จังหวัดแพร่

จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย

แพร่ (ไทยถิ่นเหนือ: ᨻᩯᩖ᩵, แป้) เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตนครรัฐอิสระขนาดเล็ก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีทิวเขาล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม

จังหวัดแพร่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phrae
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง
ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดแพร่เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดแพร่เน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดแพร่เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ชุติเดช มีจันทร์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด6,538.598 ตร.กม. (2,524.567 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 31
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด426,331 คน
 • อันดับอันดับที่ 60
 • ความหนาแน่น65.20 คน/ตร.กม. (168.9 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 67
รหัส ISO 3166TH-54
ชื่อไทยอื่น ๆแพล, พลนคร, เวียงโกศัย, นครแพร่
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ยมหิน
 • ดอกไม้ยมหิน
 • สัตว์น้ำปลากา
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนไชยบูรณ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
 • โทรศัพท์0 5452 3422
 • โทรสาร0 5451 1411
เว็บไซต์http://www.phrae.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดแพร่
"แพร่" ในภาษาไทย (บน)
และในคำเมืองอักษรธรรมล้านนา (ล่าง)
ชื่อภาษาไทย
อักษรไทยแพร่
อักษรโรมันPhrae
ชื่อคำเมือง
อักษรธรรมล้านนาᨻᩯᩖ᩵
อักษรไทยแป้

ประวัติศาสตร์ แก้

การก่อตั้งชุมชน แก้

จากการศึกษาทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดแพร่ พบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด หอกสำริด ที่อำเภอลองและอำเภอวังชิ้น ต่อมา มีการค้นพบแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ในถ้ำที่บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ขวานหิน และเครื่องมือหิน จากการตรวจสอบอายุพบว่ามีอายุราว 4,000 ปี [3]

จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ การศึกษาจากเอกสารและคำบอกเล่า รวมทั้งจากการสำรวจภาคสนาม พบที่ตั้งชุมชนโบราณในจังหวัดแพร่ จำนวน 24 แห่ง ชุมชนของคนกลุ่มน้อย จำนวน 4 แห่ง ชุมชนโบราณตั้งอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

  • อำเภอเมืองแพร่ ได้แก่ เมืองแพร่ วังมอญ วังธง เวียงตั้ง
  • อำเภอสอง ได้แก่ เมืองสอง เวียงเทพ ชุมชนใกล้พระธาตุหนองจันทร์
  • อำเภอร้องกวาง ได้แก่ เวียงสันทราย
  • อำเภอหนองม่วงไข่ ได้แก่ บ้านแม่คำมีท่าล้อ ชุมชนโบราณบ้านปากยาง
  • อำเภอสูงเม่น ได้แก่ บ้านเวียงทอง บ้านพระหลวง บ้านสูงเม่น
  • อำเภอเด่นชัย ได้แก่ บ้านเด่นชัย บ้านบ่อแก้ว
  • อำเภอลอง ได้แก่ เมืองลอง เวียงต้า เวียงเชียงชื่น เมืองโกณหลวง เมืองลัวะ ชุมชนโบราณบ้านแม่รัง
  • อำเภอวังชิ้น ได้แก่ เมืองตรอกสลอบ บ้านแม่บงเหนือหรือขวานหินมีบ่า หรือที่เรียกว่า เสียมตุ่น บ้านใหม่ บ้านนาใหม่ หินไม่มีบ่าพบเพียงเล็กน้อย

