู่ที่อย่างน้อยที่สุด 1.0 เสมอ

การวัดนี้ไม่ควรสับสนกับการคลุมเครือของอุปราคา สิ่งนี้คือเศษส่วนของตัวอุปราคาถูกบดบังโดยตัวคราส ในทางตรงกันข้ามความส่องสว่างของอุปราคา คือ อัตราของเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างแท้จริง

ผลของความส่องสว่างบนสุริยุปราคา แก้

 
แต่ละสัญรูปแสดงมุมมองจากศูนย์กลางของจุดดำ แสดงถึงดวงจันทร์ (ไม่ตามสเกล)

ในสุริยุปราคา ความส่องสว่างของอุปราคา คือ อัตราส่วนระหว่างขนาดเชิงมุมปรากฏของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ในระหว่างเกิดอุปราคา เป็นผลให้อัตราส่วนมีค่าน้อยกว่า 1.0

ในสุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งเป็นอุปราคาศูนย์กลาง ความส่องสว่างก็เช่นเดียวกัน ค่าอัตราส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ แต่ครั้งนี้ค่าอัตราส่วนจะมากกว่าหรือเท่ากับ 1.0 ถ้าสุริยุปราคาเต็มดวงไม่เป็นแบบศูนย์กลาง ความส่องสว่างจะอยู่ระหว่าง 1.0 และค่าอัตราส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏ

ในสุริยุปราคาบางส่วน ความส่องสว่างของอุปราคา คือ เศษส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงอาทิตย์ถูกบดบังโดยดวงจันทร์ในเวลาสุริยคราสเต็มที่[1] ดวงจันทร์และโลกมีขนาดปรากฏโดยประมาณเท่ากัน แต่ทั้งคู่ก็แปรปรวน เพราะ ระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์นั้นแปรปรวน (ระยะห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ก็แปรปรวนแต่มีผลกระทบน้อยมากในการเปรียบเทียบ)

เมื่อความส่องสว่างของอุปราคามากกว่า 1 จานดวงจันทร์จะคลุมจานดวงอาทิตย์ได้อย่างสมบูรณ์ในท้องฟ้า และจะเป็นอุปราคาแบบเต็มดวง เส้นทางของอุปราคาเต็มดวง (นั้นคือ เงาที่เคลื่อนไปของดวงจันทร์ตัดแสงอาทิตย์ไปทั้งหมดจากพื้นผิวโลก) คือ ริ้วแคบสัมพัทธ์ (Relatively narrow strip) ที่เคลื่อนผ่านหลายร้อยกิโลเมตร

เมื่อความส่องสว่างของอุปราคาน้อยกว่า 1 จานดวงจันทร์จะไม่สามารถคลุมจานดวงอาทิตย์ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อศูนย์กลางของทั้งสองจานอยู่ในแนวเดียวกันอย่างเพียงพอ จะมีวงแหวนของแสงดวงอาทิตย์มองเห็นได้รอบดวงอาทิตย์ นี้คืออุปราคาแบบวงแหวน ในภาษาอังกฤษคำว่า annular มาจากภาษาลาติน หมายความว่า "วงแหวน"[2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Glossary of Solar Eclipse Terms". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-27. สืบค้นเมื่อ 2009-07-27.
  2. Erickson, Robbi (2008). "Happy Living Magazine - Solar eclipse viewing schedule and information". Happy Living Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2009-07-27.