สัตตภัณฑ์ เป็นเชิงเทียนที่ใช้ในการบูชาพระประธาน พระธาตุเจดีย์ ในวิหารหรืออุโบสถ[1] คำว่าสัตตภัณฑ์เรียกกันในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยาและเชียงราย ในจังหวัดแพร่และชุมชนชาวไทลื้อบางแห่งในจังหวัดพะเยาและเชียงราย เรียกว่า บันไดแก้ว สำหรับในภาคอีสานเรียกว่า ฮาวไต้เทียน แต่มักตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่ง ส่วนทางภาคกลางเรียกว่า จงกลราวเทียน เป็นเชิงเทียนหล่อด้วยโลหะ เหนือขึ้นไปเป็นจานเล็ก ๆ เพื่อเอาไว้รองเทียนและตั้งประดับไว้หน้าเครื่องบูชาหรือเครื่องตั้ง

สัตตภัณฑ์หน้าพระประธาน วัดมงคล จังหวัดเชียงใหม่

สัตตภัณฑ์มีความแตกต่างจากโต๊ะหมู่บูชา เพราะสัตตภัณฑ์สามารถจุดเทียนสักการะได้ทุกคน ส่วนโต๊ะหมู่บูชานั้น ในบางสังคมที่นิยมชนชั้น กำหนดให้ผู้ที่สามารถจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาหน้าพระประธานได้ จะต้องเป็นประธานในพิธีหรือผู้ใหญ่ของชุมชนเท่านั้น[2]

ความหมาย แก้

คำว่า "สัตตภัณฑ์" มาจากคำภาษาบาลี 2 คำ "สตฺต" แปลว่า เจ็ด จำนวนเจ็ด และ "ภณฺฑ" แปลว่า เครื่องใช้ สิ่งของ "สัตตภัณฑ์" จึงหมายถึง ตัวว่า "สิ่งของเครื่องใช้เจ็ดประการ หรือสิ่งของเครื่องใช้จำนวนเจ็ดอย่าง"

รวมถึงแสดงแนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยา เป็นชื่อภูเขาชื่อสัตบริภัณฑ์ซึ่งเป็นแนวภูเขาที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ และแนวคิดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สัตตภัณฑ์สร้างขึ้นโดยสอดแทรกหลักธรรมหรือหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเลข 7 ได้แก่ หลักโพชฌงค์ 7 สัทธัมมะ 7 และสัปปุริสธัมมะ 7 เป็นต้น[3]

อ้างอิง แก้

  1. "การเดินทางของสัตตภัณฑ์". ประชาไท.
  2. ประทีป พืชทองหลาง, ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. "สัตตภัณฑ์: พุทธศิลป์ถิ่นล้านนา" (PDF). คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-08. สืบค้นเมื่อ 2022-09-08.
  3. "สัตตภัณฑ์ล้านนา". มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-08. สืบค้นเมื่อ 2022-09-08.