ชุมชนโบราณที่สำคัญ แก้

  • เมืองสองหรือเมืองสรอง ตั้งอยู่บนฝั่งของแม่น้ำสอง หรือแม่น้ำกาหลง มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 3 ชั้น เชื่อกันว่าเป็นเมืองของพระเพื่อน-พระแพงในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ กลางเมืองมีซากเจดีย์เก่าแก่ ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุหินส้ม ปัจจุบันได้รับการบูรณะและสร้างวัดขึ้นให้ชื่อว่า "วัดพระธาตุพระลอ"
  • ชุมชนเวียงเทพ เป็นชุมชนที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น
  • ชุมชนเวียงสันทราย เป็นชุมชนเดียวที่พบในอำเภอร้องกวาง มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชุมชน
  • ชุมชนโบราณบ้านแม่คำมี ลักษณะของชุมชนคือสร้างสองฝั่งลำน้ำแม่คำมี มีลักษณะแตกต่างจากชุมชนโบราณแห่งอื่นที่สร้างติดลำน้ำด้านเดียว มีแนวคันดินด้านทิศตะวันออกเหลืออยู่ 3 ชั้น
  • บ้านพระหลวงธาตุเนิ้ง ชุมชนนี้ไม่ปรากฏคูน้ำและคันดินล้อมรอบแต่มีโบราณสถานที่สำคัญคือ พระธาตุเนิ้ง (เจดีย์นี้มีลักษณะเอียงซึ่งอาจเกิดจากแผ่นดินไหว) ได้รับการบูรณะซ่อมแซมและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ
  • เวียงต้า ที่ตั้งชุมชนเป็นที่ราบลูกคลื่นใกล้ภูเขามีแนวคันดิน 3 ชั้น นอกกำแพงวัดมีวัดเก่าแก่ คือ วัดต้าม่อน มีภาพเขียนฝาผนังเขียนเล่าชาดกเรื่อง "ก่ำก๋าดำ" ปัจจุบันภาพจิตรกรรมนี้ถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
  • เมืองลอง ในสมัยพระเจ้าติโลกราช เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของอาณาจักรรับภาวะศึกสงครามกับอาณาจักรอยุธยา เมืองโบราณแห่งนี้มีชื่อเรียกอื่นๆอีก ได้แก่ "เมืองเววาทภาษิต" "เมืองกกุฎไก่เอิ้ก" และ "เวียงเชียงชื่น" เมืองลองมีแนวคันดินเป็นกำแพงล้อมรอบแต่ปัจจุบันถูกขุดทำลายเพื่อใช้พื้นที่ทำนา ในอดีตเมืองลองขึ้นกับนครลำปาง และได้รับการโอนมาเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2474
  • ชุมชนโบราณบ้านแม่บงเหนือ ในอดีตชุมชนนี้เป็นเมืองของพวกลั๊วะก่อนการตั้งอาณาจักรล้านนา
  • เมืองตรอกสลอบ บ้านนาเวียง อำเภอวังชิ้น มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น ปัจจุบันวัดที่ตั้งในเขตเมืองได้รับการบูรณะและให้ชื่อว่า "วัดบางสนุก"

การก่อตั้งเมืองแพร่ แก้

เมืองแพร่ เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ประวัติการสร้างเมือง ไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ การศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่จึงต้องอาศัยหลักฐานของเมืองอื่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนานพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นต้น

  • ตำนานวัดหลวงกล่าวไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1371 พญาพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้าได้อพยพคนไทย(ไทยลื้อ ไทยเขิน)ส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมฝังแม่น้ำยมขนานนามว่า “เมืองพลนคร”
  • ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าเมืองแพร่เป็นเมือง ที่ปกครองโดยพญายี่บาแห่งแคว้นหริภุญไชย สันนิษฐานว่าเมืองแพร่และมืองลำพูนเป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน หลักฐานหนึ่งในประเด็นนี้ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือสัณฐานเค้าโครงของเมืองโบราณทั้งสองที่มีรูปร่างคล้ายหอยสังข์เหมือนกัน
  • หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ 1 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 24 - 25 ซึ่งจารึกไว้ว่า . “..เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพล เมืองน่าน เมือง…เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว…” ในข้อความนี้ เมืองแพล คือ เมืองแพร่ ศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1826 จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความเก่าแก่ของเมืองแพร่ ว่าตั้งขึ้นมาก่อนเมืองเชียงใหม่ และเชื่อว่าเมืองแพร่ ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วก่อนการตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
  • ตำนานพระธาตุลำปางหลวง กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคนมาติดต่อเจ้านครพล ให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และเจ้าเมืองพลยกกำลังผู้คนไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าวสัณนิษฐานว่าคือเมืองแพร่ นอกจากนี้ยังปรากฏเป็นชื่อวิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ โดยเชื่อว่าวัดนี้เป็นวัดที่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่และเจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มาตลอดจนหมดยุคการปกครองโดยเจ้าเมือง
  • พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนและวรรณกรรมทางศาสนา เรียกเมืองแพร่ว่าเวียงโกศัย ชื่อเวียงโกศัยน่าจะมาจากชื่อดอยที่เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองแพร่คือ ดอยโกสิยธชัคบรรพต หมายถึง ดอยแห่งผ้าแพร ซึ่งสอดคล้องกับชื่อเมืองแพลในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 4 โดยคำว่า แพล น่าจะมาจากศรัทธาของ ชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮที่สร้างขึ้น ภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อ เมืองของตนว่า เมืองแพล

จนถึงปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนการปกครองจากเจ้าผู้ครองนครเป็นมณฑลเทศาภิบาล และโปรดเกล้าให้พระยาไชยบูรณ์มาเป็นข้าหลวงเมืองแพร่คนแรก โดยมีเจ้าผู้ครองนครแพร่ คือ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ต่อมาเกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวในปี พ.ศ. 2445 จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพพร้อมหัวเมืองใกล้เคียงเข้าปราบกบฏเงี้ยวที่เมืองแพร่ พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยวสังหาร ส่วนเจ้าพิริยเทพวงษ์เกรงพระราชอาญา จึงเสด็จหลี้ภัยการเมืองไปพำนักที่เมืองหลวงพระบาง หลังจากนั้นรัฐบาลสยามจึงยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่

ตำนานเมืองแพร่แห่ระเบิด แก้

คนแพร่มักถูกทักทายเชิงล้อเลียนอยู่เสมอว่า เมืองแพร่แห่ระเบิด และมักมีการกล่าวอ้างเลื่อนลอยอีกด้วยว่าคนแพร่ในอดีตไม่รู้จักระเบิดจึงนำระเบิดไปแห่จนเกิดระเบิดขึ้น[4][5] ซึ่งไม่น่าจะเป็นความจริง จึงมีผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร หมายความว่าอย่างใด โดยศึกษาอ้างอิงกับเรื่องราวสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากคุณสุรินทร์ โสภารัตนานันท์ อดีตเสรีไทย รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีกหลายคน[6]ได้ความว่า

นายหลง มโนมูล ซึ่งเป็นคนงานรถไฟสถานีแก่งหลวง ได้ไปพบซากระเบิด ที่ทิ้งมาจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำระเบิดมาทิ้งเพื่อทำลายสะพานรถไฟข้ามห้วยแม่ต้า เพื่อสกัดการเดินทางของทหารญี่ปุ่น เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 (ประมาณปี พ.ศ. 2485 – 2488) จึงได้มาบอกนายสมาน หมื่นขัน ทราบ นายสมานฯ จึงไปดูและขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟ ที่สถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ นายชุ่ม ขันแก้ว นายชัยวัฒน์ พึ่งพอง นายพินิจ สุทธิสุข นายย้าย ปัญญาทอง ให้มาช่วยกันขุด และทำการถอดชนวนแล้วใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิดควักเอาดินระเบิดที่บรรจุอยู่ภายในออก และช่วยกันหามขึ้นล้อ(เกวียน) นำไปพักไว้ที่บ้านแม่ลู่ตำบลบ้านปิน ต่อมานายหลงฯ ได้ไปลากต่อมาจากบ้านแม่ลู่โดยล้อ (เกวียน) ชาวบ้านทราบข่าว จึงแตกตื่นพากันออกมาดูทั้งหมู่บ้าน เดินตามกันเป็นขบวนยาว ติดตามมาตลอดทางจนถึงวัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงรอบ ๆ วัด พอทราบข่าวก็ออกมาต้อนรับพร้อมวงฆ้อง – กลองยาว ขบวนที่แห่กันมาจึงเคลื่อนขบวนเข้าวัดทำพิธีถวายให้เป็นสมบัติของวัด เพื่อใช้เป็นระฆังของวัดจนถึงปัจจุบันนี้ ระเบิดลูกที่ 2 นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ ส่วนลูกระเบิดลูกที่ 3 นายบุญมา อินปันดีใช้ช้างลากขึ้นมาจากห้วยแม่ต้า แล้วนำมาบรรทุกล้อ (เกวียน) ลากไปถวายที่วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง ซึ่งเป็นบ้านเดิมของนางจันทร์ ผู้เป็นภรรยา ปัจจุบันลูกระเบิดที่ 1 เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ ลูกที่ 2 เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ ลูกที่ 3 เก็บไว้ที่วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง จังหวัดแพร่[7]

