สถานีอิสรภาพ

สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีแรกของฝั่งธนบุรี

สถานีอิสรภาพ (อังกฤษ: Itsaraphap Station, รหัส BL32) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยเป็นสถานีสถานีแรกและสถานีเดียวของสายเฉลิมรัชมงคลที่มีโครงสร้างใต้ดินที่ตั้งอยู่ที่ฝั่งธนบุรี สถานีตั้งอยู่ในแนวตัดขวางใต้ถนนอิสรภาพ บริเวณใต้ซอยอิสรภาพ 23 และซอยอิสรภาพ 34 ในพื้นที่แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ โดยเป็นสถานีใต้ดินสถานีสุดท้ายก่อนยกระดับเข้าสู่สถานีท่าพระ รวมถึงเป็นสถานีที่เชื่อมต่อไปยังอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อข้ามไปฝั่งพระนครอีกด้วย

อิสรภาพ
BL32

Itsaraphap
ชั้นขายบัตรโดยสาร เสาประดับด้วยลายหงส์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนอิสรภาพ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′18.3″N 100°29′07.1″E / 13.738417°N 100.485306°E / 13.738417; 100.485306
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL32
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-07-29)
ผู้โดยสาร
25641,502,553
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ท่าพระ
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน สนามไชย
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง แก้

ระหว่างซอยอิสรภาพ 23 (ซอยวัดราชสิทธาราม) และซอยอิสรภาพ 34 (ซอยพิเศษสุข) ในพื้นที่แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

การออกแบบ แก้

สถานีอิสรภาพเป็นสถานีเดียวที่การออกแบบตัวสถานีจะไม่ใช้ลักษณะการออกแบบเดียวกับสถานีใต้ดินก่อนหน้า (วัดมังกร สามยอด และสนามไชย) เช่นการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นทางเข้า การทำลวดลายบนฝ้าเพดาน หรือการตกแต่งโดยละเอียดของสถานี ซึ่งการออกแบบสถานีอิสรภาพจะเน้นลักษณะการออกแบบตัวสถานีแบบเดียวกับสถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลรูปแบบเดิม แต่เปลี่ยนโทนสีในการตกแต่งให้เป็นสีทองเป็นหลัก มีการนำรูปหงส์ ที่เป็นสัตว์สิริมงคลและศักดิ์สิทธิ์ และยังเป็นสัญลักษณ์ของวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหารมาปรับใช้ในการออกแบบ เพื่อสื่อให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่[1][2]

นอกจากการใช้ "หงส์" เป็นสัญลักษณ์หลักของสถานี ตัวสถานียังมีการนำลายค้างคาวและเหรียญจีนมาตกแต่งตามกระเบื้องหัวเสา ป้ายประเพณีประจำสถานี ป้ายบอกทางภายในสถานี บานประตูฉุกเฉินและจุดรับน้ำดับเพลิง ซึ่งอาศัยความเชื่อของจีนมาใช้ในการออกแบบสัญลักษณ์ โดยความหมายของสัญลักษณ์คือ ค้างคาว เป็นการเล่นคำเล่นเสียงของจีน คือ เปี่ยน-ฝู ซึ่งคำว่า ฝู ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ฝู หรือ ฮก ในภาษาแต้จิ๋ว หมายถึงความสุขหรือโชคลาภ และเมื่อนำสัญลักษณ์ค้างคาวมาออกแบบร่วมกับเหรียญของจีน อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวย ความเป็นมงคล และเป็นสิ่งมีค่าตามความเชื่อโบราณว่าเป็น 1 ในสุดยอด 28 ของมงคลของจีน ถือว่าเป็นสิ่งที่นำพาโชคลาภมาให้ ฉะนั้นแล้วการรวมสองสัญลักษณ์ความเป็นมงคลของจีนเข้าด้วยกัน สัญลักษณ์ของสถานีจะมีความหมายว่า "การขอให้มีความสุขเกิดขึ้นก่อนใคร" (Wealth is on the Horizon)

