ฉบับร่าง:วิเลิศ ภูริวัชร

(เปลี่ยนทางจาก วิเลิศ ภูริวัชร)
วิเลิศ ภูริวัชร
รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 พฤษภาคม 2567
ก่อนหน้าบัณฑิต เอื้ออาภรณ์
คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2567
ก่อนหน้ารองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 (56 ปี)
การศึกษา● บริหารธุรกิจบัณฑิต(เกียรตินิยม)
(สาขาการเงินและการธนาคาร),
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● Master of Public and Private Management,
Yale University, USA
● Master of Business Administration,
Yale University, USA
● Certificate in Human Resource Management,
Harvard University, USA
● Doctor of Philosophy, D.phil.(Oxon), (Management Studies),
University of Oxford, UK
https://www.wilertvision.com/wilert

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เป็นผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2567)[1] กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยเป็นคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ[1] นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระเช่นบริษัทมหาชน เช่น บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)[2] บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน)[3]

การทำงานช่วงแรก แก้

ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 สภามหาวิทยาลัยมีมติแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป แทนศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ[4]

คณบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี แก้

ศ.ดร.วิเลิศ เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยาสาร Forbes Thailand[5] เกี่ยวกับการบริหารคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีไว้ว่า ต้องการแสดงให้เห็นว่าสถาบันในประเทศไทยมีคุณภาพเท่าเทียมกับนานาชาติ โดยได้รับการประเมินจาก Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), Association of MBAs (AMBA) และ The EFMD Quality Improvement System (EQUIS)[5] จนคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี ได้รับการประกาศเป็น "The Top Business School with Triple Crown Accreditation"[5] [6] โดยมีพันธกิจในการบริหารคณะคือ 4I ประกอบด้วย Internal, International, Innovation และ Integrate [7] นอกจากนี้ยังได้แสดงวิสัยทัศน์ส่วนหนึ่งไว้ว่า

"เราเชื่อว่าการศึกษาจะสร้างประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนได้ ทำให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นเราต้องสร้างสรรค์ภูมิปัญญาหรือความฉลาดเชิงนวัตกรรม เพราะสุดท้ายแล้วความรู้อาจมีวันล้าสมัย แต่ความฉลาดไม่มีวันล้าสมัย ที่สำคัญเมื่อเราพัฒนาผู้เรียนให้มีความเก่งแล้ว การปลูกฝังจิตวิญญาณในการรับใช้สังคมให้กับผู้เรียนก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ การสอนให้คนเราต้องไม่โกงต้องลงลึกทำให้คนๆ นั้น รู้สึกผิดเมื่อคิดจะโกง เพราะนั่นเป็นการสอนลงไปถึงระดับจิตวิญญาณ"

— วิเลิศ ภูริวัชร, เปิดวิสัยทัศน์พลิกโลกการศึกษาของ ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร พิชิตพันธกิจด้วยกลยุทธ์การพัฒนารอบทิศ, Forbes Thailand https://forbesthailand.com/news/marketing/cbs

การศึกษา[1] [2] แก้

ประวัติการทำงาน [1] แก้

ในประเทศ แก้

ต่างประเทศ / นานาชาติ แก้

  • กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ สหรัฐอเมริกา
  • กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก EQUIS (EFMD Quality Improvement System) สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ สหภาพยุโรป
  • กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AMBA (Association of MBAs) สถาบันรับรองมาตรฐานหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา สหราชอาณาจักร
  • ประธานกรรมการวิจัยร่วมกับสภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum: WEF) - ในส่วนของการทำวิจัยในประเทศไทย
  • กรรมการตัดสินในงานระดับโลก Youth4South Entrepreneurship Competition at United Nations

ผลงาน แก้

หนังสือ แก้

  • MARKETING is all around! (สำนักพิมพ์: กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร". Chulalongkorn Business School (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. 2.0 2.1 รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร | เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป (ZEN) (zengroup.co.th)
  3. คณะกรรมการตรวจสอบ | บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค (KJL)
  4. "แต่งตั้งแล้ว!! ทีมบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชุดใหม่ มีผลตั้งแต่ 18 พ.ค. 2567". mgronline.com. 2024-05-15.
  5. 5.0 5.1 5.2 "เปิดวิสัยทัศน์พลิกโลกการศึกษาของ ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร พิชิตพันธกิจด้วยกลยุทธ์การพัฒนารอบทิศ - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
  6. "Chulalongkorn Business School: Triple Crown Excellence". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ถอดรหัส "คิดและทำอย่างผู้นำที่แท้จริง ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร" พิสูจน์ได้ด้วยการพามหาวิทยาลัยไทยทะยานสู่ระดับโลก สร้างคนด้วยการศึกษา ควบคู่จิตวิญญาณเพื่อสังคม - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (soc.go.th)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๔ [กระทรวงศึกษาธิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๑ [กระทรวงศึกษาธิการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อนหน้า วิเลิศ ภูริวัชร ถัดไป
ศาสตราจารย์ ดร.
บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
   
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 -)
  อยู่ในตำแหน่ง