ภูมิศาสตร์ แก้

จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งเหนือที่ 17.70 ถึง 18.84 องศา กับเส้นแวงที่ 99.58 ถึง 100.32 องศา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 155 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงหมายเลข 11 และ 101 ประมาณ 555 กิโลเมตร และทางรถไฟ 550 กิโลเมตร (ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย) มีเนื้อที่ประมาณ 6,538.59 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,086,625 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.27 ของพื้นที่ประเทศ จัดเป็นพื้นที่จังหวัดขนาดกลาง มีความกว้างประมาณ 59 กิโลเมตร (วัดจากตะวันออกสุดของอำเภอเมืองตะวันตกสุดของอำเภอลอง) มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร (วัดจากเหนือสุดของอำเภอสอง ใต้สุดของอำเภอวังชิ้น) ปัจจุบัน ที่ตั้งของจังหวัดแพร่นับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือที่ติดต่อไปยังจังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จึงเรียกได้ว่าจังหวัดแพร่เป็น ประตูสู่ล้านนา[8][9]

อาณาเขต แก้

ภูมิประเทศ แก้

จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่มีภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีภูเขาที่สูงที่สุดอยู่ที่ ดอยช้างผาด่าน[10]จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยทั่วไปพื้นที่ราบจะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-200 เมตร สำหรับตัวเมืองแพร่มีความสูง 161[11] เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แม่น้ำยมเป็นลำน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดแพร่ต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา[12]

ภูมิอากาศ แก้

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อน อบอ้าวอุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ 43.6 องศาเซลเซียสเมื่อปี พ.ศ. 2526[13] อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 37.3[14] องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,000-1,500 มิลมิเมตร
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม-ปลายเดือนกุมภาพันธ์ จะมีอากาศหนาวอาจถึงหนาวจัดในบางปี อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 4.6 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517[13] อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 14.4 องศาเซลเซียส[14]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด แก้

  • สัญลักษณ์ตราประจำจังหวัด : รูปพระธาตุช่อแฮ ประดิษฐานบนหลังม้า
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกยมหิน (Chukrasia tabularis)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นยมหิน (Chukrasia tabularis)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม
  • วิสัยทัศน์จังหวัดแพร่: เมืองแพร่น่าอยู่ ประตูสู่ล้านนา เศรษฐกิจก้าวหน้า ประชาเป็นสุข[15]

การเมืองการปกครอง แก้

หน่วยการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 78 ตำบล 645 หมู่บ้าน

 
แผนที่อำเภอในจังหวัดแพร่
ที่ ชื่ออำเภอ ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนตำบล จำนวนประชากร[16] ระยะทางจากตัวจังหวัด
1. เมืองแพร่ ᨾᩮᩬᩥᨦᨻᩯᩖ᩵ Mueang Phrae 20 121,504 -
2. ร้องกวาง ᩁᩬ᩶ᨦᨣ᩠ᩅᩣ᩠ᨦ Rong Kwang 11 50,901 30
3. ลอง ᩃᩬᨦ Long 9 56,340 42
4. สูงเม่น ᩈᩪᨦᩉᩮ᩠ᨾ᩶ᩁ Sung Men 12 77,917 14
5. เด่นชัย ᨯᩮ᩠᩵ᨶᨩᩱ᩠ᨿ Den Chai 5 36,729 25
6. สอง ᩈᩕᩬᨦ Song 8 51,871 50
7. วังชิ้น ᩅᩢ᩠ᨦᨩᩥ᩠᩶ᨶ Wang Chin 7 46,932 80
8. หนองม่วงไข่ ᩉ᩠ᨶᩬᨦᨾ᩠ᩅ᩵ᨦᨡᩱ᩵ Nong Muang Khai 6 18,562 24