แผนผังสถานี แก้

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง และรถรับจ้างประจำทาง
มัสยิดดิลฟัลลาห์, กุฎีเจริญพาศน์, วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร, วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร
B1
ชั้นร้านค้า
ทางออก 1-2, ร้านค้า
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชั้น Plant
ห้องเครื่อง ชั้นคั่นกลางระหว่างชั้นขายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา
B4
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี แก้

สัญลักษณ์ของสถานี แก้

 
สัญลักษณ์รูปหงส์ อันเป็นตราสัญลักษณ์ของสถานี

ตราสัญลักษณ์สถานีเป็นรูปหงส์ เพื่อสื่อถึงตราสัญลักษณ์ประจำของวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร กระเบื้องหัวเสาและป้ายสถานี ออกแบบโดยใช้ลายค้างคาวและเหรียญจีน เพื่อแสดงถึงความเป็นสิริมงคล โดยมีความหมายว่า "การขอให้มีความสุขเกิดขึ้นก่อนใคร" และใช้สีทองตกแต่งสถานีเพื่อสื่อถึงความเป็นสิริมงคลและเป็นสีที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์

รูปแบบของสถานี แก้

เป็นสถานีใต้ดิน ใช้ชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออกสถานี แก้

  • 1 ซอยอิสรภาพ 34, วัดหงส์รัตนาราม, สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่, มัสยิดผดุงธรรมอิสลาม (ลิฟต์)
  • 2 ซอยอิสรภาพ 23, วัดราชสิทธาราม, วัดใหม่พิเรนทร์, มัสยิดดิลฟัลลาห์ (ลิฟต์)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี แก้

แบ่งเป็น 5 ชั้น ประกอบด้วย

  • G ชั้นระดับถนน (Ground level)
  • B1 ชั้นร้านค้า
  • B2 ชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • B3 ชั้นคั่นกลางระหว่างชั้นออกบัตรโดยสารกับชั้นชานชาลา
  • B4 ชั้นชานชาลา (Platform level) ชานชาลา 1 มุ่งหน้าสถานีหลักสอง และชานชาลา 2 มุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านสถานีบางซื่อ)

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:47 00:16
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:57 00:16
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:45 23:22
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:02 23:22
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:36

รถโดยสารประจำทาง แก้

  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
208 (3) วงกลม : ตลิ่งชัน อรุณอมรินทร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก. เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม
มีรถให้บริการน้อย

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
40 (4-39)     สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน)   BTS เอกมัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
56 (4-40)   สะพานกรุงธน บางลำพู บจก.ชัยกรการเดินรถ
(เครือไทยสมายล์บัส)
เส้นทางเป็นวงกลม
57 (4-41)   ตลิ่งชัน วงเวียนใหญ่ บจก.ไทยสมายล์บัส
85 (4-16)   บิ๊กซีพระประแดง   สถานีรถไฟธนบุรี บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
149 (4-53)   บรมราชชนนี   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) บจก.ไทยสมายล์บัส
  • รถสี่ล้อเล็ก สายคลองสาน–ศิริราช และตลาดพลู–ศิริราช
  • รถตู้ร่วมให้บริการ สายสถานีอิสรภาพ–โรงพยาบาลธนบุรี

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

สถาบันการศึกษา แก้

วัด แก้

โรงพยาบาล แก้

การทหาร แก้

ย่านการค้า แก้

สถานีรถไฟ แก้

การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าในอนาคต แก้

ในอนาคต สถานีอิสรภาพจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีอิสรภาพอีกแห่งหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ส่วนต่อขยายช่วงสำเหร่–อิสรภาพ ตามแนวถนนอิสรภาพ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์การค้าไอคอนสยาม รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม

อ้างอิง แก้

  1. ‘อิสรภาพ’ สถานีใต้ดินแรกของฝั่งธนบุรี
  2. ยลโฉม 4 สถานีรถไฟฟ้าเฉลิมรัชมงคล สถาปัตยกรรมในรัชสมัยรัชกาลที่ 9
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้