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

อำเภอเมืองแพร่

อำเภอสอง

อำเภอลอง

อำเภอสูงเม่น

อำเภอเด่นชัย

อำเภอร้องกวาง

อำเภอหนองม่วงไข่

อำเภอวังชิ้น

รายชื่อผู้ว่าราชการ แก้

รายชื่อผู้ว่าราชการเมืองแพร่ และผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
- พระยาราชฤทธานนท์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร์) พ.ศ. 2440–2445 ตำแหน่งข้าหลวง โดยมีเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่
1 พระยาศรีสุริยะราชวรานุวัตร (ทองศุข ดิษบุตร) พ.ศ. 2445–2446 แต่หลักฐานทางราชการในสมัย ร.5 ระบุว่าเป็น พระยาศรีสุริยะราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์)
2 พระยาศรีสัชนาไลยบดี (เลี้ยง ศิริปาละกะ)[17][18] พ.ศ. 2446–2448
3 พระยาพิริยวิไชย (เวศ)[19] พ.ศ. 2448–2449
4 อ.อ. พระยานิกรกิติการ (กั๊ก ศรีเพ็ญ) พ.ศ. 2449–2458
5 อ.อ.พระยาสุรินทรภักดี ศรีไผทสมันต์ (สร่าง พุกกณานนท์) พ.ศ. 2458–2460
6 อ.อ.พระยายอดเมืองขวาง (ม.ล. อั้น เสนีย์วงศ์) พ.ศ. 2460–2461
7 อ.ท.พระยาพิริยะวิชัย (เทียบ สุวรรณิน)[20] พ.ศ. 2461–2466
8 ม.อ.ต.พระยารามราชเดช (ม.ร.ว. ปาน นพวงศ์) พ.ศ. 2466–2467
9 อ.ท.พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยระภา) พ.ศ. 2467–2469
10 อ.ท.พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิ์ชูโต) พ.ศ. 2469–2471
11 ม.อ.ต.พระยาเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (แม้น วสันตสิงห์) พ.ศ. 2471–2478
12 พระพายัพพิริยะกิจ (เอม ทินทลักษณ์) พ.ศ. 2478–2479
13 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) พ.ศ. 2479–2481
14 หลวงเกษมประศาสน์ (บุญหยด สุวรรณสวัสดิ์) พ.ศ. 2481–2484
15 หลวงศรีนราศัย (ผิว จันทิมาคม) พ.ศ. 2484–2487
16 นายพรหม สูตรสุคนธ์ พ.ศ. 2487–2487
17 หลวงสรรคประศาสน์ (วิเศษ สรรคประศาสน์) พ.ศ. 2487–2489
18 นายสง่า สุขรัตน์ พ.ศ. 2489–2490
19 นายจรัส ธารีสาร พ.ศ. 2490–2493
20 นายเพ็ชร บูรณะวรศิริ พ.ศ. 2493–2495
21 นายชุณห์ นกแก้ว พ.ศ. 2495–2501
22 นายพยุง ตันติลิปิกร พ.ศ. 2501–2502
23 นายสมบัติ สมบัติทวี พ.ศ. 2502–2505
24 นายเครือ สุวรรณสิงห์ พ.ศ. 2505–2511
25 นายวิจิตร แจ่มใส พ.ศ. 2511–2512
26 นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒิ พ.ศ. 2512–2519
27 นายธานี โรจนาลักษณ์ พ.ศ. 2519–2520
28 นายสำรวย พึ่งประสิทธิ์ พ.ศ. 2520–2523
29 นายชูวงศ์ ฉายะบุตร พ.ศ. 2523–2524
30 นาวาเอก จำลอง ประเสริฐยิ่ง ร.น. พ.ศ. 2524–2524
31 นายแสวง อินทุสุต พ.ศ. 2524–2526
32 นายอนันต์ มีชำนะ พ.ศ. 2526–2527
33 นายธวัช รอดพร้อม พ.ศ. 2527–2532
34 นายศักดา ลาภเจริญ พ.ศ. 2532–2534
35 นายจินต์ วิภาตะกลัศ พ.ศ. 2534–2536
36 นายศักดิ์ เตชาชาญ พ.ศ. 2536–2537
37 นายทรงวุฒิ งามมีศรี พ.ศ. 2537–2539
38 นายนรินทร์ พานิชกิจ พ.ศ. 2539–2541
39 นายอนุกุล คุณาวงศ์ พ.ศ. 2541–2544
40 นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ พ.ศ. 2544–2546
41 นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง พ.ศ. 2546–2547
42 นายสันทัด จัตุชัย พ.ศ. 2547–2548
43 นายอธิคม สุวรรณพงศ์ พ.ศ. 2548–2550
44 ว่าที่ร้อยตรี พงษ์ศักดิ์ พลายเวช พ.ศ. 2550–2552
45 นายวัลลภ พริ้งพงษ์ พ.ศ. 2552–2552
46 นายสมชัย หทยะตันติ พ.ศ. 2552–2553
47 นายชวน ศิรินันท์พร พ.ศ. 2553–2554
48 นายเกษม วัฒนธรรม พ.ศ. 2554–2555
49 นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ พ.ศ. 2555–2557
50 นายศักดิ์ สมบุญโต พ.ศ. 2557–2558
51 นายพิเชษฐ์ ไพบูลย์ศิริ พ.ศ. 2558–2559
52 นายวัฒนา พุฒิชาติ พ.ศ. 2559–2560
53 นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ พ.ศ. 2560–2562
54 นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ พ.ศ. 2562–2563
55 นายสมหวัง พ่วงบางโพ พ.ศ. 2563–2565
56 นายชุติเดช มีจันทร์ พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ แก้

ศาสนสถาน
ทางธรรมชาติ

ถ้ำเอราวัณ

โบราณสถาน

โครงสร้างพื้นฐาน แก้

การขนส่ง แก้

จังหวัดแพร่อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 555 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดแพร่ได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน

ทางราง แก้

จังหวัดแพร่มีทางรถไฟตัดผ่านที่อำเภอเด่นชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยให้บริการเดินรถระหว่างอำเภอเด่นชัยและจังหวัดต่างๆ ทั้งเที่ยวขึ้นและเที่ยวล่องทุกวัน

ทางถนน แก้

จากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดแพร่ สามารถใช้เส้นทางรถยนต์ได้ 3 เส้นทาง ดังนี้

  • เส้นทางที่ 1 กรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 11) สายใหม่ จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี เข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้งที่จังหวัดชัยนาท ตรงไปจังหวัดนครสวรรค์ แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) ผ่านจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก จากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 125 (เลี่ยงเมืองพิษณุโลก-วังทอง) แล้วเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) ตรงไป จ.อุตรดิตถ์ และเข้าสู่ตัวจังหวัดแพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง เป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมและสะดวกสบายในการเดินทางมากที่สุด
  • เส้นทางที่ 2 กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 101) สายเก่า ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้ตรงไปที่จังหวัดกำแพงเพชร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายเก่า กำแพงเพชร - น่าน) โดยผ่าน อ.พรานกระต่าย อ.คีรีมาศ ตรงไปจังหวัดสุโขทัย ผ่าน อ.สวรรคโลก อ.ศรีสัชนาลัย แล้วตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 101 อีกเช่นเคย เข้าเขตจังหวัดแพร่ ผ่าน อ.วังชิ้น แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 101 อีกครั้ง ที่ อ.เด่นชัย ผ่านตรงไปอ.สูงเม่น และเข้าสู่จังหวัดแพร่เช่นกัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่งโมงเศษ เส้นทางนี้ เคยเป็นเส้นทางสายเก่าของภาคเหนือเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วก่อนที่จะมีทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย - พิษณุโลก) สำหรับผู้ที่จะไปจังหวัดแพร่ โดยใช้เส้นทางที่ 2 นี้ จะเหมาะเดินทางในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน เพราะเส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 101 (ช่วงเด่นชัย-ศรีสัชนาลัย) จะโค้งคดเคี้ยว และเส้นทางค่อนข้างแคบทับไปตามแนวป่าเขาสูง จึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • เส้นทางที่ 3 กรุงเทพฯ-ตากฟ้า-วังทอง-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่ (ทางหลวงหมายเลข 11) สายใหม่ ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีแล้ว ให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 11 (ตากฟ้า-วังทอง) ผ่าน จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร และ เข้าสู่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-สุโขทัย) จากนั้นก็เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) อีกครั้ง ผ่าน จ.อุตรดิตถ์ แล้วตรงไป อ.เด่นชัย เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 101 ไปสู่จัหวัดแพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมงเศษ

บริษัท ขนส่ง จำกัด และบริษัทเอกชนมีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-แพร่ และกรุงเทพฯ-แพร่-สอง ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน บริษัทรถโดยสารที่ให้บริการ มีดังนี้

  • บริษัทขนส่งจำกัด
  • บริษัทสมบัติทัวร์
  • บริษัทนครชัยแอร์
  • บริษัทวิริยะแพร่ทัวร์
รถโดยสารประจำทางระหว่างต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร
  • สาย 923 กรุงเทพ-แพร่ (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ บุษราคัมทัวร์ นครชัยแอร์ (ปรับอากาศ ป.2 และ ปรับอากาศชั้นเดียว ป.1)
  • สาย 923-1 กรุงเทพ-แพร่-สอง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-สอง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. (ปรับอากาศสองชั้น ป.1)
  • สาย 923-2 (สายเก่า) กรุงเทพ-แพร่-สอง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-สอง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. (ปรับอากาศสองชั้น ป.1)
  • สาย 922 กรุงเทพ-พะเยา (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์
  • สาย 964 กรุงเทพ-วังชิ้น (แพร่) (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-อ.เถิน-อ.วังชิ้น) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. (ปรับอากาศชั้นเดียว ป.1)
  • สาย 910 กรุงเทพ-น่าน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ บุษราคัมทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 96-1 (สายเก่า) กรุงเทพ-น่าน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. เชิดชัยทัวร์
  • สาย 96-2 กรุงเทพ-น่าน (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บุษราคัมทัวร์
  • สาย 47 กรุงเทพ-ทุ่งช้าง (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เวียงสา-น่าน-ปัว-เชียงกลาง-ทุ่งช้าง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์
  • สาย 962 กรุงเทพ-เชียงของ (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เทิง-เชียงของ) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ โชครุ่งทวีทัวร์ บุษราคัมทัวร์ เชิดชัยทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 909 กรุงเทพ-เชียงราย (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. โชครุ่งทวีทัวร์ เชิดชัยทัวร์ สมบัติทัวร์
  • สาย 957 กรุงเทพ-แม่สาย (กรุงเทพ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ บขส. สมบัติทัวร์ เชิดชัยทัวร์ โชครุ่งทวีทัวร์ นครชัยแอร์
  • สาย 660 ระยอง-เชียงราย-แม่สาย (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 660 ระยอง-แพร่-น่าน (ระยอง-พัทยา-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระบุรี-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยแอร์
  • สาย 661 เชียงราย-นครพนม (นครพนม-สกลนคร-อุดรธานี-เลย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สมบัติทัวร์ จักรพงษ์ทัวร์
  • สาย 622-1 พิษณุโลก-เชียงราย-แม่สาย (สายเก่า) (พิษณุโลก-สุโขทัย-สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย-แม่สาย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 624 พิษณุโลก-เชียงของ (สายใหม่) (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงคำ-เชียงของ) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 622-2 พิษณุโลก-เชียงราย (สายใหม่) (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์
  • สาย 613 พิษณุโลก-น่าน-ทุ่งช้าง (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-น่าน-ทุ่งช้าง) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ สุโขทัยวินทัวร์ และ นครน่านทัวร์
  • สาย 663 นครสวรรค์-เชียงราย (นครสวรรค์-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครสวรรค์ยานยนต์ (ถาวรฟาร์มทัวร์)
  • สาย 633 ขอนแก่น-เชียงราย (ขอนแก่น-ชุมแพ-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-งาว-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ อีสานทัวร์ สมบัติทัวร์
  • สาย 651 นครราชสีมา-แม่สาย (นครราชสีมา-สระบุรี-โคกสำโรง-ตากฟ้า-เขาทราย-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ นครชัยทัวร์
  • สาย 780 ภูเก็ต-เชียงราย (ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี-ชุมพร-ประจวบฯ-เพชรบุรี-อยุธยา-นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ ไทยพัฒนกิจขนส่ง
  • สาย 877 หาดใหญ่-เชียงราย-แม่สาย (แม่สาย-เชียงราย-พะเยา-แพร่-อุตรดิตถ์-พิษณุโลก-ทุ่งสง-พัทลุง-หาดใหญ่-ด่านนอก) บริษัท ปิยะชัยพัฒนาทัวร์
  • สาย 780 บึงกาฬ-เชียงราย (บึงกาฬ-หนองคาย-อุดรธานี-ขอนแก่น-หล่มสัก-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-แพร่-พะเยา-เชียงราย) บริษัทผู้เดินรถ ได้แก่ ไทยพัฒนกิจขนส่ง
  • สาย 169-1 เชียงใหม่-ทุ่งช้าง (เชียงใหม่-ลำปาง-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-น่าน-ปัว-เชียงกลาง-ทุ่งช้าง) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด
  • สาย 169-2 ลำปาง-แพร่ (ลำปาง-แม่แขม-เด่นชัย-สูงเม่น-แพร่) บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง จำกัด (รถตู้ปรับอากาศ)
  • สาย 144 เชียงราย-เด่นชัย (เชียงราย-พาน-พะเยา-งาว-แพร่-เด่นชัย) บริษัท แพร่ยานยนต์ขนส่ง (หนานคำทัวร์) จำกัด (รถตู้ปรับอากาศ)
  • สาย 143 อ.เฉลิมพระเกียรติ-น่าน-อ.เด่นชัย (ห้วยโก๋น-เฉลิมพระเกียรติ-ทุ่งช้าง-เชียงกลาง-ปัว-น่าน-เวียงสา-ร้องกวาง-แพร่-เด่นชัย) บริษัท นครน่านยานยนต์ขนส่ง จำกัด (รถตู้ปรับอากาศ)
  • สาย 146 ลำปาง-แพร่ (ลำปาง-ม.ราชภัฏลำปาง-แม่ทะ-แม่แขม-ลอง-แพร่) บริษัท สหกรณ์นครลำปางเดินรถ จำกัด (รถตู้ปรับอากาศ)
  • สายแพร่-แม่แขม-แม่สรอย (แพร่-เวียงต้า-ลอง-แม่แขม-วังชิ่น-แม่สรอย) บริษัท สหกรณ์เมืองแพร่ขนส่ง จำกัด (รถตู้ปรับอากาศ)
  • สายแพร่-สอง-เชียงคำ (แพร่-ร้องกวาง-สอง-สะเอียบ-เชียงม่วน-ปง-เชียงคำ) บริษัท สหกรณ์เมืองแพร่ขนส่ง จำกัด (รถตู้ปรับอากาศ) ในอนาคต เร็วๆ นี้

ทางอากาศ แก้

สายการบินในประเทศ ได้แก่ นกแอร์ (กรุงเทพฯ ดอนเมือง) ทำการบินทุกวัน วันละ 1 เที่ยวบิน

การศึกษา แก้

ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
ระดับอาชีวะศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

ศาสนา แก้

ศิลปิน แก้

  • ศรีวิไจย โข้ กวีผู้มีชื่อเสียงของล้านนา
  • โชติ แพร่พันธุ์ หรือ ยาขอบ นักเขียนชื่อดังของไทย
  • แม่ประนอม ทาแปง ศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2553 สาขาทัศนศิลป์-ประณีตศิลป์ ด้านการทอผ้าพื้นเมือง
  • นายโกมล พานิชพันธ์ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอีก 3 แห่ง

วิชาการ แก้

ข้าราชการ แก้

การเมือง แก้

บันเทิง แก้

กีฬา แก้

เมืองพี่น้อง แก้

โดยกรุงเทพมหานครได้สถาปนาความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่น้องกับจังหวัดแพร่ ภายหลังจากที่กรุงเทพฯได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัดแพร่ในการอนุญาตให้พลีต้นสักทองจำนวน 6 ต้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ที่อำเภอเด่นชัย มาทำเป็นเสาชิงช้าต้นใหม่[21]

อ้างอิง แก้

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2565.
  3. http://a-natong.blogspot.com/
  4. "นั่งสามล้อผ่อเมือง "แพร่" ไขตำนาน "แพร่แห่ระเบิด"". ผู้จัดการออนไลน์. 16 กุมภาพันธ์ 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-04. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ธีรภาพ โลหิตกุล (1 กุมภาพันธ์ 2557). "ปลดชนวนวาทกรรมตำใจ "แพร่แห่ระเบิด"". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. พระสมุห์สากล อติพัทโธ เจ้าอาวาสวัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ นายสม ไชยแก้ว บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง นายสมาน หมื่นขัน บ้านเลขที่ 92/6 หมู่ที่ 4 แม่ลานพัฒนา ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-05. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
  9. http://www.phrcc.ac.th/phrae/phrae_2.html[ลิงก์เสีย]
  10. )[ลิงก์เสีย]
  11. http://www.dnp.go.th/statistics/2549/stat2549.asp
  12. http://www.phrcc.ac.th/phrae/phrae_2.html[ลิงก์เสีย]
  13. 13.0 13.1 http://www.cmmet.tmd.go.th/
  14. 14.0 14.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-16. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
  16. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดพะเยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้พระยาศรีสุริยราช เป็นผู้แทนข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ให้พระยาศรีสัชนาไลย ผู้ว่าราชการเมืองสวรรคโลกเป็นว่าราชการเมืองแพร่, เล่ม 20, ตอน 42, 17 มกราคม ร.ศ. 122, หน้า 718
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย ให้พระบริรักษ์โยธี ผู้ว่าราชการเมืองศุโทย เป็นผู้ว่าราชการเมืองแพร่ พระยาศรีสัชนาไลยบดี เป็นผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัย, เล่ม 22, ตอน 19, 6 สิงหาคม ร.ศ. 124, หน้า 429
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ถอดพระยาพิริยวิไชย (เวศ) ผู้ว่าราชการเมืองแพร่ ออกจากยศบรรดาศักดิ์, เล่ม 25, ตอน 29, 18 ตุลาคม ร.ศ. 127, หน้า 837
  20. https://www.facebook.com/nawincheer/posts/711018295619884
  21. รู้จักเมืองพี่เมืองน้อง...ของกรุงเทพฯ .Travel - Manager Onlinehttps สืบค้น 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

18°09′N 100°10′E / 18.15°N 100.16°E / 18.15; 100.16